นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายกับผู้หลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางของระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) ระหว่าง กรมทางหลวง (ทล.) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ว่าถือเป็นทางเลือกใหม่ที่จะให้บริการสำหรับผู้ใช้บริการผ่านทาง ซึ่งเพิ่มความสะดวกรวดเร็วรวมถึงลดการสัมผัส ซึ่งเป็นการนำระบบเทคโนโลยี AI มาใช้จัดเก็บค่าผ่านทาง
โดยจะใช้ดำเนินการทั้งในส่วนของทางพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นที่มอเตอร์เวย์หมายเลข 9 ช่วงด่านเก็บค่าผ่านทางทับช้าง1 ด่านทับช้าง 2 –ด่านธัญบุรี 1 และด่านธัญบุรี 2 จะเริ่มต้นเปิดใช้บริการในวันที่29 ตุลาคม 2564 โดยเป็นการทดลองระบบ ส่วนทางพิเศษฉลองรัช ที่บริเวณด่านจตุโชติ ด่านสุขาภิบาล 5-1 และด่านสุขาภิบาล 5-2 นั้น จะเริ่มเปิดให้ทดลองใช้บริการและร่วมทดสอบเสมือนจริง (Soft Opening) ในช่วง มีนาคม 2565 ทั้งนี้ จากการเปิดให้ทดลองใช้เสมือนจริงบนทางพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข9 แล้ว จะมีการประเมินผลทั้งความเข้าใจระบบความเสถียรของระบบ รวมถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ทาง เพื่อนำมาปรับปรุงต่อไป
“การทดลองระบบดังกล่าวจะเป็นการทดลอง 3 เดือน ว่าระบบสามารถดำเนินการได้ตามสมติฐานได้หรือไม่ หากเป็นไปตามสมติฐานคือการผ่านด่านมีความข้องเพิ่มขึ้น 5 เท่าจากเดิม 1 ชั่วโมงอยู่ที่ 500 คัน ต่อด่าน โดยเฉลี่ยเพิ่มเป็น 2,000-2,500 คัน ซึ่งสามารถใช้ความเร็วได้ที่ 120 กม./ชม. โดยไม่ต้องชะลอความเร็ว หากเป็นไปตามสมติฐานก็จะเริ่มใช้จริงได้ในเดือนมกราคม 2565ก่อนจะขยายผลไปที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย อีก 3 ด่าน และในปี 2565 จะศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของมอเตอร์เวย์ M 7 ช่วงศรีนคริน-พัทยา-ชลบุรี ก่อนจะขยายผลให้เกิดเป็นรูปธรรมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน (Single Platfom System) จะต้องใช้ได้จริงทุกเส้นทาง โดยในช่วงแรกกรมทางหลวงได้ออกโปรโมชั่นใช้ฟรี 2 ครั้ง จำนวน 1 แสนสิทธิ์ เพื่อเป็นการจูงใจผู้ใช้รถใช้ถนนให้มาทดลองใช้บริการ โดยจากจำนวนผู้ใช้บริการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย 9 ในปัจจุบันที่มีผู้ใช้งานอยู่ประมาณ 300,000 เที่ยว/วัน กรมทางหลวงจึงตั้งเป้าว่าจะมีผู้สมัครเข้าทดลองใช้บริการในช่วงแรกประมาณ 100,000 ราย สำหรับการโปรโมชั่นหากเป็นมอเตอร์เวย์ M 9 ลด 10% เหลือ 27 บาท ลดรายได้มอเตอร์จะลดลงเดือน 15 ล้านบาท หรือหากเป็น 20 % จะเหลือ 24 บาท ก็จะลดลงเดือนละ 30 ล้านบาท ทั้งนี้ เริ่มเดือนมกราคม2565 อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 จะเปลี่ยนมาใช้ระบบ M-Flowทั้งหมดในทุกเส้นทาง” นายศักดิ์สยามกล่าว
นอกจากนี้ สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ กรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบก การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายและเชื่อมโยงข้อมูลผู้ใช้บริการระบบ M-Flow โดยมีขอบเขตการดำเนินงานร่วมกัน ได้แก่ การพัฒนาและปรับปรุงระบบชำระภาษีรถยนต์ประจำปีของกรมการขนส่งทางบก โดยการจัดเตรียมช่องทางในการตรวจสอบยอดค้างชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง ค่าเสียหาย และค่าปรับของระบบ M-Flow เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และปรับปรุงโปรแกรมชำระภาษีของกรมการขนส่งทางบกเพื่อให้สามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง ค่าเสียหาย และค่าปรับของระบบ M-Flow ที่ค้างชำระได้ การรับชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง ค่าเสียหาย และค่าปรับของระบบ M-Flowที่กรมการขนส่งทางบกในขั้นตอนการต่อภาษีรถประจำปี แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 เพื่อให้สามารถรับชำระค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าปรับของระบบ M-Flow ที่ค้างชำระ โดยกรมการขนส่งทางบก จะเป็นผู้เก็บรักษาและนำส่งเงินค่าธรรมเนียมผ่านทาง ค่าเสียหาย และค่าปรับของระบบ M-Flow ให้กับกรมทางหลวงและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย การบังคับใช้กฏหมาย