คืบหน้าประมวลกฎหมายท้องถิ่นสรุป โดยย่อๆ
1. ในจังหวัดหนึ่งๆ จะกำหนดให้มี อบจ/เทศบาล/สำหรับ อบต. หาย
2. เทศบาล มี 3 ประเภท
-เทศบาลตำบล ประชากร ไม่เกิน 15,000 คน
-เทศบาลเมือง ประชากร เกิน 15,000 คนแต่ไม่เกิน 50,000 คน
-เทศบาลนคร ประชากรเกิน 50,000 คนขึ้นไป
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเทศบาลตำบล เมือง ที่ตั้งอยู่ก่อน กม.นี้ใช้บังคับ
3.การควบรวม
อบต/เทศบาล.ใดที่มีประชากรต่ำกว่า 7,000 คน/รายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนต่ำกว่า 20 ล้านบาท อยู่ในอำเภอเดียวกันให้ควบรวม
เจตนารมณ์ของประชาชนในพื้นที่ โดยมีคณะกรรมการควบรวมระดับอำเภอและระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณา
4.เมื่อยุบรวมกันแล้วให้ผู้บริหาร/สมาชิก พ้นจากตำแหน่งทันทีและจัดให้มีการเลือกตั้งภายในกำหนด 60 วัน
5.สมาชิกสภาตำบล ตามเกณฑ์ประชากร
-ไม่เกิน 7,000 มี สท 12 คน/7,000-15,000 คน มี สท 15 คน/ 15,000-50,000 คน มี สท 18 คน/แบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง เขตละ 3 คน
6.สำหรับเทศบาลเมือง นคร ก็แบ่งตามเกณฑ์ประชากรเช่นเดียวกัน
7.ผู้บริหารเทศบาล เลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 4 ปี /ไม่เกิน 2 วาระ มีวุฒิปริญญาตรี หรือเทียบเท่าหรือเคยเป็น สท /ผู้บริหาร ฯลฯ มาก่อน
8.ร่างนี้ ในกรรมาธิการปฏิรูปท้องถิ่น สปท. อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เตรียมเสนอ สปท./ครม./สนช.ต่อไป
9.อ่านๆดูเป็นร่างที่ กรมส่งเสริมฯ มท. นำเสนอเพราะคนทำส่วนใหญ่มาจาก มท.ทั้งนั้นครับ
จากการอ่านร่างประมวลกฎหมายองค์กรส่วนท้องถิ่น แบบไม่ละเอียดซึ่งเกิดจากการปฏิรูปท้องถิ่น โดยการรวมร่างของ พรบ.อบต.กับ พรบ.อบจ. (สำหรับคนท้องถิ่นหรือผู้เตรียมสอบท้องถิ่นจะทราบดีเกี่ยวกับเรื่องความซ้ำซ้อนของ 2 หน่วยงานนี้) จากนี้ไปหากร่างประมวลกฎหมายองค์กรส่วนท้องถิ่นประกาศใช้ โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเปลี่ยนไป จากเดิมที่มี 4 รูปแบบ
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
2. เทศบาล
3. สุขาภิบาล
4. ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด
กทม. ตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ 2528
เมืองพัทยาตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542
อบต.ตาม พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537
แต่ที่ใช้กันจริงในปัจจุบันมีเพียง 3 รูปแบบ เนื่องจากไม่มีรูปแบบสุขาภิบาลแล้ว แต่นับจากประมวลกฎหมายองค์กรส่วนท้องถิ่นนี้บังคับใช้จะเหลือเพียง 2 รูปแบบคือ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
เทศบาลตำบล
เทศบาลอำเภอ
เทศบาลนคร
อบต.ทั้งหลายจะถูกยกฐานะเป็นเทศบาลทั้งหมด กรณีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์การจัดตั้งเทศบาลตำบลไม่ว่าจะเรื่องจำนวนประชากรหรือเรื่องรายได้ก็ให้ควบรวมกับเทศบาลตำบลที่อยู่ใกล้เคียงโดยเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนในพื้นที่
ปล.ที่มา สุวรรณ ศรีฟ้า
เป็นเทศบาลตำบลมันก็ไม่ต่างอะไรกับ อบต.เดิม..ที่เปลี่ยนแปลงคือ นายกเทศมนตรี รอง๚เลขา๚เงินเดือนเพิ่มขึ้น..จาก ส.อบต.เป็น ส.ท.เงินเดือนเพิ่มขึ้น..ได้รับงบอุดหนุนจากรัฐบาลเพิ่มขึ้น..ก็คนเดิมๆและทีมเดิมๆนั่นแหละที่เป็นฝ่ายบริหารของเทศบาล(โดยเฉพาะในชนบท)..เพราะพวกนี้วางรากฐานการเมืองไว้หมดแล้ว..เลือกกี่ครั้งก็ได้คนเดิมๆทีมเดิมๆ..หากจะให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นคือ..ต้องมีวาระในการดำรงตำแหน่ง..ทั้งนายก๚รอง๚และ สท. ต้องมีวาระแค่ 4ปีพอและไม่ให้เกิน2สมัยเครือญาติ ลูกเมีย ก็ห้ามลงเลือกตั้งโดยเด็ดขาด..เพราะพ่องมันเป็นแล้ว..สลับสับเปลี่ยนให้คนอื่นเป็นบ้าง..ไม่ทำเช่นนี้ก็มีการผูกขาดการเมิองเหมือนระดับชาติอีก..ต้องอย่าลืม ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ กำนัน นายก๚เทศ๚ ส.ท. ล้วนแล้วแต่เป็นคนของนักการเมืองระดับชาติทั้งนั้น..ชาวบ้านธรรมดาลงเลือกตั้งสู้พวกนี้ไม่ได้หรอก..เพราะพวกนี้มีทรัพยากร(เงิน+คน+วิชามารเยอะ)..หากเปลี่ยนต้องเปลี่ยนในทุกอย่าง..และต้องทำใน รบ.ชุดนี้แหละ..อย่าไปหวังกับ รบ.ที่มาจากการเลือกตั้งเลย..ขุมกำลังที่สำคัญของนักการเมืองคือคนในท้องถิ่นชนบทนี่แหละ..!!!!
ที่มา https://www.facebook.com/tchinungkuro?fref=ts