สินิตย์ เผย ธุรกิจคลังสินค้า (Warehouse) ของไทย...ยังคงสดใส รายได้รวมเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง 3 ปี เฉพาะปี 2563 เกือบ 9 หมื่นล้านบาท สอดคล้องการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้ง อี-คอมเมิร์ซ เดลิเวอรี และธุรกิจขนส่ง/ขนถ่ายสินค้า พร้อมเปิดทางให้นักธุรกิจหน้าใหม่เข้าทำตลาด เนื่องจากคู่แข่งยังไม่มาก ความต้องการในธุรกิจสูง อนาคต!! ธุรกิจคลังสินค้ายังเติบโตได้ดี แต่จะเน้นคลังสินค้าขนาดเล็กรองรับการบริการจัดส่งระบบเดลิเวอรี และกระจายธุรกิจได้ทุกพื้นที่
“ความต้องการด้านคลังสินค้ายังเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่รองรับธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามนโยบายส่งเสริมพื้นที่อุตสาหกรรมของรัฐบาล ทั้งนี้ แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจคลังสินค้า สะท้อนได้จากมูลค่าธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2560 - 2563 ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 มีการลดลงเล็กน้อยจากกลุ่มการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การค้าปลีกและการค้าส่งยังเติบโตได้ดี โดยเฉพาะรูปแบบ B2C (Business to Customer) ที่ผู้ประกอบการทุกขนาดขยายช่องทางผ่านออนไลน์มากขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความต้องการคลังสินค้าของผู้ประกอบการในการสนับสนุนการค้าออนไลน์ อย่างไรก็ตาม จากการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนธุรกิจที่ยังมีจำนวนไม่มาก อีกทั้ง ความต้องการในธุรกิจของลูกค้ามีสูง ส่งผลให้ธุรกิจคลังสินค้าของไทยพร้อมเปิดทางให้นักธุรกิจหน้าใหม่มีพื้นที่เข้าทำตลาดอีกมาก”
ธุรกิจขนาดเล็ก (S) มีจำนวนมากที่สุด 1,108 ราย (ร้อยละ 89.35) ธุรกิจขนาดกลาง (M) จำนวน 89 ราย (ร้อยละ 7.18) และธุรกิจขนาดใหญ่ (L) จำนวน 43 ราย (ร้อยละ 3.47) ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร 542 ราย (ร้อยละ 43.71) รองลงมาคือ ภาคกลาง จำนวน 295 ราย (ร้อยละ 23.79) และภาคเหนือ จำนวน 157 ราย (ร้อยละ 12.66)
ธุรกิจคลังสินค้า (Warehouse) ของไทย มีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรายได้รวม ปี 2561 มีจำนวน 69,354.42 ล้านบาท ปี 2562 จำนวน 71,291.73 ล้านบาท และ ปี 2563 จำนวน 87,240.63 ล้านบาท การเจริญเติบโตของรายได้รวมต่อปี (ปี 2561 - 2563) มีขนาดร้อยละ 2.79 และ 22.37 ตามลำดับ
ธุรกิจคลังสินค้า..ยังสดใส รายได้รวมสูงขึ้นต่อเนื่อง 3 ปี เกือบ 9 หมื่นล้านบาท
สินิตย์ เผย ธุรกิจคลังสินค้า (Warehouse) ของไทย...ยังคงสดใส รายได้รวมเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง 3 ปี เฉพาะปี 2563 เกือบ 9 หมื่นล้านบาท สอดคล้องการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้ง อี-คอมเมิร์ซ เดลิเวอรี และธุรกิจขนส่ง/ขนถ่ายสินค้า พร้อมเปิดทางให้นักธุรกิจหน้าใหม่เข้าทำตลาด เนื่องจากคู่แข่งยังไม่มาก ความต้องการในธุรกิจสูง อนาคต!! ธุรกิจคลังสินค้ายังเติบโตได้ดี แต่จะเน้นคลังสินค้าขนาดเล็กรองรับการบริการจัดส่งระบบเดลิเวอรี และกระจายธุรกิจได้ทุกพื้นที่
“ความต้องการด้านคลังสินค้ายังเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่รองรับธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามนโยบายส่งเสริมพื้นที่อุตสาหกรรมของรัฐบาล ทั้งนี้ แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจคลังสินค้า สะท้อนได้จากมูลค่าธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2560 - 2563 ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 มีการลดลงเล็กน้อยจากกลุ่มการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การค้าปลีกและการค้าส่งยังเติบโตได้ดี โดยเฉพาะรูปแบบ B2C (Business to Customer) ที่ผู้ประกอบการทุกขนาดขยายช่องทางผ่านออนไลน์มากขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความต้องการคลังสินค้าของผู้ประกอบการในการสนับสนุนการค้าออนไลน์ อย่างไรก็ตาม จากการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนธุรกิจที่ยังมีจำนวนไม่มาก อีกทั้ง ความต้องการในธุรกิจของลูกค้ามีสูง ส่งผลให้ธุรกิจคลังสินค้าของไทยพร้อมเปิดทางให้นักธุรกิจหน้าใหม่มีพื้นที่เข้าทำตลาดอีกมาก”
ธุรกิจขนาดเล็ก (S) มีจำนวนมากที่สุด 1,108 ราย (ร้อยละ 89.35) ธุรกิจขนาดกลาง (M) จำนวน 89 ราย (ร้อยละ 7.18) และธุรกิจขนาดใหญ่ (L) จำนวน 43 ราย (ร้อยละ 3.47) ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร 542 ราย (ร้อยละ 43.71) รองลงมาคือ ภาคกลาง จำนวน 295 ราย (ร้อยละ 23.79) และภาคเหนือ จำนวน 157 ราย (ร้อยละ 12.66)
<p class="x_MsoNormal" style="-webkit-font-smoothing: antialiased; color: rgb(32, 31, 30); font-family: " leelawadee="" ui="" web",="" "kmer="" ui",="" "segoe="" -apple-system,="" blinkmacsystemfont,="" roboto,="" "helvetica="" neue",="" sans-serif;="" font-size:="" 15px;="" margin:="" 0cm="" 0.0001pt;="" text-align:="" justify;="" line-height:="" 17.25px;"=""> การลงทุนของชาวต่างชาติในธุรกิจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มูลค่า 5,583.23 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยสัญชาติที่มีการลงทุนสูงสุด คือ ญี่ปุ่น มูลค่า 3,864.15 ล้านบาท (ร้อยละ 18.93) สิงคโปร์ มูลค่า 641.61 (ร้อยละ 3.14) จีน มูลค่า 252.81 (ร้อยละ 1.24