ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันพุธที่ 23 เมษายน 2568
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
เศรษฐกิจชุมชน
ย้อนกลับ
จุรินทร์ โชว์ตัวเลขส่งออก เดือนสิงหา ยังพุ่ง 8.93% เวียดนาม -1.7% คาดทั้งปี ไทยมีโอกาสได้เห็นบวกเป็นเลขสองหลัก
25 ก.ย. 2564
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีแถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศ ของไทย เดือน สิงหาคม 2564 ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตัวเลขการส่งออกเดือนสิงหาคม +8.93% ถ้าหักยุทธปัจจัย ทองคำและน้ำมัน จะเหลือภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงจะ +19.43% มูลค่าการส่งออก 715,416.40 ล้านบาท หรือ 21,976.23 ล้านเหรียญสหรัฐ ตัวเลข 8 เดือน ตั้งแต่มกราคมถึงสิงหาคม +15.25% มูลค่า 5,441,613.75 ล้านบาท กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร +23.6% มูลค่า 126,425.6 ล้านบาท โดยสินค้าเกษตรแต่ละตัว ผลิตภัณฑ์ยาง +98.8% +11 เดือนต่อเนื่อง ผลไม้สด แช่แข็งและแปรรูป +84.8% ถือว่า บวก 5 เดือนต่อเนื่อง น้ำมันปาล์ม +51.0% บวก 6 เดือนต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง +48.4% บวก 10 เดือนต่อเนื่อง ข้าว +25.4% ซึ่งข้าวกลับมาบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนของปีนี้ อาหารสัตว์เลี้ยง +17.3% บวก 24 เดือนหรือ 2 ปีต่อเนื่อง สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม +3.3% รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบสิงหาคม +17.8% รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ +44.3% เครื่องคอมพิวเตอร์ +10.5% อัญมณีเครื่องประดับ +35.7% เป็นมูลค่า 556,700.9 ล้านบาท ในตลาดสำคัญถือว่าขยายตัวเกือบทุกตลาดยกเว้น 3 ตลาด 1.ออสเตรเลีย เดือนที่ผ่านมาไม่ขยายตัว และตลาดสหราชอาณาจักรและ CLMV ไม่ขยายตัว ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการส่งออกเดือนสิงหาคมของไทยยังเป็น+(บวก) ปัจจัยแรก คือ มาตรการการแก้ปัญหาเชิงรุกและต่อเนื่องของ กรอ.พาณิชย์ ปัจจัยที่สอง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งอังค์ถัดได้ประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจโลกในปี 2564 ว่าจะโตเร็วที่สุดในรอบ 5 ทศวรรษ หรือ 50 ปี จะเป็นปัจจัยบวกกับทุกประเทศในโลก จะโตมากในตลาดสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป เป็นต้น ปัจจัยที่สาม ดัชนี PMI ซึ่งเป็นดัชนีของผู้จัดซื้อทางภาคการผลิตรวมของโลก มากกว่า 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 แปลว่าพร้อมซื้อและมีสัญญาณดีมานด์ ปัจจัยที่สี่ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้านราคาของไทยสูงขึ้น ขายสินค้าได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกต 4 ข้อ คือ ข้อที่ 1 ประเทศเวียดนามซึ่งตัวเลขส่งออกดีมาโดยลำดับ เดือนสิงหาคมติดลบ 1.7% เพราะสถานการณ์โควิด ข้อที่ 2 สำหรับไทยตัวเลขการเติบโตเดือนสิงหาคมน้อยลงกว่าเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเพราะเราเผชิญปัญหาคล้ายเวียดนาม โควิดรอบใหม่ และมีการล็อกดาวน์ ภาคการผลิตบางแห่งปิดโรงงานหรือปิดการผลิตบางส่วนรวมทั้งปัญหาโลจิสติกส์ข้ามจังหวัดและข้ามแดนที่มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมและเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตามเนื่องจากเราสามารถแก้ปัญหาเชิงรุกได้อย่างรวดเร็วร่วมกับเอกชน และรัฐบาลให้ความสำคัญในการช่วยกระทรวงพาณิชย์แก้ปัญหาจึงทำให้ตัวเลขการส่งออกเดือนสิงหาคมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่าเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เดือนกรกฎาคมตัวเลขส่งออกรวม 