ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
สื่อสาร - คมนาคม
ย้อนกลับ
ศักดิ์สยาม ร่วมประชุม คจร. ติดตามความคืบหน้า การแก้ไขปัญหาการขนส่งและจราจรของประเทศ
21 ก.ย. 2564
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 2/2564 ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกเข้าร่วมประชุมพร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นกรรมการและเลขานุการ โดย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุม คจร.ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการที่สำคัญตามมติที่ประชุม คจร. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต 2.การดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ 3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) 4. การปฏิรูปเส้นทางระบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง 5.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว และ 6.แผนการพัฒนาและดำเนินงานติดตั้งระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) ทั้งนี้ นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (อจร.) ปีงบประมาณ 2564 ตลอดจนความคืบหน้าการศึกษาการแก้ไขปัญหาจราจรบนทางพิเศษ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ 1.งานบริหารจัดการระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น M-Flow 2.งานศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษทั้งระบบ 3.โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย โครงการทางพิเศษพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก และโครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี-ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ช่วงทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัย นายศักดิ์สยามกล่าวว่า และ 4. โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ (ยังไม่มีการก่อสร้าง) ประกอบด้วย โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมต่อไปยังวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกและส่วนทดแทนตอน N1 โครงการทางยกระดับศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมต่อไปยังวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกและส่วนทดแทนตอน N1 โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 บางขุนเทียน-บ้านแพ้วช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว และโครงการถนนยกระดับกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกฯ รอบที่ 2) ซึ่ง นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมในวันนี้มีเรื่องพิจารณาที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ได้แก่ แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Public Transit Master Plan : EPMP) โดยที่ประชุมได้เห็นชอบผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพิจารณาผลักดันแผนแม่บทฯ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป พร้อมนี้ที่ประชุมได้พิจารณาร่างโครงข่ายแผนแม่บท MR-Map ที่กระทรวงคมนาคมนำเสนอ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้จัดทำร่างโครงข่ายเส้นทางเบื้องต้น 10 เส้นทาง โดยมีระยะทางรวม 6,430 กิโลเมตร ประกอบด้วยเส้นทางทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับเส้นทางระบบราง 4,470 กิโลเมตร เส้นทางเฉพาะทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 1,710 กิโลเมตร และเส้นทางเฉพาะระบบราง 350 กิโลเมตร และได้พิจารณา 4 โครงการนำร่องที่มีศักยภาพ 4 เส้นทาง (จากแนวเส้นทางโครงข่ายในเบื้องต้น จำนวน 10 เส้นทาง) ได้แก่ 1.เส้นทาง MR8 ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 91 กิโลเมตร 2. เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 3 ระยะทางรวม 283 กิโลเมตร 3. เส้นทาง MR2 หนองคาย (ด่านหนองคาย)-แหลมฉบัง ช่วงนครราชสีมา-แหลมฉบัง ระยะทาง 297 กิโลเมตร และ 4. เส้นทาง MR5 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา-อุบลราชธานี ระยะทาง 404 กิโลเมตร โดยที่ประชุมได้เห็นชอบร่างโครงข่ายแผนแม่บท MR-Map ที่กระทรวงคมนาคมนำเสนอ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับการบูรณาการระหว่างระบบรางและถนนในการพัฒนาโครงข่ายให้เป็นระบบเชื่อมโยงโครงข่ายภายในประเทศและต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยและเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและประตูการค้า แก้ปัญหาจราจร ลดปัญหาการเกิดคอขวดของการเดินทางทั้งระบบถนนและระบบรางของทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม นายศักดิ์สยาม กล่าวตอนท้ายว่า ที่ประชุมยังได้ร่วมกันพิจารณาการดำเนินการระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง (สถานีรังสิต) ตามมติ อจร. จังหวัดปทุมธานี โดยที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการของการจัดทำระบบ Feeder รถไฟฟ้าสายสีแดง โดยใช้รถโดยสารขนส่งมวลชนแบบพิเศษตามมติคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดปทุมธานี และคณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาจราจรและขนส่งระยะเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และให้จังหวัดปทุมธานี กรมการขนส่งทางบก และกรมทางหลวง ดำเนินการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และรายงานผลการดำเนินการให้ คจร.รับทราบ มีรายละเอียดดังนี้ 1.เส้นทางระบบ Feeder เข้าสู่สถานีรถไฟฟ้ารังสิตจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต-ธัญบุรีคลอง 7 ใช้เส้นทางถนนรังสิต-นครนายก (ทล.305) ระยะทางประมาณ 19.3 กม. เส้นทางที่ 2 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ (รังสิต) ใช้เส้นทางถนนเลียบคลองเปรมประชากร และถนนคลองหลวงหน้า ม. ธรรมศาสตร์ (รังสิต) ระยะทางประมาณ 19.1 กม. เป็นระยะแรกก่อน หากสถานีรถไฟฟ้า ม.ธรรมศาสตร์ (รังสิต) เปิดใช้ ก็พิจารณาปรับเส้นทางต่อไป เส้นทางที่ 3 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต-แยก คปอ. ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน ระยะทางประมาณ 10.6 กม. ส่วน 2.รูปแบบการเดินรถของระบบ Feeder ตามตารางเดินรถที่สอดคล้องกับระบบรถไฟฟ้า (On Schedule Services) รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Transport) และรองรับการให้บริการกับทุกคน (Inclusive Transport) และให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ดำเนินการหาผู้ประกอบการเดินรถด้วยมาตรฐาน EV รองรับผู้พิการ โดยรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน และนำเข้าสู่การพิจารณาของ คกก. ขนส่งทางบกกลางต่อไป 3.ให้จังหวัดปทุมธานีและกรมทางหลวง ดำเนินการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของเส้นทาง ดังนี้ เส้นทางที่ 1 บนถนน ทล.305 ได้แก่ (ก) Smart Bus Stop (ข) ทางเชื่อมสะพานลอยคนข้ามที่เกาะกลาง (ค) ช่องทางพิศษ (Reversible Bus Lane) และ (ง) สัญญาณไฟควบคุมช่องทางพิเศษ เส้นทางที่ 2 และ 3 บนถนนเลียบคลองเปรมประชากร และถนนพหลโยธิน ได้แก่ Smart Bus Stop ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำขอให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันเร่งรัดการดำเนินงาน เพื่อช่วยพัฒนาระบบคมนาคม และแก้ไขปัญหาการขนส่งและจราจรให้เกิดการบูรณาการในการดำเนินงาน สามารถขับเคลื่อนแผนต่างๆ ให้ได้ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มรสุมเข้า เหนือ กลาง อีสาน...
15 ก.ย. 2567
NT กางแผนป้องกัน ซิมดับ 1....
06 ต.ค. 2567
กรมเจ้าท่านำคณะอนุกรรมาธิก...
16 พ.ย. 2567
ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับสุดท้าย...
03 ต.ค. 2567
สุริยะ ชี้ แลนด์บริดจ์ เป็...
01 ต.ค. 2567
ดีอีร่วมดีป้ายกระดับเยาวชน...
28 ส.ค. 2567
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 440 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (ผบช.ภ.5) กรรมการบริหารแ...
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...