เปิดแผนเชิงรุก กทม. เร่งเครื่องฉีดวัคซีนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ก่อนเทศกาลสงกรานต์ เพิ่มช่องทางติดต่อ รณรงค์ฉีดวัคซีนผู้สูงวัย จัด BMV Night ฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ยามค่ำตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 4 ทุ่ม
วันที่ 16 มี.ค. 2565 กทม.เปิดให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ยามค่ำ BMV Night โดยรถฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ (BKK Mobile Vaccination Unit: BMV) ตั้งแต่วันที่ 21 - 23 มีนาคม 2565 เวลา 18.00 - 22.00 น. (ปิดรับคิว 21.00 น.) ณ ศูนย์วัคซีน BMV Night ใต้สะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) เขตบางพลัด
สำหรับการขอรับบริการมี 2 ช่องทาง คือ
1. จองคิวผ่านแอปพลิเคชัน QueQ (วันละ 600 คน) แบ่งเป็น 3 รอบ
- รอบ 1 เวลา 18.00 - 19.00 น. จำนวน 200 คน
- รอบ 2 เวลา 19.00 - 20.00 น. จำนวน 200 คน
- รอบ 3 เวลา 20.00 - 21.00 น. จำนวน 200 คน
2. Walk in (วันละ 400 คน) (ปิดรับคิว 21.00 น.)
นอกจากนี้ยังมีบริการพิเศษ “รถคลายเครียด ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต”
รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผู้สูงอายุ วันที่ 21-31 มี.ค. นี้
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า แนวโน้มผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่จะขึ้นไปสูงสุดช่วงกลางเดือน เม.ย.นี้ กทม.จึงได้จัดทำแผนเชิงรุกและเร่งสำรวจจำนวนผู้สูงอายุใน กทม. ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ให้มารับวัคซีนโดยเร็ว ตามข้อสั่งการของ ศบค. ที่กำหนดให้ระหว่างวันที่ 21-31 มี.ค. 65 เป็นสัปดาห์ของการรณรงค์ฉีดวัคซีนให้กลุ่มผู้สูงอายุ
ที่ผ่านมาสำนักอนามัยได้ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 เข็มที่ 2 และเข็มที่ 3 เข็มกระตุ้นให้แก่ผู้สูงอายุ ณ จุดฉีดต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงพยาบาล บริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน รถฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ กทม. (BMV) รวมถึงศูนย์ฉีดวัคซีนของ กทม. ผ่านแอปพลิเคชัน “QueQ” มาอย่างต่อเนื่อง
จากสถิติการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ กทม. มีจำนวน 2,771,327 โดส (ข้อมูล ณ วันที่ 14 มี.ค. 65)
ในส่วนของสำนักการแพทย์ ได้ส่งทีมสหวิชาชีพ พร้อมกลุ่มงานอนามัยชุมชน ของโรงพยาบาลในสังกัดลงพื้นที่ชุมชนในการดูแลของโรงพยาบาล สำรวจกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงในการให้บริการฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน
นอกจากนี้ สำนักงานเขต 50 เขต ได้มีมาตรการเชิงรุกโดยลงพื้นที่เคาะประตูบ้านเชิญชวนประชาชนรับวัคซีน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้ฉีดวัคซีนตามกำหนด หากไม่สะดวกในการเดินทางจะนัดหมายรถ BMV หรือให้เจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการสาธารณสุขไปฉีดให้ที่บ้านกรณีเป็นผู้ติดบ้านติดเตียง รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนและ อสส. ช่วยกระจายให้ข่าวสารเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้ในชุมชน มีการเร่งฉีดวัคซีนเชิงรุกใน Nursing Home ที่ครบกำหนดฉีดเข็ม 3 ย้ำเมื่อสงสัยว่าติดเชื้อสามารถตรวจเชื้อด้วย Antigen Test Kit (ATK) เพื่อทุกคนในครอบครัวมีความปลอดภัยจากโรคโควิด-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้
เปิด 6 ช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์
ด้านนายณรงค์ เรืองศรี รองปลัด กทม. เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2564 ศูนย์เรื่องราวร้องทุกข์กทม.ได้รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์จากประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งหมด 72,486 เรื่อง และดำเนินการแก้ไขแล้ว 71,210 เรื่อง โดย 5 เรื่องร้องเรียนสูงสุด 5 อันดับ คือ เหตุเดือดร้อนรำคาญ, เรื่องฉุกเฉิน (โควิด-19), ไฟฟ้า, กระทำผิดในที่สาธารณะ, ขยะและสิ่งปฏิกูล
รองปลัด กทม. ระบุว่า เรื่องรับแจ้งเกี่ยวกับโควิด-19 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2563 เช่น มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 การจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ประชาชน การแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับโควิด-19 การขอเตียง/ขอรถ การไม่ได้รับความสะดวกเกี่ยวกับการให้บริการศูนย์พักคอยหรือสถานที่เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ กทม.เพิ่มช่องทางรับเรื่องร้องเรียน 6 ช่องทาง ดังนี้
1. สายด่วน กทม. 1555 ปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
3. สื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Facebook : ศูนย์เรื่องราวร้องทุกข์ กทม./ศูนย์กทม.1555 และ Twitter : @bma 1555
4. จดหมายถึงกทม. 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200
6. ยื่นคำร้องด้วยตนเอง ณ ศาลาว่าการกทม. และที่ทำการของหน่วยงานในสังกัดกทม.ทุกแห่ง
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กทม.ได้จัดทำระบบบริหารจัดการคำถามและรับแจ้งปัญหาเมือง ซึ่งพัฒนาให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ Chatbot และ Mobile Application สำหรับการแจ้งปัญหาเมือง และเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี และศูนย์ดำรงธรรม เพื่อให้การบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนและติดตามการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น