708,651.66 ล้านบาท เดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นเป็น 715,400 ล้านบาท ข้อที่ 3 ภาพรวมการส่งออกในรอบ 8 เดือน +15.25% เกินกว่าเป้าที่กำหนดไว้ที่ 4% ถ้ารวม 8 เดือน หักน้ำมัน ทองคำและยุทธปัจจัย +21.22% ข้อที่ 4 สินค้าเกษตรยังขยายตัวได้ดีมาก เดือนสิงหาคม สินค้าเกษตรขยายตัว +45.5% เป็นยางพารา +98.8% หรือเกือบ100% ผักผลไม้ทั้งสดและแช่เย็นแช่แข็ง +84.8% ในรายสินค้า เช่น เงาะ+431% เพราะได้ตลาดมาเลเซีย ตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งตลาดใหม่หลายประเทศเป็นตลาดผลไม้สำคัญของไทยต่อไป ทุเรียน +315.48% ลำไย +102.67% มังคุด +44.16% " ที่น่าสนใจ คือข้าว ตัวเลข 7 เดือนแรกไม่ดีเท่าที่ควร ช่วงหลังเงินบาทอ่อนค่า เศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น ความต้องการบริโภคข้าวสูงขึ้นผู้ส่งออกข้าวเดินหน้าเจาะตลาด ทำให้เดือนสิงหาคมเป็นบวกถึง 25.44% เมื่อดูสัญญาณจนสิ้นปีสำหรับมีแนวโน้มที่ดีว่าตัวเลขสัญญาการส่งออกข้าวภาคเอกชนปกติเฉลี่ยเดือนละ 4-5 แสนตัน เดือนกรกฎาคมเพิ่มเป็น 7 แสนตันและเดือนสิงหาคม 8 แสนตัน น่าพอใจกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยกระทรวงพาณิชย์จะจับมือภาคเอกชนเดินหน้าขับเคลื่อนการส่งออกต่อไป เพื่อทำรายได้ให้กับประเทศ นำรายได้จากการส่งออก นี้ไปแปลงเป็นจีดีพีหรืออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้มีเม็ดเงินไปทำงบประมาณแผ่นดิน สร้างถนนไฟฟ้า ประปา มาทำประกันรายได้ช่วยเหลือเกษตรกร ทำงบประมาณสาธารณสุข การฟื้นฟูเศรษฐกิจอื่น เพื่อช่วยคนไทยทั้งประเทศต่อไป โดยมีการส่งออกเป็นทัพหน้าเป็นปัจจัยสำคัญในการนำเงินเข้าประเทศ " นายจุรินทร์ กล่าว นายจุรินทร์ กล่าวว่าต่อด้วยว่า การนำเข้าถือเป็นสัญญานที่ดี นำเข้ามาเพื่อผลิตและส่งออกกลับไป ทำรายได้ให้ประเทศ หมายความว่าต่อไปเราจะยิ่งขยายตัว จะมีผลบวกต่อตัวเลขส่งออก ถ้าตลาดโลกยังฟื้นตัวอย่างนี้และตนมอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ทำหน้าที่เซลล์แมนประเทศและมีตัวชี้วัดในการเจาะตลาดชัดเจน โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมีเงื่อนไขต้องทำอะไรบ้างเพื่อชี้วัดประสิทธิภาพประสิทธิผล การทำงานของทีมเซลล์แมนประเทศ และแผนงานส่งเสริมการส่งออกมีความชัดเจนปี 2564 กำหนดตั้งแต่ต้นปี 200 กว่ากิจกรรมอยู่ที่ประเทศใดบ้างทูตพาณิชย์รับทราบหมดแล้วว่ามีหน้าที่ต้องไปทำอะไรอย่างไรที่ไหน ในทางนโยบายต้องเร่งทำ 2 ข้อ นอกจากเร่งขายของคือ 1.เร่งทำข้อตกลงทางการค้า ในแต่ละประเทศ ทั้งในรูป FTA Mini-FTA ทวิภาคีหรือพหุภาคี ตามเป้าหมายที่ตนมอบเป็นนโยบายไว้ และตลาดใหม่ วันอังคารที่ผ่านมาตนได้พูดใน ครม.ว่าตลาดรัสเซียกับตลาด กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States: CIS) เป็นตลาดที่สำคัญมาก ท่านนายกฯอยากให้ไปเร่งเจาะตลาด ตนแจ้งว่าอยู่ในแผนของกระทรวงพาณิชย์และเราให้ความสำคัญมากเพราะจะเป็นตลาดใหม่ ตัวเลขเรายังไม่มาก และแอฟริกา ตะวันออกกลาง และตลาดสแกนดิเนเวียเป็นตลาดสำคัญ นอกจากตลาดอื่นๆ จากนั้นในการแถลงข่าวนี้ผู้สื่อข่าวถามเรื่องปัญหาขาดแคลนชิปในการพัฒนาสินค้า เซมิคอนดักเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้า นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวตอบว่าช่วงดังกล่าวมีความต้องการสูง และประเทศผู้ผลิตรายสำคัญเช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ประสบปัญหาภัยธรรมชาติและไต้หวัน เกาหลีใต้ประสบปัญหาโควิดมีผลทำให้กระทบต่อการผลิตหยุดการผลิตชั่วคราว จากการสอบถามภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 