ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
บอร์ด EEC เดินหน้าลงทุนเฟส 2 ในตั้งเป้า 5 ปี 65-69 ที่ 2.2 ล้านลบ.
07 ม.ค. 2565

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 1/2565 ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ในปี 2565 อีอีซี เร่งขับเคลื่อนแผนลงทุนระยะ 2 (ปี 65-69) ตั้งเป้าเกิดการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท จากการต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน การดึงดูดการลงทุนต่างชาติในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ต่อยอดจากฐานปกติ และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) เพื่อให้เกิดการลงทุนนวัตกรรมใหม่เคียงคู่สิ่งแวดล้อม รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจประเทศเติบโตขึ้น (GDP) 5% ต่อปี

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติแผนโครงสร้างพื้นฐานระยะที่ 2 (ปี 2565-2569) งบประมาณ 3.4 แสนล้านบาท โดยครึ่งหนึ่งเป็นเงินภาคเอกชน ครึ่งหนึ่งเป็นเงินภาคของรัฐ โดยเน้นดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ

1.ส่งเสริมการใช้ระบบรางเข้าไปทำโครงสร้างการเชื่อมโยงกับการขนส่ง ซึ่งจะเข้าไปถึงนิคมอุตสาหกรรม

2.การขนส่ง จะเป็นระบบสาธารณะมากขึ้น ทั้งเรื่องรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงกับเมืองหลักๆ เน้นการแก้ปัญหาคอขวด แก้ปัญหาจราจร และกพอ.กำลังพัฒนาเครือข่ายคมนาคม เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือ หรือนิคมอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งในส่วนของระบบรางจำเป็นต้อง ใช้ระบบเทคโนโลยีและระบบอัจฉริยะ เข้าไปบริหารจัดการทั้งหมด

โดยได้วางแผนในระยะปานกลางจะเพิ่มระบบรางและทางน้ำ จาก 4% เป็น 15% เป็นอย่างน้อย เพิ่มระบบขนส่งสาธารณะจาก 25% เป็น 35%

นายคณิศ กล่าวว่า ในปี 2572 อีอีซี ตั้งเป้าหมายสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงจากฐานราก ให้ประเทศไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางก้าวสู่ประเทศพัฒนา รวมทั้งยกระดับคุณภาพชุมชนในมิติต่างๆ ต่อเนื่อง สร้างรายได้ที่มั่นคง สร้างชุมชนที่มั่งคั่ง ให้กับคนไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งเป็นองค์กรต้นแบบการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษทั่วประเทศในอนาคตต่อไป

ที่ประชุมยังได้รับทราบรายงานความก้าวหน้า การดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยมีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

1. ในปี 61-64 ถือเป็นช่วงวางเสาเอก หรือ เริ่มต้นมี พ.ร.บ. อีอีซี ถึงแม้ใน 2 ปีหลังจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่อีอีซี ได้อนุมัติการลงทุนแล้วประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท (การลงทุนภาคเอกชน 80% และภาครัฐ 20%) เกิดจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 654,921 ล้านบาท ลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายประมาณ 924,734 ล้านบาท และบูรณาการเชิงพื้นที่ประมาณ 82,000 ล้านบาท ทั้งนี้หลังจากเกิด อีอีซี ทำให้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวมที่สำคัญๆ ได้แก่

เกิดการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี เฉลี่ยสูงถึง 2.6 แสนล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2559 (ก่อนมี อีอีซี) ที่มีมูลค่าลงทุน 1.7 แสนล้านบาท (คิดจากมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนของ BOI)

เกิดสัดส่วนการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ต่อประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 52% จาก 36% ก่อนมี อีอีซี

-เกิดการลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) ปี 2561 เพิ่มขึ้นถึง 59% (ก่อนที่จะเกิดสถานการณ์สงครามการค้า Trade war และโควิด-19 ในช่วงปี 2562-ปัจจุบัน)

เกิดการริเริ่ม พัฒนาทักษะบุคลากร สร้างคนตรงกับงาน (อีอีซี โมเดล) ให้คนมีงานทำเพิ่มขึ้นถึง 14,467 คน พร้อมมีแผนขยายผลผูกพันเพิ่มเติมอีกกว่า 150,000 คน

