ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ก.อุตฯ ถก ศบค.อก. นัดแรก ตั้งกรอบขับเคลื่อนมาตรการ BBS
14 ก.ย. 2564

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในสถานประกอบกิจการและโรงงานอุตสาหกรรม (ศบค.อก.) กล่าวว่า สืบเนื่องจากคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 14/2564 สั่งการ ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2564 มอบหมายให้ผมเป็นหัวหน้าศูนย์ ศบค.อก. เพื่อบูรณาการการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ Covid-19 ในสถานประกอบกิจการและโรงงานอุตสาหกรรม การประชุมคณะกรรมการ ศบค.อก. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา มีวาระการพิจารณาที่สำคัญ คือ 1. สถานประกอบกิจการและโรงงานฯ เป้าหมายที่ศูนย์ฯ จะเข้าไปดูแล และ 2. การกำหนดหลักเกณฑ์ฯ และแนวทางขับเคลื่อนมาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ หรือ Bubble & Seal (BBS) มาประยุกต์ใช้กับสถานประกอบกิจการและโรงงานฯ เพื่อรองรับการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ เพื่อให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมเปิดดำเนินกิจการได้ โดยไม่เกิดการระบาดสู่ชุมชน รวมทั้งเป็นการเตรียมพร้อมรองรับระบบรับรองบุคคล เพื่อผ่านเข้ากิจการ หรือกิจกรรม ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีนและการใช้ชุดตรวจโควิด ATK (Antigen Test Kit) 


“เพื่อเปิดธุรกิจอุตสาหกรรมให้สามารถเดินหน้าต่อได้ แม้จะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ตาม ในส่วนของสถานประกอบการและโรงงานฯ เป้าหมายที่ ศบค.อก. จะกำกับควบคุม คือ 1. โรงงานอุตสาหกรรม ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 มีประมาณ 70,000 โรงงาน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมดูแลอยู่ในขณะนี้ 2. สถานประกอบกิจการผลิตที่ไม่ใช่โรงงาน ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้า ที่เดิมยังไม่มีใครเป็นเจ้าภาพ กลุ่มนี้มีประมาณ 70,000 โรงงาน ที่ประชุมได้ มอบหมาย กระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครดูแล และ 3. แคมป์คนงาน ข้อมูลในเบื้องต้นเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีประมาณ 1,317 แคมป์ ที่ประชุมได้มอบหมาย กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานดูแล ทั้งสามกลุ่มสามารถจะนำมาตรการ BBS ไปประยุกต์ใช้ได้ และทุกหน่วยจะต้องทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ จะมีการจัดทำและเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้ติดเชื้อระหว่างกัน เพื่อประโยชน์ในการติดตามสถานการณ์ฯ อันจะช่วยป้องกันและลดจำนวนผู้ติดเชื้อ  


สำหรับเป้าหมายการดำเนินการของ ศบค.อก. ได้กำหนด ให้สถานประกอบการทั้งสามกลุ่มมีระดับผลผลิต (Output) ได้รับความรู้ความเข้าใจมาตรการ BBS ประมาณ 140,000 โรงงาน การได้รับคำปรึกษาแนะนำแบบ  coaching/Onsite ประมาณ 30,000 โรงงาน และการเข้าร่วมดำเนินการมาตรการ BBS เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% ต่อเดือนหรือ 3,000 โรงงาน ระดับผลลัพธ์ (Outcome) คือ สถานประกอบการและโรงงานมีการติดเชื้อโควิด-19 ลดลงอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งนี้จะมีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด 76 แห่งและสำนักงานป้องกันควบคุมโรค 12 เขต เข้าไปเป็นวิทยากรแนะนำ ไม่ว่าจะเป็น 1) การทำ BBS 2) การจัดการสภาพแวดล้อม 3) มีการจัดการกิจกรรม/จุดที่มีความเสี่ยงสูง 4)  จัดการสภาพการทำงานและการเดินทางที่ปลอดภัย คัดกรองด้วย ATK และ 5) จัดกิจกรรมและสถานที่ไม่ให้มีความแออัด” นายกอบชัย กล่าว
การเข้าไปดูแลของ ศบค.อก. สอดคล้องกับข้อมูลการติดเชื้อของสถานประกอบกิจการที่ผ่านมา และเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มการติดเชื้อสูง หาก ศบค. ผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ จากข้อมูลของ ศบค.อก. วันที่ 13 กันยายน 2564 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสถานประกอบกิจการโรงงาน ทั้งสิ้น 67,281 คน รักษาหายแล้ว 26,139 คน จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ เพชรบุรี, สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, สระบุรี, และสมุทรสาคร โดย อุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร, อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องนุ่งห่ม, โลหะ, และพลาสติก ตามลำดับ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะทำงานฯ อีก 2 ชุดเพื่อสนับสนุน ศบค.อก. ได้แก่ คณะทำงานภายในกระทรวงฯ รับผิดชอบดูแลโรงงานอุตสาหกรรม และคณะทำงานที่มีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบดูแลสถานประกอบกิจการผลิตที่ไม่ใช่โรงงาน ตลอดจนแคมป์ก่อสร้าง และรับข้อเสนอของเอกชนมาผลักดันนำเสนอรัฐบาลต่อไป สำหรับความต้องการขอรับความช่วยเหลือจากรัฐที่ได้รับในเบื้องต้น คือ 1) คำแนะนำ/แนวทาง Bubble & Seal 2) การสนับสนุนวัคซีนและชุดตรวจ ATK  และ 3) ด้านค่าใช้จ่ายในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...