ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
กกร.ห่วงประเทศทำหนังสือ5ข้อใหญ่ถึงนายกฯ
18 ส.ค. 2564

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ทำหนังสือข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีอยู่ระหว่างประสานนัดหมายวันและเวลาโดยเบื้องต้นมี 5 ข้อเสนอ คือ 1.การจัดหาและจัดสรรวัคซีน 2.ยาและอุปกรณ์การแพทย์ 3.การตรวจเชิงรุกด้วย Antigen Test Kit 4.สถานที่กักตัวและคัดแยกผู้ป่วย และ 5.การฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย

ซึ่งประเด็นนำเสนอทั้งหมด มีรายละเอียดดังนี้ 1. การจัดหาและจัดสรรวัคซีน ประกอบด้วย 1.1 ขอให้ปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 (ศบค.) ให้มีการสั่งการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในมิติของการสั่งการรวมศูนย์ทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในการจัดสรรวัคซีนให้มีจำนวนที่เหมาะสม การวางแผนให้ชัดเจน การกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง เป็นธรรมและรวดเร็ว

1.2 ขอให้พิจารณาแนวทางในการอนุญาตให้เอกชนติดต่อนำเข้าวัคซีนได้ โดยไม่ต้องผ่านหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลจากภาครัฐ และให้ภาครัฐเป็นผู้ออกใบสั่งซื้อและออกค่าใช้จ่าย

1.3 ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เร่งอนุมัติวัคซีนยี่ห้ออื่น ๆ โดยไม่ต้องรอบริษัทวัคซีนนำ เอกสารมายื่น เพื่อเพิ่มทางเลือกและเปิดโอกาสในการจัดหาวัคซีนมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใช้ระเบียบปกติของ อย. แต่ใช้เกณฑ์ที่ยา วัคซีน และเวชภัณฑ์ประเภทนั้นได้รับการรับรองจาก WHO

1.4 ควรมีการกระจายวัคซีนไปในธุรกิจภาคการผลิตเพื่อการส่งออก โดยจัดให้มีหน่วย Mobile Units ที่เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อทาการฉีดวัคซีนได้รวดเร็วมากขึ้น

1.5 เนื่องจากโควิด-19 มีแนวโน้มแพร่ระบาดสู่วัยเด็กมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมแผนการจัดหาล่วงหน้า และแผนกระจายวัคซีนที่ใช้ได้สาหรับเด็กที่อายุต่ากว่า 18 ปี รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ด้วย

2.ยาและอุปกรณ์การแพทย์

2.1 อนุญาตและสนับสนุนให้เอกชนสามารถดำเนินการผลิต และจัดหายาฟาวิพิราเวียร์ รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องให้มีปริมาณที่เพียงพอ เพื่อให้คนติดเชื้อระดับต้น (สีเขียว) และระดับกลาง (สีเหลือง) รักษาหายได้ทัน ไม่ให้กลายเป็นระดับรุนแรง (สีแดง) เพื่อลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์และการเสียชีวิต

3.การตรวจเชิงรุกด้วย Rapid Antigen Test Kit 3.1 สนับสนุนและควบคุมดูแล Rapid Antigen Test Kit ให้มีราคาที่เหมาะสม มีคุณภาพมาตรฐาน ปริมาณเพียงพอ เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนเข้าถึง หาซื้อได้ง่าย และวางแนวทางการบริหารจัดการกาจัดขยะอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 ขอให้ภาครัฐและเอกชน ร่วมมือจัด Mobile Rapid Test Units เป็นหน่วยตรวจเชื้อเชิงรุก 3.3 สนับสนุนชุดตรวจ Rapid Antigen Test Kit ให้กับภาคธุรกิจเอกชน เพื่อช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ

4.สถานที่กักตัวและคัดแยกผู้ป่วย 4.1 ปรับลดเกณฑ์ Hospitel และเพิ่ม Hotel Isolation สำหรับรองรับกลุ่มสีเขียว เพื่อลดการใช้เตียงในโรงพยาบาลสนาม และโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยสีเหลือง และสีแดงเพิ่มจำนวนสถานที่และเตียงรวมถึงสนับสนุนเอกชนในการทำ Company Isolation หรือให้ใช้โรงแรมขนาดกลาง และขนาดเล็กเป็น Hotel isolation โดยรัฐบาลช่วยสนับสนุนการจ่ายค่าที่พักให้ นอกจากนั้นควรมี Tax Incentive ในการลงทุนดูแลผู้ติดเชื้อของโรงแรม

