กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เร่งฟื้นฟูธุรกิจรายย่อยฝ่าโควิด ผ่านนโยบาย “ผลิตให้ใช้ เพื่อขายจริง” พร้อมให้คำปรึกษาการออกแบบ พัฒนา บรรจุภัณฑ์สินค้า
นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้มูลค่าในการจำหน่ายสินค้าและมูลค่าในการผลิตของหลายๆ อุตสาหกรรมมีจำนวนลดลง ทางกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการนำของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงมีนโยบายส่งเสริมและผลักดั นผู้ประกอบการครบวงจรตั้งแต่การเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดําเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการใหม่การบ่มเพาะโดยผ่านศูนย์บ่มเพาะ การเสริมสร้างความเข้มแข็งและผลิตภาพ
โดยการพัฒนาองค์ความรู้ และการให้คําปรึกษาแนะนำ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพสินค้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างสวนกระแส โดยได้อานิสงส์จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ให้ความนิยมซื้อสินค้าบนช่องทางอีคอมเมิร์ซ การปรับเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าหลายประเภท รวมถึงบริการเดลิเวอรี่ต่างๆ ที่ผู้ประกอบการหลายธุรกิจต้องพึ่งพาบริการดังกล่าว ในการรับส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ จากการติดตามการเติบโตของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของดีพร้อมพบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ปริมาณการผลิตบรรจุภัณฑ์ ในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 หรือ 1,528,636 ตันเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดี ยวกันของปี 2563 ที่มีการผลิต 1,442,065 ตัน ส่วนไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ปริมาณการผลิตบรรจุภัณฑ์ปรับตั วเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.52 หรือ 1,541,466 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกั นของปี 2563 ซึ่งมีปริมาณ 1,346,056 ตัน (ที่มาศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุ ตสาหกรรม สศอ.)
นอกจากนี้ ยังพบว่า บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกและที่ผลิตจากกระดาษยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกำลังทวีมีบทบาทสำคัญในการขั บเคลื่อนอุปสงค์การจำหน่ายสินค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางในหลายสาขาอุตสาหกรรมอีกด้วย
ด้านนายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการผลิตบรรจุภัณฑ์จะมีการเติบโตที่มากขึ้นแล้ว ในปีนี้ ดีพร้อม ยังได้พยายามผลักดันให้ผู้ประกอบการเร่งยกระดับมูลค่าสินค้าผ่านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สอดรับกับยุคอีคอมเมิร์ซ การค้าขายผ่านระบบเดลิเวอรี่ ผ่านโครงการ “ดีพร้อมแพค: บรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์วิถีใหม่” (The Next Diprom Packaging: DipromPack) ภายใต้นโยบาย “ผลิตให้ใช้ เพื่อขายจริง” โดยมีมาตรการให้ความช่วยเหลือ ด้านการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการออกแบบและพัฒนาตราสินค้า ฉลาก และบรรจุภัณฑ์ ตามคอนเซ็ปต์ ดี...ปรับแบบเดิมให้ดียิ่งขึ้น พร้อม... ออกแบบใหม่เพื่อการเริ่มต้น แพคเกจ... คุ้มค่า ไม่เสียค่าใช้จ่าย
โดยมี 2 แนวทางในการช่วยเหลือได้แก่ 1. การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโอกาสการเติบโตในตลาดผู้บริโภคที่กำลังให้ความนิยมกับช่องทางการค้าขายใหม่ด้วยการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ ลดขั้นตอนการผลิต และเตรียมความพร้อมในการจัดจำหน่าย-ขนส่งจากผู้ผลิตถึงมือผู้บริโภคอย่างปลอดภัย และสามารถใช้ได้นาน 2. จัดทำบรรจุภัณฑ์เพื่อนำไปใช้จริงในรูปแบบและจำนวนที่เหมาะสม ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจการ
