นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า และทูตพาณิชย์จาก 58 แห่งทั่วโลกเข้าร่วม
แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนตุลาคม 2564 และ 10 เดือนแรกของปี 2564 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
นายจุรินทร์ กล่าวว่า
ตัวเลขการส่งออกเดือนตุลาคม 2564 ขยายตัวเป็น +17.4% คิดเป็นมูลค่า 22,738.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 750,016 ล้านบาท ตัวเลขรวม 10 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออก +15.7% คิดเป็นมูลค่า 222,736.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6.95 ล้านล้านบาท โดยแบ่งสินค้าสำคัญออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มสินค้าเกษตร 2.กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร และ 3.กลุ่มอุตสาหกรรม
โดย 1.กลุ่มสินค้าเกษตร ในเดือนตุลาคม 2564 ขยายตัว 22.5% คิดเป็นมูลค่า 66,048 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12
สินค้าเกษตรสำคัญมี 5 ตัว ได้แก่ 1) ลำไยสด เป็นบวก 5 เดือนต่อเนื่อง บวก 97.7% มูลค่า 3,191 ล้านบาท สามารถผลักดันการส่งออกได้มากเป็นเท่าตัว แม้จะมีความกังวลเมื่อต้นฤดู 2) ยางพารา เป็นบวก 13 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัว 51.7% มูลค่า 16,766 ล้านบาท 3) ข้าว เป็นบวก 3 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัว 33.7% มูลค่า 12,188 ล้านบาท 4) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นบวก 12 เดือนต่อเนื่อง +29.5% มูลค่า 8,262 ล้านบาท 5) มะม่วงสด เป็นบวก 9 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัว 27.0% มูลค่า 146 ล้านบาท แม้ว่ามูลค่ายังน้อย แต่จะเป็นอนาคตที่สดใสต่อไป
2.กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เดือนตุลาคม ขยายตัว 13.5% ยอดส่งออก 56,543 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องเดือนที่ 8 โดยมีสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ 1) น้ำตาลทราย เป็นบวก 111.6% มูลค่า 6,092 ล้านบาท 2)ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง กระป๋องและแปรรูป เป็นบวก 28.7% มูลค่า 14,383.6 ล้านบาท 3) อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นสินค้าดาวรุ่งอย่างต่อเนื่องเนื่องจากมีมูลค่าเป็นบวก 25 เดือนต่อเนื่อง ในตุลาคม 2564 ขยายตัว 14.4% มูลค่า 6,818 ล้านบาท
3. กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ภาพรวมเดือนตุลาคม ขยายตัว 13.9% คิดเป็นมูลค่า 593,731 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องเดือนที่ สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ 1) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เป็นบวก 9 เดือนต่อเนื่อง) ขยายตัว 67.3% มูลค่า 91,829 ล้านบาท 2) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัว 35.9% มูลค่า1 9,381 ล้านบาท) เป็นบวก 11 เดือนต่อเนื่อง 3) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) เป็นบวก 8 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัว 20.6% มูลค่า 21,552 ล้านบาท 4) แผงวงจรไฟฟ้า บวก 11 เดือนต่อเนื่องขยายตัว 18.6% มูลค่า 25,309 ล้านบาท 5) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นบวก 12 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัว 10.3% มูลค่า 75,582 ล้านบาท
นอกจากสินค้าที่เป็นบวก ในเรื่องของตลาดมีตลาดที่ขยายตัวระดับสูง 10 อันดับแรก ดังต่อไปนี้
1) รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS เป็นตลาดใหม่ที่กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ขยายตัว 78.8% 2) เอเชียใต้ ซึ่งเป็นตลาดใหม่เช่นเดียวกัน เช่น อินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา ขยายตัว 50.4% 3) อาเซียน 5 (ไม่รวม CLMV ไม่รวม กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) ขยายตัว 39.7% 4) ทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่กระทรวงพาณิชย์ต้องการไปบุกตลาด ซึ่งแม้จะมีอุปสรรคจากโควิด-19 ก็ยังมีเซลส์แมนประเป็นที่ประจำการอยู่ในภูมิภาคดังกล่าวที่เป็นกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อน ขยายตัว 38.8% 5) ตะวันออกกลาง ขยายตัว 33.2% ซึ่งภายในสัปดาห์นี้ ตนจะได้พบกับทูตโอมาน เพื่อจะได้หารือเรื่องการส่งออกไปตะวันออกกลางด้วย 6) เกาหลีใต้ ขยายตัว 30.6% 7) CLMV ขยายตัว 19.8% 8) สหรัฐฯ ขยายตัว 16.1% 9) จีน ขยายตัว 14.1% 10) ลาตินอเมริกา ตลาดใหม่ที่มีแผนในการบุกตลาด ขยายตัว14.1%
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกเดือนตุลาคม 2564 เป็นบวกถึง 17.4% ได้แก่
1. การดำเนินการตามแผนการส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขมันสำปะหลังพุ่งสูง ในเดือนตุลาคมสูงถึง 30% เนื่องจากการผลักดันการส่งออกมันสำปะหลังไทยให้มีคุณภาพอันดับ 1 ของโลก ตามยุทธศาสตร์มันสำปะหลังไทยปี 2564 - 2567 รวมไปถึงการเดินหน้าตามแผนงานยุทธศาสตร์ มุ่งรักษาตลาดเดิม เพิ่มตลาดใหม่ และฟื้นฟูตลาดเก่า
2. การเติบโตของเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ต่อเนื่องมาระยะหนึ่ง และคาดว่าจะเจริญเติบโตต่อไปจนถึงไตรมาสที่ 4
3. ค่าเงินบาทในช่วงเดือนตุลาคม อ่อนค่าสุดในรอบกว่า 4 ปี
4. ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเพิ่มขึ้น
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ได้แถลงคาดว่าตัวเลขการค้าทั้งปี 2564 มีความเป็นไปได้ที่จะขยายตัว 15 – 16% (266,379 -268,696 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งถือว่าเกินกว่าเป้าประมาณ 4 เท่า (จากเมื่อต้นปี มีการตั้งเป้าไว้ที่ 4%) โดยมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติม ได้แก่ 1) มาเลเซียซึ่งเป็นคู่ค้าที่ชะลอการค้าไปในช่วงกลาง หลังจากการเปิดด่านคาดว่าจะมีการส่งออกจากไทยที่เจริญเติบโตมากขึ้น 2) การค้าผ่านอีคอมเมิร์ซ 3) การเปิดด่านอื่นๆ เพิ่มเติม
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า “ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องการจับคู่เจรจาธุรกิจผ่านออนไลน์ (Online Business Matching: OBM) ในเดือนธันวาคมจะมีการจัดกิจกรรมดังกล่าวสำหรับสินค้าผลไม้ก่อนที่จะออกฤดูกาลผลไม้นั้นๆ และมีกิจกรรมส่งเสริมสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งเป็นการทำงานของเซลล์แมนประเทศที่แจ้งความต้องการเข้ามายังส่วนกลางอยู่ตลอดเวลา โดยจะใช้เวลา 2 เดือนที่เหลือในการสร้างมูลค่าให้มากที่สุด”
สำหรับกล่าวถึงเป้าส่งออกปี 2565 นั้น นายจุรินทร์กล่าวว่า จะมีการประชุม กรอ. พาณิชย์ ร่วมกับภาคเอกชน เพื่อประเมินสถานการณ์ส่งออกปี 2565 และวางแผนการดำเนินการสำหรับปี 2565 ต่อไป