ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
พบ ภูเก็ตเหมาะสม ก่อสร้างท่าเรือสำราญขนาดใหญ่
25 พ.ย. 2564

กรมเจ้าท่า ประชุมสัมมนาฯ รับฟังความคิดเห็นพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ พบท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตเหมาะสมสร้าง "ครูซ เทอมินอล"

25 พ.ย.64 กรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เซ้าท์อีสท์เอเชียเทคโนโลยีจำกัด บริษัท ออโรร่า เทคโนโลยี แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท ซี.ซี. ดับบลิว จำกัด บริษัท ไพรซ วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอฟเอเอส จำกัด และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินโครงการศึกษาวางแผนแม่บทเพื่อพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) และสำรวจออกแบบท่าเรือขนาดใหญ่ บริเวณชายฝั่งอันดามัน โดยจัดการประชุมสัมมนาระดับจังหวัดครั้งที่ 1 และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน เข้าร่วม ฯ ณ ห้องประชุม โรงแรมพูลแมน ภูเก็ต พันวา บีช รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

ดร.สมบัติ เหสกุล ผู้ช่วย ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า การประชุมสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการวางแผนแม่บทการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ที่บริเวณชายฝั่งอันดามัน และทำการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม สิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมทั้งประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการฯให้เป็นไปตามมาตรา 22 ถึงมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 และเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาโครงการ

ความจำเป็นในการดำเนินโครงการศึกษาวางแผนแม่บทเพื่อพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ จะเป็นการเปิดช่องทางการค้าและการลงทุนรวมถึงการท่องเที่ยว จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ กระจายรายได้สู่ชุมชนและท้องถิ่น และกระจายรายได้สู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว และสำรวจออกแบบท่าเรือสำราญขนาดใหญ่บริเวณชายฝั่งอันดามัน (พื้นที่ จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรังและ สตูล) ประเภทของท่าเทียบเรือสำราญ แบ่งเป็น ท่าเรือต้นทาง (Home Port) และ ท่าเรือแบบแวะพัก (Port of Call)

พื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ มี 6 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือระนอง จังหวัดระนอง ท่าเรือหัวหินเพิง (พื้นที่ศึกษา) ท่าเรือเจียรวานิช ท่าเรือเซ้าท์เทิร์นพอร์ท กระบี่ ท่าเรือน้ำลึก ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต และ ท่าเรือตำมะลัง จังหวัดสตูล จากการพิจารณาปัจจัยเหตุผลต่างๆทางเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม พบว่า ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต มีความเหมาะสม ที่จะได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะมีการออกแบบให้โครงการฯ มีการก่อสร้างท่าเทียบเรือสำราญและอาคารรับรองผู้โดยสารอยู่ในพื้นที่ที่ยื่นออกไปในทะเล การออกแบบท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ บริเวณท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต เข้าข่ายต้องจัดทำรายงาน EHIA เนื่องจากเป็นการพัฒนาท่าเรือขนาดใหญ่ที่มีความยาวหน้าท่าเกินกว่า 300เมตร และอาจมีความจำเป็นต้องขุดลอกร่องน้ำมากกว่า 100,000ลูกบาศก์เมตร เพื่อให้เรือสำราญขนาดใหญ่เข้ามาจอดเทียบท่าได้

นอกจากนี้ พื้นที่พัฒนาโครงการฯยังอยู่ในเขตพื้นที่ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เบื้องต้น กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯจึงได้กำหนดแนวคิดเป็นกรอบการดำเนินการศึกษาตามองค์ประกอบและกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การก่อสร้างท่าเรือ การปรับปรุงขยายท่าเรือ (กรณีที่พิจารณาเห็นว่าควรใช้ท่าเรือเดิมที่มีอยู่แล้ว) การก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่น(ถ้ามี) และการขุดลอกร่องน้ำเพื่อการเดินเรือ ณ บริเวณท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต โดยในการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ปรึกษาจะดำเนินการตามแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พ.ศ.2561 รวมทั้งกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ส่วนแหล่งเงินทุน งบประมาณของกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม และภาคเอกชน ที่สนใจ ตามหลักการแห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ทั้งนี้ การประชุมรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน จัดขึ้นรวมจำนวน 3 ครั้ง โดยข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจะถูกนำไปปรับปรุงร่างรายงานและมาตรการฯต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...