ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ศอ.บต. เสวนา“โอกาสชายแดนใต้ยุคดิจิทัล”
09 พ.ย. 2564

ศอ.บต. ปลื้ม ผู้ประกอบการOTOP และ สตาร์ทอัพ ชายแดนใต้ สามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาส โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาขยายตลาดสินค้าผ่านระบบออนไลน์ เติบโตรวดเร็วท่ามกลางวิกฤติ โควิด-19

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดเสวนา เรื่อง “โอกาสของจังหวัดชายแดนภาคใต้ในยุคธุรกิจดิจิทัลเฟื่องฟู” โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย นายมีธรรม  ณ ระนอง รักษาการรองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(Etda), ผศ.ดร.ธนภัทร ยีขะเด รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, นายชารีฟ เด่นสุมิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอส ออเดอร์ จำกัด เจ้าของแพลตฟอร์ม “พินซูก”, นางมาลัย เพ็งมูซอ ผู้ก่อตั้งบริษัท บ้านกล้วย (2017) จำกัด ดำเนินการเสวนาโดย นายสมชาย สามารถ บรรณาธิการศูนย์ภาคใต้เครือเนชั่น และ นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช ผจก.ภาคใต้ตอนล่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(Depa) ถ่ายทอดสดทางเพจศอ.บต.และสงขลาโฟกัส

นายมีธรรม ณ ระนอง กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เคยทำการวิจัยทางตลาดโอกาสการค้าออนไลน์ทางภาคใต้พบว่า เมื่อ 2 ปีก่อน คนใช้อินเทอร์เน็ต 9 ชั่วโมง/วัน แต่ภายหลังมีการใช้มากกว่า 10 ชั่วโมง/วันใช้เพื่อการทำธุรกิจและเข้าถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ และการจ่ายใช้จ่ายเงินออนไลน์ ผ่านแอปมือถือ มากขึ้น

ภาคใต้มีโครงสร้างพื้นฐานดี ความเร็วอินเทอร์เน็ตดีจะทำอะไรก็ง่ายขึ้นเครื่องมือทางดิจิทัลก็ต้องใช้มากขึ้น แต่สำคัญที่สุดก็คือ “คน” ซึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีหน่วยงานและมหาวิทยาลัยมากพอสมควรรองรับการพัฒนาคนเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้ อีกทั้งยังมีDepaอยู่ที่จังหวัดสงขลา เป็นหน่วยงานสนับสนุนที่สำคัญในการเชื่อมโยงส่วนกลางไปภูมิภาคได้สะดวก

ผศ.ดร.ธนภัทร ยีขะเด กล่าวถึงโอกาสการดำเนินธุรกิจยุค New normal ของจังหวัดชายแดนใต้ว่า ในด้าน e-commerce ประเทศไทยเป็นอันดับ1 ในอาเซียนสูงสุดติดต่อกัน 6 ปีซ้อน แสดงว่า คนไทยมีความตื่นตัวในการซื้อขายผ่าน e-commerce กันมาก นักศึกษาในขณะนี้อยู่ใน Gen z/ Gen y คนกลุ่มนี้ใช้อินเทอร์เน็ตมากต่อวัน 11-12 ต่อชั่วโมง ทั้ง 2 gen นี้มีประชากรเกินครึ่งหนึ่ง จึงเป็นโอกาสของสามจังหวัดชายแดนใต้ในยุคเทคโนโลยี

ส่วนการขับเคลื่อนการศึกษานั้น เด็กที่เรียนในตัวเมืองมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีดีกว่าเด็กในชุมชน การทำให้ผู้ประกอบการ 3 จังหวัดขับเคลื่อนไปได้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น งบประมาณ เทคโนโลยี ที่สำคัญคือ พี่เลี้ยง ที่เชี่ยวชาญด้านการตลาด ซึ่ง ศอ.บต.ทำได้ดี ในด้านการสนับสนุนและเชื่อมโยง

