นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคมผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเร่งการผลิตสินค้า เพื่อส่งมอบก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อย่างไรก็ตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน กดดันให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการปรับตัวสูงขึ้นทั้งจากราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบ อาทิ อาหารสัตว์ ปุ๋ยเคมี สินแร่สำหรับผลิตเหล็กอลูมิเนียม เป็นต้น
ทั้งนี้ จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,303 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2565 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้นได้แก่ ราคาน้ำมัน ร้อยละ 78.5 สภาวะเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 55.2 ปัจจัยที่มีความกังวล ลดลง ได้แก่ สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ร้อยละ 62.2 เศรษฐกิจในประเทศ ร้อยละ 48.1 อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 42.3 สถานการณ์การเมืองในประเทศ ร้อยละ 40.1 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 39.5 ตามลำดับ
สำหรับดัชนีฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 99.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 97.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 มีแนวโน้มคลี่คลายลงจากการเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ ทำให้ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้นส่งผลอุปสงค์ในประเทศมีทิศทางดีขึ้น ขณะที่ภาคการส่งออกของไทยยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจโลก
ทาง ส.อ.ท.ได้จัดทำข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ประกอบไปด้วย1. ยกเลิกมาตรการ Test & GO เพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว รวมทั้งจัดเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขในการรองรับการปรับให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น เพื่อ สร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนและนักท่องเที่ยว
2.เร่งแก้ไขปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและวัตถุดิบราคาแพง อาทิ ปรับลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคการผลิต รวมทั้งปลดล๊อคเงื่อนไขและโควต้าการนำเข้าวัตถุดิบโดยเฉพาะในวัตถุดิบที่ขาดแคลน 3. ทบทวนการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) และออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME เพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น ส่วนลดค่าไฟฟ้า
4. เร่งเจรจากับจีน-เวียดนาม ขอขยายเวลาเปิดด่านเป็น 24 ชม. เพิ่มช่องทาง Green Lane ในการตรวจสินค้าผลไม้ รวมทั้งการเตรียมแผนสำรองในการส่งออกผลไม้ทางเรือ/เครื่องบิน เพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้จากไทยไปจีนผ่านด่านทางบก