ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ / บทวิเคราะห์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
เศรษฐกิจชุมชน
ย้อนกลับ
ส.อ.ท. เสนอมาตรการควบคุมโควิดภาคอุตสาหกรรม หากรัฐไม่สนับสนุนโรงงานพังแน่
24 ส.ค. 2564
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เสนอมาตรการป้องกันควบคุมโควิดในภาคอุตสาหกรรม 4 ข้อ กำหนด Bubble and Seal ภาคอุตสาหกรรมเป็นมาตรฐานเดียว จัดตั้ง Factory Quarantine (FQ) ไปจนถึง Factory Accommodation Isolation (FAI) ให้เพียงพอกับแรงงาน และจัดสรรวัคซีนเพื่อลดอัตรา การเสียชีวิต ก่อนเศรษฐกิจและประเทศพังพินาศ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยกำลังเข้าสู่ขั้นวิกฤติและส่งผลกระทบ ไปทุกภาคส่วนของประเทศ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเกิดการติดเชื้อในโรงงานเป็นจำนวนมากเช่นกัน สภาอุตสาหกรรมฯ ในฐานะองค์กรหลักภาคเอกชนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ได้จัดทำ “มาตรการควบคุมโควิดในภาคอุตสาหกรรม” เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและอาการรุนแรง พร้อมรักษากำลังการผลิตให้มากที่สุด ซึ่งโรงงานที่ดำเนินการอย่างถูกต้อง จะไม่ถูกปิด หากยังสามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่แพร่กระจายเชื้อสู่ภายนอก ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ติดโควิดไม่ต้องปิดโรงงาน” แบ่งออกเป็น 4 ข้อ ดังนี้ คือ 1) มาตรการ Bubble and Seal สำหรับภาคอุตสาหกรรมต้องมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติ ได้จริงและเป็นไปในแนวทางเดียวกันทุกพื้นที่ โดยให้สุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK สม่ำเสมอ 10% ของจำนวนพนักงาน ทุก 14 วัน โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่าย และให้พนักงานผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำสามารถกลับเข้ามาทำงานใน Bubble ในโรงงานตามปกติ 2) สถานประกอบการที่มีพนักงาน 300 คนขึ้นไป เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้ง Factory Quarantine และ Factory Accommodation Isolation โดยให้มีจำนวนเตียงๆไม่น้อยกว่า 5% ของจำนวนพนักงาน และเสนอให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งโรงพยาบาลแม่ข่ายในแต่ละพื้นที่ประกันสังคม เพื่อให้บริการโรงงานในพื้นที่ ณ จุดเดียว ตั้งแต่การตรวจหาเชื้อไปจนถึงส่งต่อผู้ป่วยเข้าไปในระบบการรักษา เพื่อลดขั้นตอนในการหาโรงพยาบาล 3) สำหรับสถานประกอบการที่มีพนักงานต่ำกว่า 300 คน ขอให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมจัดตั้ง Community Quarantine (CQ), Community Isolation (CI) (ศูนย์พักคอยและแยกกักตัว) ให้เพียงพอกับแรงงาน โดยให้มีจำนวนเตียงไม่น้อยกว่า 5% ของจำนวนพนักงานในพื้นที่ 4) จัดสรรวัคซีนตามเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต โดยจัดสรรตามลำดับความสำคัญทางสาธารณสุข การป้องกันโรค และเศรษฐกิจใน 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่อายุ 40-59 ปี กลุ่มพนักงานในสถานประกอบการที่มีติดเชื้อมากกว่า 50% จนต้องปิดกิจการ และกลุ่มพนักงานในอุตสาหกรรมสำคัญยิ่งยวด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
SME D Bank จัดสินเชื่อดอกแ...
26 เม.ย. 2568
ส.อ.ท.ชี้ไทยเดินหน้าเต็มที...
08 ก.ค. 2568
กองทุนหมู่บ้าน เปิดยื่นแล้...
21 มิ.ย. 2568
พาณิชย์จังหวัดจันทบุรี เดิ...
06 มิ.ย. 2568
ส.อ.ท. จี้รัฐกวาดล้างเหล็ก...
05 ก.ค. 2568
ธ.ก.ส. ขับเคลื่อนการพัฒนาช...
24 มิ.ย. 2568
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
สารคดี 50 ปี
ความสัมพันธ์ไทย-จีน
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
พินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รองประธานสมาพันธ์ขงจื้อนานาชาติ ประธานสภา...
02 ก.ค. 2568
ในปีนี้ถือเป็นมีมงคลอีก 1 ปี โดยเฉพาะการเปิดความสัมพันธ์ไทย-จีน ที่เวียนมาครบรอบ 50 ปี ซึ่งแน่นนอ จีนถือเป็นมหาอำนาจหนึ่งของโลกที่ปัจจุบันมีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรอบด้าน นั่นเพราะหนึ่ง จีน มีประชากร 1.4 พันล้านคน ที่เป็นตลาดใหญ่ของโลก ที่สำคัญความเจริญรุดหน้า...