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว มีผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิ ด-19 สมัครเข้าร่วมจำนวนกว่า 300 ราย โดยร้อยละ 60 เข้าโครงการเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์/การขาย เพื่อสอดคล้องกับวิถี Next Normal หรือวิถีชีวิตใหม่ ร้อยละ 25 ต้องการที่จะสร้างภาพจดจำผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ร้อยละ 15 เป็นผู้ประกอบการใหม่ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบผลิตภัณฑ์สำหรับความคืบหน้าของการดำเนินงาน โครงการได้ช่วยออกแบบและพัฒนาตราสินค้า ฉลาก บรรจุภัณฑ์
รวมไปถึงการสนับสนุนด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์ โดยผลิตให้ในจำนวนที่เพียงพอต่อการนำไปใช้จำหน่ายในลอตแรก เพื่อใช้ทดสอบตลาด คิดเป็นมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท เพื่อช่วยบรรเทาและเยียวยาภาคธุรกิจให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจไม่น้อยกว่า 300 ราย สามารถลดค่าใช้จ่ายของผู้ ประกอบการได้มากกว่ารายละ 50,000 บาท และยังสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และเพิ่มยอดขายได้มากกว่า ร้อยละ 15 ทำให้เกิดการเติบโตในระบบเศรษฐกิจมากกว่า 77 ล้านบาท
อีกทั้งยังเป็นทุนในการตั้งต้นธุรกิจใหม่ได้ โดย ดีพร้อม มีแผนที่จะส่งมอบบรรจุภัณฑ์ในลอตแรกให้กับผู้ประกอบการ จำนวน 100 ราย และจะทยอยส่งต่อบรรจุภัณฑ์ที่แล้วเสร็จพร้อมส่งมอบให้อีกจำนวนกว่า 200 ราย เพื่อนำไปสร้างมูลค่า ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ฟื้นฟูกิจการให้อยู่รอดได้ เอื้อต่อการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ต่อไป
นายณัฐพล กล่าวต่อว่า วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงยังมีอานิสงส์ต่อความนิยมและความต้องการของบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ และมีผลต่อปัจจัยเลือกซื้อสินค้า ซึ่งประกอบด้วย
บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ECO-FRIENDLY เนื่องจากผู้บริโภคยังคงมองหาการสร้างความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ เช่น กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การแสดงฉลากหรือตราสัญลักษณ์ที่ บ่งบอกถึงการรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่กระทั่งที่ย่อยสลายได้เอง หรือไม่รบกวนธรรมชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าไลฟ์สไตล์เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
บรรจุภัณฑ์ที่ใส่ใจต่อสุขอนามัย Hygienic packaging โดยจะถูกออกแบบให้ป้องกันการเปิด หรือช่วยให้ผู้บริโภคทราบว่า บรรจุภัณฑ์นี้ถูกเปิดออกแล้วหรือไม่ ผลิตจากวัตถุดิบที่ทนต่อโรคระบาดหรือเชื้อโรค โดยเฉพาะกับสินค้าประเภทอาหารสด เนื่องจากในปัจจุบันคนให้ความใส่ใจต่อการสัมผัสอย่างมาก
บรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงและทนต่อระบบการขนส่ง เนื่องด้วยวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพาอีคอมเมิร์ซ จึงทำให้ช่องทางในการรับสินค้ามาจากออนไลน์และผู้ให้บริการขนส่งมากขึ้น รวมถึงการรับส่งอาหารที่ต้องแข็ งแรงทนทาน ทนต่อสภาพอากาศ หรือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายระหว่างการขนส่ง
บรรจุภัณฑ์ที่รับประทานได้ เป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทหนึ่งที่ออกแบบให้รับประทานได้หรือมีความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับอาหารบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มีหลายรูปแบบและมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น ตะเกียบที่รับประทานได้ เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาจาก Covid-19 หรือมีความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ ที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ เพื่อลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ และต้องการร่วมโครงการสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai-IDC) กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม Line OA พิมพ์ @thai-idc โทร. 06 1423 4926 หรือ 06 2314 7334