เกิดความร่วมมือกับสถาบันการเงินของรัฐ เสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ ชุมชนคนพื้นที่ เข้าถึงแหล่งเงินทุนฟื้นฟูกิจการคลายผลกระทบช่วงโควิด-19 โดยได้ปล่อยสินเชื่อเพื่อธุรกิจประชาชนไปแล้ว 7,672 ราย คิดเป็นมูลค่า 1,052.7 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการขนาดรายเล็ก 1,359 ราย คิดเป็นมูลค่า 1,986.8 ล้านบาท

เกิดการพัฒนาและยกระดับชีวิตชุมชนครบมิติ อาทิ เกิดแผนเกษตรสมัยใหม่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ดี มั่นคง มีการใช้เทคโนโลยีผลิตสินค้าตรงความต้องการของตลาด ส่งเสริมการลงทุนศูนย์บริการจีโนมิกส์ในอีอีซี รักษาตรงจุด เข้าถึงได้ทุกคน แผนการพัฒนาท่องเที่ยว NEO Pattya สร้างเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน เสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ ชุมชน คนพื้นที่ เข้าถึงแหล่งเงินทุนต่อยอดกิจการคลายผลกระทบช่วงโควิด-19 เป็นต้น

ทั้งนี้ ได้มีการรายงานความก้าวหน้าใน 4 โครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าก่อสร้าง ใช้เงินไทย ใช้บริษัทไทย ใช้คนไทย ร่วมสร้างประเทศไทย โดยรัฐได้ผลตอบแทน 2 แสนล้านบาท และที่ประชุม กพอ.รับทราบความก้าวหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลัก ซึ่งถือเป็นความสำเร็จสำคัญของอีอีซี ที่ได้ผลักดันการลงทุนร่วมรัฐ-เอกชน (PPP) จนสำเร็จครบ และต่อจากไตรมาส 1 ปี 2565 นี้ ทุกโครงการ (รถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด และแหลมฉบัง) จะสามารถเดินหน้าก่อสร้างได้ตามแผนทั้งหมด ซึ่งถือเป็นต้นแบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ที่ไม่ต้องพึ่งพิงเงินกู้ต่างประเทศเช่นในอดีต ทำให้รัฐสามารถประหยัดงบประมาณ ร่วมมือกับเอกชนไทย ใช้เงินไทย ใช้บริษัทไทย ใช้คนไทย ร่วมสร้างประเทศไทยที่แข็งแกร่งเป็นแกนหลักนำพันธมิตรต่างชาติมาร่วมลงทุน สร้างงาน สร้างเงินให้คนไทย มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 654,921 ล้านบาท และรัฐได้ผลตอบแทนสูงถึง 210,352 ล้านบาท

อีกทั้ง ที่ประชุม กพอ. รับทราบความก้าวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบการแพทย์จีโนมิกส์ ในพื้นที่ อีอีซี ยกระดับให้ชุมชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข และแผนการขับเคลื่อนการรักษาแบบการแพทย์แม่นยำ โดยเร่งส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ศูนย์บริการจีโนมิกส์ในอีอีซี และบริการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ สกพอ. ได้ลงนามในสัญญาจ้าง และสัญญาเช่าที่บริการถอดรหัสพันธุกรรม กับกิจการร่วมค้าไทยโอมิกส์ เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมประชาชน 50,000 ราย ในระยะเวลา 5 ปี และจัดเก็บเป็นข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยและเลือกการรักษาโรคที่ถูกต้อง เป็นต้นแบบในพื้นที่ อีอีซี เพื่อให้คนไทยทุกคน ได้รับการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ รักษาได้ตรงอาการ และมีสุขภาพดี

ส่วนเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ถือว่ามีความก้าวหน้า มีการก่อสร้างสำนักงานใหญ่เสร็จแล้วและจะมีการเปิดใช้เดือนมิ.ย.65 ก่อนจะเปิดใช้ทางการในเดือนพ.ย.65 ซึ่งที่ประชุมกพอ. ขอให้อีอีซีให้การสนับสนุนการจัดประชุมเอเปค ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม นายคณิศ กล่าว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด สายพันธุ์โอมิครอนยังไม่ได้ส่งผลต่อการลงทุนในอีอีซี การลงทุน การค้า ตัวเลขส่งออกก็ดูดีขึ้น

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...