ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2567
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
เศรษฐกิจชุมชน
ย้อนกลับ
ส.อ.ท.หนุนคลายล็อกบางธุรกิจแก่ผู้รับวัคซีนครบโดสสร้างสมดุลศก.-สธ.-อุตฯ
31 ส.ค. 2564
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ในเดือน ส.ค.64 ภายใต้หัวข้อ "Lockdown อย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสาธารณสุข" พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ 78.1% มองว่า มาตรการล็อกดาวน์ที่ภาครัฐดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนั้น สามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ในขอบเขตที่จำกัด มีเพียง 6.5% ที่มองว่า ควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถามถึงสาเหตุที่ส่งผลทำให้มาตรการ Lockdown ไม่สามารถควบคุมอัตราการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ส่วนใหญ่ 72.6% ตอบว่า เป็นเพราะขาดความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น กรณีการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย รองลงมา ตอบว่า ความไม่ชัดเจนในแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่, ขาดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และขาดมาตรการสนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนอยู่กับบ้าน สำหรับแนวทางที่จะช่วยทำให้การ Lockdown เกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสาธารณสุขนั้น ผู้บริหาร ส.อ.ท.ส่วนใหญ่ 73.6% เห็นว่าควรมีการผ่อนปรนให้ผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็ม สามารถเข้าใช้บริการร้านอาหารและกิจการบางประเภทได้ ควบคู่กับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตามประวัติการเดินทาง ควบคุมผู้มีความเสี่ยง และระบบรับรองผู้ได้รับวัคซีน 2 เข็ม (Certificate of Entry) รวมทั้งมีการตรวจและติดตามเชิงรุกเพื่อคัดแยกตัวผู้ป่วย สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdown ควรได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างไร ส่วนใหญ่ตอบว่า ต้องการพักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ย สำหรับกิจการที่ถูกสั่งปิดฯ เป็นระยะเวลา 6 เดือน รองลงมา คือ การชดเชยค่าจ้างขั้นต่ำตามจำนวนแรงงานให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อรักษาการจ้างงาน ส่วนการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ควรเริ่มดำเนินการเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดอยู่ในระดับใดนั้น ส่วนใหญ่ตอบว่า ยอดผู้ติดเชื้อควรจะต่ำกว่า 10,000 คนต่อวัน รองลงมา คือ ยอดผู้ติดเชื้อ ต่ำกว่า 20,000 คนต่อวัน ทั้งนี้ เห็นว่ากลุ่มธุรกิจที่รัฐ ควรผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ อันดับแรก คือ ร้านอาหาร รองลงมา คือ ห้างสรรพสินค้า, ร้านค้า, การท่องเที่ยวภายในจังหวัด, การก่อสร้าง, ธุรกิจการบิน, การกีฬา และสันทนาการบางประเภท สำหรับการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณในเรื่องใดบ้างนั้น อันดับแรก ต้องการให้รัฐเร่งใช้งบประมาณในการจัดหาและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดตรวจโควิด-19 Antigen test kit ให้แก่โรงงาน เพื่อสุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อตามมาตรการ Bubble and Seal ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในภาคอุตสาหกรรม รองลงมา คือ การจัดให้มี Mobile Units ฉีดวัคซีนให้แก่แรงงาน ณ สถานประกอบการ ผลการสำรวจดังกล่าว มาจากความคิดเห็นของผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 201 คน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธ.ก.ส. ชวนออมแบบคุ้มค่ากับ...
01 ต.ค. 2567
สรท.มอง ทรัมป์ ชนะ แบ่งนโย...
07 พ.ย. 2567
ปลัดณัฐพล นำทีมดีพร้อมหารื...
24 พ.ย. 2567
เอกนัฏ สั่งปราบโรงงานผิดกฎ...
03 พ.ย. 2567
สลากดิจิทัลขาย 26 ล้านฉบับ...
10 ก.ย. 2567
เซ้าเทิร์น กรุ๊ป ฉลองใหญ่5...
18 ต.ค. 2567
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 440 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (ผบช.ภ.5) กรรมการบริหารแ...
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...