ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สังคม / บุคคล ย้อนกลับ
อธิบดีกรมธนารักษ์ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าและเตรียมความพร้อมในการเปิดประมูลที่ราชพัสดุในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก(แม่สอด)
17 มี.ค. 2565

นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ พร้อมด้วย นายสมมาตร มณีหยัน รองอธิบดีกรมธนารักษ์ นายคณาวุฒิ สิติธีรพันธุ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมธนารักษ์ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าและเตรียมความพร้อมในการเปิดประมูลที่ราชพัสดุในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก โดยได้เดินทางลงพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก(อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด อ.พบพระ) (แปลงที่ 1) บนที่ราชพัสดุหมายเลขทะเบียน ตก. 590 ซึ่งเป็นแปลงเปิดประมูลให้เอกชนเสนอโครงการลงทุน และ พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก (แปลงที่ 2) บนที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ตก. 591 ซึ่งเป็นแปลงที่จัดให้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เช่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเปิดประมูลพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาลในการปฏิรูปและพัฒนาประเทศให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โดยได้ลงพื้นที่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 1 และ แห่งที่ 2 สำหรับรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก(แม่สอด)ให้เชื่อมโยงกับประเทศเมียนมาและเพิ่มศักยภาพทางการค้าและการลงทุนในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษพร้อมเข้าตรวจเยี่ยมศูนย์ปฎิบัติการสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ตาก (Tak Treasury Corporation Center) เพื่อมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติราชการให้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ตาก

โดยที่นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรมธนารักษ์ได้สนับสนุนและผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายของรัฐบาลเป็นหนึ่งในภารกิจของกรมธนารักษ์ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางด้านการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม ซึ่งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ตั้งอยู่ในท้องที่ (ชายแดนไทย-เมียนมา) ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก แบ่งเป็น 2 แปลง ดังนี้

แปลงที่ 1 ที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ตก.590 เนื้อที่ประมาณ 1,076-1-90.70 ไร่
คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบให้เปิดประมูลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากใหม่ และมีมติมอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิประโยชน์ฯ เป็นหน่วยงานดำเนินการเกี่ยวกับการทบทวนสิทธิประโยชน์ และการขยายระยะเวลาสิทธิประโยชน์การยกเว้นค่าเช่าที่ดินราชพัสดุตามมาตรการเร่งรัดการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการเปิดประมูล
ทั้งนี้เมื่อ กพศ. มีมติเห็นชอบสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขในการประมูล  กรมธนารักษ์จะได้ดำเนินการเปิดประมูลเพื่อสรรหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนพัฒนาที่ดินราชพัสดุ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก โดยคาดว่าจะเปิดประมูล ได้ช่วงเดือน พฤษภาคม 2565  ที่จะถึงนี้
กำหนดผลประโยชน์ตอบแทนคือ
1. ค่าเช่าในอัตราไร่ละ 36,000 บาท/ปี
2. คิดเป็นค่าเช่าปีละ 38,753,163 บาท (ปรับปรุงค่าเช่า 15%  ทุก 5 ปี)
3. กำหนดค่าธรรมเนียมการประมูล เป็นเงิน 269,119,188 บาท
4. ระยะเวลา การเช่า 50 ปี
ปัจจุบันเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนกิจการเป้าหมายครบทั้ง 13 กลุ่มอุตสาหกรรม  
ปัจจุบันเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนกิจการเป้าหมายครบทั้ง 13 กลุ่มอุตสาหกรรม  
คุณสมบัติของผู้เสนอการลงทุน
1. เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย
2. ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
3. กรณีกิจการร่วมค้า (Joint Venture) เป็นการร่วมของธุรกิจที่มีมูลค่าทุนจดทะเบียนรวมกันไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
4. มีผลงานหรือประสบการณ์ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างน้อย 1 โครงการ
สำหรับแปลงที่ 2 ที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ตก.591 เนื้อที่ประมาณ 671-2-05 ไร่
จัดให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เช่า
1. อัตราค่าเช่าไร่ละ 25,200 บาท/ปี คิดเป็นค่าเช่าทั้งแปลง เป็นเงิน 16.92 ล้านบาท
2. ปรับปรุงค่าเช่า 15% ทุก 5 ปี (ค่าเช่าตลอดอายุสัญญาเช่า 50 ปี = 1,717.91 ล้านบาท)
3. ค่าธรรมเนียมการเช่าไร่ละ 250,000 บาท/50 ปี
4. ค่าธรรมเนียมการเช่าทั้งแปลง เป็นเงิน 167.88 ล้านบาท
5. ค่าธรรมเนียมการเช่าผ่อนชำระ 5 ปี โดยเริ่มชำระปีที่ 6-10 ยกเว้น 5 ปีแรก พร้อมดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
 
ทั้งนี้การพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาลในการปฏิรูปและพัฒนาประเทศให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
กรมธนารักษ์เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังมีหน้าที่บริหารจัดการที่ราชพัสดุให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยสนับสนุนที่ดินราชพัสดุให้ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ประโยชน์เพื่อรองรับการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานและตามนโยบายของรัฐบาล

อำเภอแม่สอด จ.ตาก ถือว่าในอนาคตจะเป็นเมืองเศรษฐกิจ ในระดับชั้นนำของไทย ด้วยศักยภาพและความพร้อมในทุกๆด้าน ทั้งเป็นประตูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน –AEC (ASEAN Economic Community ) บนเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor – EWEC) ที่มีมูลค่าการค้าชายแดนนับแสนล้านบาทในแต่ละปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ถึงวัน “เปิดฟ้าเขตเศรษฐกิจแม่สอด” ในปี 2565  นี้แล้ว

ทีมข่าว จ.ตาก

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...