จะไม่กระทบกับสินค้าส่งออกเท่าไรนักเพราะมีสินค้าคงคลังเก็บไว้อยู่อาจจะเห็นผลกระทบชัดเจนขึ้นในไตรมาสที่ 4 โดยตัวเลขสินค้าส่งออกด้านนี้ในช่วงที่ผ่านมายังขยายตัวได้ดีอยู่ทั้งรถยนต์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า ภาคเอกชนหวังว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นเพราะช่วงที่ผ่านมามีความต้องการมากจนผลิตไม่ทันและปัญหาภัยธรรมชาติ และโควิดโรงงานไม่สามารถผลิตได้ นายภูสิต กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการนำเข้าในเดือนสิงหาคม มีมูลค่า 23,191.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 47.92% โดยการนำเข้าในเดือนสิงหาคมขยายตัวอยู่ในระดับสองหลัก จากการนำเข้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าสูงขยายตัวถึง 65.73% การนำเข้าสินค้าทุนขยายตัว 23.82% สาเหตุของการขยายตัว 2 ปัจจัยสำคัญ 1.การฟื้นตัวของภาคการผลิต เพื่อการผลิตและส่งออก 2.ราคาสินค้าวัตถุดิบยังขยายตัวสูงขึ้นตามความต้องการใช้สินค้าทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งน้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลเพื่อมาใช้ในการขยายตัวของภาคการผลิต การส่งออกที่เหลือในปี 2564 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ประเมินว่ายังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง แม้การขยายตัวอาจจะชะลอตัวลง เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานเริ่มปรับตัวสูงจากในช่วงปลายปีที่แล้วอุปสงค์จากต่างประเทศ มีทิศทางฟื้นตัวดีมาก จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกประเทศคู่ค้าสำคัญกิจกรรมต่างๆ เปิดล็อกดาวน์ คลายล็อกดาวน์เริ่มกลับสู่สภาวะปกติแล้ว การส่งออกทั้งปีของปี 2564 น่าจะขยายตัว เกินเป้าหมายที่ 4% อย่างแน่นอน รายงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้ากระทรวงพาณิชย์ นางพรพรรณนิล ศตวรรษธำรง ผู้อำนวยการกองวิจัยเศรษฐกิจการค้ามหภาค ระบุด้วยว่า ตลาดส่งออกสำคัญยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจะชะลอลงบางส่วนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าในหลายประเทศ ส่วนแนวโน้มและแผนส่งเสริมการส่งออกปี 2564 การส่งออกของไทยในปี 2564 มีแนวโน้มของการขยายตัวที่ดี สะท้อนจาก (1) สินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการยังเติบโตได้ต่อเนื่อง เป็นสัญญาณบวกต่อภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกของไทย (2) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกของสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ (3) มาตรการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ในสหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรป และการเร่งฉีดวัคซีนทั่วโลก ส่งผลดีต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า (4) ค่าเงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อสินค้าส่งออกของไทยที่เน้นการแข่งขันด้านราคา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สอท.ยัน แผ่นดินไหว ไม่กระท...
31 มี.ค. 2568
ออมสิน เร่งช่วยเหลือผู้ได้...
30 มี.ค. 2568
ดร.พจน์ นั่งแท่นประธานกรรม...
27 มี.ค. 2568
ออมสิน เดินหน้าเสริมทักษะค...
26 ก.พ. 2568
สคบ.ผนึก16หน่วยงานเอ็กซเรย...
02 ก.พ. 2568
ก.อุตฯ เผยผลตรวจตัวอย่างเห...
01 เม.ย. 2568
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 450 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2568
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
มงคล วิมลรัตน์ อธิบดีกรมพลศึกษา (ป้ายแดง)
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...