ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
กองทุนเงินทดแทน ลั่นดูแลลูกจ้างที่เกิดเหตุจากงาน
10 ต.ค. 2564

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงการดูแลลูกจ้างของสำนักงานประกันสังคมว่า สำนักงานประกันสังคม มีกองทุนเงินทดแทนดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปัจจุบันมีสถานประกอบการจำนวน 434,910 แห่ง ลูกจ้างจำนวน 11,068,577 คน อยู่ในระบบกองทุนเงินทดแทน ซึ่งจากสถิติข้อมูลลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม–30 กันยายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 58,178 ราย และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ซึ่งมีจำนวนการประสบอันตรายจำนวน 63,662 รายพบว่า ลดลงจำนวน 5,484 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.61

โดยจังหวัดที่มีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานสูงสุดคือ กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 13,695 ราย รองลงมาคือ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 6,740 ราย และจังหวัดชลบุรี จำนวน 4,468 ราย ประเภทสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 201-500 คน มีสถิติประสบอันตรายสูงสุด คือ 9,650 ราย รองลงมาคือ สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 1,001 คนขึ้นไป จำนวน 9,130 ราย และสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 21- 50 คน จำนวน 8,493 ราย ตามลำดับ ประเภทกิจการที่ประสบอันตรายสูงสุด คือ ประเภทกิจการหมวดการผลิต จำนวน 31,015 ราย รองลงมาคือ ประเภทกิจการหมวดการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ จำนวน 8,875 ราย และประเภทกิจการหมวดก่อสร้าง จำนวน 6,471 ราย ตามลำดับ ส่วนกรณีที่ลูกจ้างประสบเหตุจนสูญเสียอวัยวะสูงสุด คือ นิ้วมือ จำนวน 17,499 ราย รองลงมา คือ ตา จำนวน 7,610 ราย และบาดเจ็บหลายส่วนบาดเจ็บตามร่างกาย จำนวน 4,980 ราย

นายบุญสงค์ กล่าวอีกว่า หน้าที่ของนายจ้าง หากลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน นายจ้างมีหน้าที่ต้องแจ้งการประสบอันตรายตามแบบแจ้งการประสบอันตราย และคำร้องขอรับเงินทดแทน (กท.16) เป็นอันดับแรก และสำเนาแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) ส่งให้สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ / จังหวัด / สาขา ที่นายจ้างขึ้นทะเบียนไว้ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายของลูกจ้าง กรณีลูกจ้างประสบอันตรายเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน สำนักงานประกันสังคม ขอแนะนำให้นายจ้าง ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน โดยที่นายจ้างไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล สถานพยาบาลสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 50,000 บาทต่อการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2563

ทั้งนี้หากมีการบาดเจ็บรุนแรงหรือเรื้อรังให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพิ่มได้อีก 100,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 150,000 บาท หรือหากไม่เพียงพอสามารถจ่ายเพิ่มขึ้นได้อีก รวมแล้วไม่เกิน 300,000 บาท หรือหากไม่เพียงพอ สามารถจ่ายเพิ่มขึ้นได้อีก รวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท โดยตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ และหากไม่เพียงพอสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ความเห็นชอบ เว้นแต่ลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษาหรือมีเหตุสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นจนสิ้นสุดการรักษา หากลูกจ้างมีปัญหาข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...