1) การคืนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กรมสรรพากรจะทำการโอนเงินภาษีที่ได้อนุมัติคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคาร และได้แจ้งความประสงค์ขอรับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารดังกล่าว ซึ่งเป็นช่องทางที่ผู้ขอคืนภาษีเกินกว่า 90% เลือกใช้บริการในปีภาษีที่ผ่านมา
2) การคืนเงินผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรณีผู้ขอคืนเงินภาษีไม่ประสงค์รับเงินภาษีคืนด้วยการโอนเงินภาษีคืน เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ กรมสรรพากรจะออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา (ค.21) เป็นหลักฐานเพื่อนำไปติดต่อรับเงินคืนที่สาขาธนาคารธนาคารกรุงไทย หรือธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดังนี้
สำหรับ กรณีผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี ที่มีคำสั่งศาล และได้รับหนังสือแจ้งคืน ค.21 ผู้จัดการมรดก ยังคงสามารถมาขอรับเงินคืนได้ที่สาขาธนาคารกรุงไทย ในรูปแบบบัตรเงินสด e-Money ได้ โดยแสดงคำสั่งศาลที่เกี่ยวข้อง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการมรดกมาขอรับเงินคืนที่สาขาธนาคาร
3) การคืนเงินสำหรับผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กรณี ชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล วิสาหกิจชุมชน และกองมรดก ที่ยังไม่ได้แบ่ง กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) พร้อมเช็ค โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น
สำหรับผู้ขอคืนที่ได้รับ ค.21 ก่อน วันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ยังไม่ได้ขอคืนเงินที่สาขาธนาคาร และ ค.21 หมดอายุ ให้ยื่นคำร้องขอออกเช็คคืนภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรมสรรพากรจะออก ค.21 ฉบับใหม่พร้อมเช็คและจัดส่งทางไปรษณีย์ให้ผู้ขอคืนต่อไป”
โฆษกกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการขอรับคืนเงินภาษี ขอแนะนำให้ผู้ขอคืนลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคาร และแจ้งความประสงค์ขอรับเงินภาษีคืนเข้าบัญชีธนาคารดังกล่าว หากมีคำถามเกี่ยวกับวิธีการและเอกสารที่ใช้ในการขอคืนเงินภาษีผ่านสาขาธนาคาร สามารถติดต่อสาขาธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่ท่านสะดวก”