4.2 การจัดทำมาตรการและหลักเกณฑ์ของ Factory Isolation / active screening/ Bubble and Seal ของแต่ละจังหวัดขอให้มีภาคเอกชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น เนื่องจากบริบทและสภาพแวดล้อมของแต่ละจังหวัดแตกต่างกัน เพื่อให้สถานประกอบการไม่ต้องปิดหรือหยุดกิจการ โดยแต่ละจังหวัดต้องมีแนวทางและมาตรการที่ชัดเจน รองรับการผ่อนคลายในระยะถัดไป

4.3 เพิ่มโรงพยาบาลสนาม ให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกภูมิภาค เพื่อแยกผู้ป่วยจากคนในบ้านและลดอัตราการติดเชื้อ ขอให้ใช้ค่ายทหาร สนามกีฬา อาคาร ยิม ที่ราชพัสดุต่าง ๆ และ NPA (Non performingasset) จากทางธนาคารที่ว่าง มาทำเป็นสถานที่พักชั่วคราว โดยเอกชนพร้อมให้ความร่วมมือในการจัดตั้ง

5. การฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย

5.1 ขอให้กรมสรรพากรยกเว้นภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยจะต้องทำบัญชีเดียวและยื่นภาษีผ่านระบบ e-Tax

5.2 เสนอภาครัฐเพิ่มสัดส่วนการค้าประกันความเสียหายผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็น 60% ขึ้นไป จากเดิมอยู่ที่ 40% เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากขึ้น

5.3 เสนอขอขยายระยะเวลาการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% ออกไปอีก 1 ปี ของการจัดเก็บภาษีในปีภาษี 2565 (ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565)

5.4 ขอให้ภาครัฐสนับสนุนการลดหย่อนภาษี 2 เท่า สำหรับภาคเอกชนที่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (Antigen Test Kit) และค่าวัคซีนป้องกันโควิด-19

5.5 ขอขยายระยะเวลาในข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี ผลขาดทุนสุทธิยกมา ไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชี ปีปัจจุบัน ตามมาตรา 65 ตรี(12) แห่งประมวลรัษฎากรโดยทั่วไปในทางบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่าย แต่ในทางภาษีอากรกำหนดยอมให้นำมาถือเป็นรายจ่ายตามหลัก เพิ่มอีก 3 ปี จากระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็น ไม่เกิน 8 ปี

5.6 จัดทำศูนย์กลางข้อมูลเครดิตให้สมบูรณ์ โดยรวมรวมข้อมูลเครดิตจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีความครบถ้วนเพื่อให้การพิจารณาเครดิตของบุคคล นิติบุคคล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

5.7 ขยายเวลามาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนอสังหาริมทรัพย์ จาก 2% ลดเหลือ 0.01% จดจำนอง 1% เหลือ 0.01% จากเดิมที่กำหนดไว้ถึงสิ้นปี 2564 ออกไป และเสนอให้เปลี่ยนเป็นการคิดลดค่าธรรมเนียมจากมูลค่า 3 ล้านแรก เพื่อให้ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ามากกว่า 3 ล้านบาท เพื่อให้เกิดแรงจูงใจของกลุ่มที่มีกำลังซื้อมากขึ้น โดยเสนอให้ขยายถึงสิ้นปี 2565 รวมถึงเสนอให้ผ่อนปรนเกณฑ์อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน (LTV) เป็นการชั่วคราว

5.8 ให้ภาครัฐสนับสนุนการพัฒนา Digital Platform ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยให้หน่วยงานรัฐให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนการทำงานร่วมกับภาคเอกชน ทั้งในเรื่องการลดกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และให้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น

5.9 การฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วย Digital Transformation ด้วย Super App ที่จะสร้างความมั่นใจและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมถึงเชื่อมโยงมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อทาให้ภาคธุรกิจสามารถเปิดกิจการได้อย่างมั่นใจ

5.10 การควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 จำเป็นต้องเดินหน้าเศรษฐกิจไปพร้อมกันด้วย ดังนั้น จึงเสนอให้ผ่อนปรนมาตรการควบคุมสถานประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจไปได้ เช่น การพิจารณาเปิดบางกิจการที่พนักงานและลูกจ้างได้รับฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว เป็นต้น โดยต้องยึดแนวทาง Social distancing และปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุขที่กาหนดไว้อย่างเคร่งครัด

5.11 พิจารณาอนุญาตผู้ที่ได้รับวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติจาก WHO สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยเนื่องจากนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจต่างประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนอื่น ๆ อาทิ Sputnik V มีความต้องการที่จะเดินทางมายังประเทศไทยและเป็นกลุ่มที่มีกาลังซื้อสูงจะช่วยสร้างเม็ดเงินจำนวนมากให้กับภาคการท่องเที่ยวของไทย

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...