ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
กรอ. ดึง 3 พันธมิตร ร่วม ลด ละ เลิก สารทำลายชั้นโอโซน
07 ก.พ. 2565

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) ระยะที่ 2 ร่วมมือกับกรมศุลกากร ในการป้องกันการลักลอบการนำเข้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน โดยจัดหาและส่งมอบเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ชนิดสารทำความเย็นให้แก่กรมศุลกากรจำนวน 8 เครื่อง และร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา   (สอศ.) ในการเสริมสร้างศักยภาพช่างติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ โดยการจัดหาและส่งมอบอุปกรณ์ ให้แก่ศูนย์ฝึกอบรม จำนวน 72 ชุด รวมถึงจัดอบรมช่างติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ 


การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ระยะที่ 2 ในปี 2565 ประกอบด้วย 1) การส่งมอบเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ชนิดสารทำความเย็นให้แก่กรมศุลกากร โดยจัดซื้อเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ชนิดสารทำความเย็น จำนวน 8 เครื่อง มูลค่า 1.5 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมศักยภาพเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำด่านต่างๆ ที่มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าและส่งออกสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนได้มีเครื่องมือที่ทันสมัย สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ชนิดสารทำความเย็นด้วยตนเองในเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแบบให้เปล่าในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปใช้สารทดแทนที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน และมีค่าศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนต่ำในภาคอุตสาหกรรมการผลิตโฟมแบบฉีดพ่น วงเงินกว่า 57 ล้านบาท เพื่อดำเนินการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปใช้สารทดแทนใหม่ที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน และมีค่าศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนต่ำ ได้แก่ สารไฮโดรฟลูออโรโอเลฟิน (HFOs) 3) การจัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์ให้แก่ศูนย์ฝึกอบรมภายใต้ กพร. และ สอศ. จำนวนทั้งสิ้น 72 ชุด เพื่อนำไปใช้ในการฝึกอบรมให้แก่ช่างติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ มูลค่ากว่า 8 ล้านบาท 4) การจัดอบรมช่างติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ โดยมีเป้าหมายอบรมช่างติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศจำนวน 5,500 คน วงเงินกว่า 17 ล้านบาท 


กรอ. ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนพหุภาคีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล ผ่านธนาคารโลก เพื่อดำเนินโครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2563 - 2566) โดยมีเป้าหมายดังนี้ 1) จำกัดปริมาณการใช้สาร HCFCs ไม่เกิน 354 โอดีพีตัน (ODP Tonnes) ภายในปี 2566 และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 847,673 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Tonnes CO2 eq) 2) เลิกใช้สาร HCFC-141b ที่เหลือทั้งหมดในการผลิตโฟมแบบฉีดพ่น (Spray Foam) จำนวน 31.53 โอดีพีตัน และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 207,811 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Tonnes CO2 eq) 3) ลดการใช้สาร HCFC-22 ในภาคการซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศลงอย่างน้อย 20 โอดีพีตัน และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 658,181 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Tonnes CO2 eq) ส่วนการดำเนินการที่ผ่านมาตามโครงการฯ ในระยะที่ 1 (พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2561) สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายเป็นไปตามข้อตกลงภายใต้พันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล อธิบดีกรมโรงงาน กล่าวปิดท้าย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...