“อีกเรื่องที่สำคัญ คือ การบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ ทั้งด้านองค์ความรู้ ด้านซอฟต์แวร์ต่างๆ อาจจะต้องให้โอกาส สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ งบประมาณและความรู้ เพื่อให้เขามีแพลตฟอร์มของตัวเอง”

ด้าน นายชารีฟ เด่นสุมิตร กล่าวว่า คนรุ่นใหม่ต้องเอาดิจิทัลเข้ามาใช้ฝนการทำธุรกิจ โดยยกตัวอย่างว่าตนเองกลับมาบ้านเกิดเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วมาทำธุรกิจที่เป็นแพลตฟอร์มและหน้าร้านที่บริหารจัดการจัดสรรวัตถุดิบให้ร้านอาหาร ขณะที่ 4-5 ปีที่ ก่อน ดิจิทัลเป็นเรื่องใหม่มาก เขากลายเป็น Start up หน้าใหม่และเป็นกลุ่มแรกๆที่เป็น food deriveryกลายเป็นจุดกำเนิดให้ Start up นอกพื้นที่เห็นโอกาสว่าคนในพื้นที่สามารถทำธุรกิจด้านดิจิทัลได้จริง

ปัจจุบัน ชารีพมีหน้าร้าน 7 สาขา โดยมีระบบดิจิทัลสนับสนุนทำให้กิจการเติบโตขึ้น พิสูจน์ให้เห็นว่า การนำดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจากเงินลงทุนเพียงสองหมื่นกว่าบาท ช่วยทำให้รายได้เพิ่มขึ้นทุกปี ฝนปีนี้ 2564 ที่ขณะที่โควิด-19 ระบาดหนัก ชารีฟมียอดขาย 25 -30 ล้านบาท

“เราพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสร้างโอกาสให้มากมาย น้องๆในพื้นที่ก็สามารถมาทำในตรงนี้เพราะมีหน่วยงานที่คอยให้การสนับสนุนเยอะ” นายซารีฟ กล่าว

นางมาลัย เพ็งมูซอ กล่าวว่า ช่วงเวลา 2 ปีที่มีโควิด-19 ไม่คิดว่าเป็นวิกฤติ แต่หันมาปรับเปลี่ยนตัวของตัวเอง ขณะที่จังหวัดปัตตานี มีการแปรรูปเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้าในชุมชน หลังจากที่กลุ่มบ้านกล้วยจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนปัจจุบันได้มีกำลังผลิตถึงวันละ 1 ตัน สามารถวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าทุกแห่งในประเทศไทย และวางจำหน่ายในสาขา 7-11ประมาณ 1 หมื่นสาขา ถือได้ว่าเติบโตในช่วงโควิด-19 และเติบโตมากับดิจิทัลแบบก้าวกระโดด เดือนที่ผ่านมากลุ่มของตนสามารถปิดยอดขายประจำปีนี้กว่า 4 ล้านบาท โยเมื่อปี 2555 มียอดขายเพียง 1,500 บาท

“นี้คือโอกาสในยุคออนไลน์ ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าสินค้าบ้านๆ จะขยายตลาดได้มากขนาดนี้ เรามั่นใจว่าปี 2565 ตลาดของเราจะขายมากขึ้นอีก นั้นหมายถึงความต้องการวัตถุดิบกล้วยน้ำว้าก็มากขึ้นด้วย ขอฝากไปถึงผู้ประกอบOTOP ในพื้นที่ว่าอย่าไปกลัวโควิด-19 แล้วหยุดไม่ไปต่อ ขอให้เข้าไปปรึกษาหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลาให้ทุกฝ่ายปรับตัวเข้าหาดิจิทัลและสร้างตลาดใหม่ ที่สำคัญอีกอย่างคือการนำคนรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งทางกลุ่มเองก็ได้เปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่โดยได้ผลลัพธ์เกิดคาด”นางมาลัยกล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...