ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
คต. พลิกโฉมการให้บริการ รับยุค New Normal
04 มี.ค. 2565

 

          กรมการค้าต่างประเทศเดินหน้านำนวัตกรรมดิจิทัลพลิกโฉมการให้บริการ ช่วยลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ โดยในปี 2564 สามารถออกเอกสารทางการค้าได้มากกว่า 1.17 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่าการค้ากว่า 3.18 ล้านล้านบาท

          นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา กรมฯ ออกหนังสือสำคัญการส่งออก-นำเข้าสินค้า จำนวน 1,172,027 ฉบับ คิดเป็นมูลค่าการค้า 96,615.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3.18 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.72 จากปีก่อน (80,701.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) จำนวน 1,072,770 ฉบับ มูลค่า 85,622.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นการออกใบอนุญาตและหนังสือรับรองการส่งออก-นำเข้าสินค้า จำนวน 99,257 ฉบับ มูลค่า 10,993.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้กรมฯ สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องและไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือการที่กรมฯ ได้พลิกโฉมการให้บริการครั้งใหญ่โดยเฉพาะการนำนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก และลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการไทย

          ในส่วนของการให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) ซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 92 ของปริมาณการออกหนังสือสำคัญฯ ทั้งหมด กรมฯ ได้ผลักดันการใช้ระบบการลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature and Seal: ESS) ซึ่งเป็นระบบที่สามารถนำลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการจากฐานข้อมูลของกรมฯ มาแสดงบน C/O โดยอัตโนมัติ ช่วยลดระยะเวลารอรับบริการจาก 30 นาที/ฉบับ เหลือเพียงไม่เกิน 10 นาที/ฉบับ และลดการสัมผัสเอกสารให้สอดคล้องกับยุค New Normal นอกจากนี้ ยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรกระดาษในการพิมพ์แบบคำขอรับ C/O เนื่องจากภายใต้ระบบ ESS ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องลงนามแบบสด ในแบบคำขอรับ C/O อีกต่อไป กรมฯ จึงสามารถเก็บคำขอฯ ดังกล่าวไว้ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทนการพิมพ์แบบกระดาษ ช่วยลดการใช้กระดาษไปได้กว่า 4.4 ล้านแผ่นต่อปี และช่วยลดการใช้งบประมาณรัฐกว่า 790,000 บาท

          ทั้งนี้ ในปัจจุบันกรมฯ ให้บริการออก C/O ด้วยระบบ ESS จำนวน 11 ฟอร์ม ได้แก่ 1) Form D 2) Form E (สำหรับการส่งออกไปยังจีน) 3) Form JTEPA 4) Form AK 5) Form FTA-AUSTRALIA 6) Form AANZ 7) Form AJ 8) Form TC 9) Form AHK 10) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป (C/O ทั่วไป) และ 11) Form RCEP (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นมา) 

          นายพิทักษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการให้บริการออกใบอนุญาตและหนังสือรับรองการส่งออก-นำเข้า กรมฯ ได้ผลักดันการให้บริการแบบ Paperless โดยเชื่อมโยงข้อมูลการออกใบอนุญาตและหนังสือรับรองฯ ผ่านระบบ National Single Window (NSW) ของไทย และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ NSW ได้แล้วครบทุกรายการสินค้า จึงช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถผ่านพิธีการศุลกากรของไทยด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมารับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองฯ แบบกระดาษจากกรมฯ อีกต่อไป ยกเว้นหนังสือรับรองฯ ที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องนำไปแสดงต่อกรมศุลกากรประเทศปลายทาง เช่น หนังสือรับรองสำหรับการส่งออกเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน (KPC) เป็นต้น ซึ่งกรมฯ ได้นำระบบ ESS มาใช้อำนวยความสะดวกตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นมา แล้วเช่นกัน

          การพลิกโฉมการให้บริการเหล่านี้ช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการจำกัดการเดินทางต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขอรับหนังสือสำคัญฯ จากกรมฯ เพื่อใช้ประกอบการส่งออก-นำเข้าสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนภาคการค้าของไทยในยุค New Normal

          ผู้ประกอบการสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักบริการ การค้าต่างประเทศ โทร 0 2547 4830 และ 0 2547 4838 หรือ เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th และสายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...