ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
กรมเจ้าท่า ยกระดับศักยภาพกองเรือพาณิชย์ไทย
31 พ.ค. 2565

“กรมเจ้าท่า” ผลักดันร่างแผนปฏิบัติการด้านการยกระดับศักยภาพกองเรือพาณิชย์ไทยเพื่อขับเคลื่อนพาณิชยนาวีไทย สู่ Hub ASEAN


นายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านวิชาการ กล่าวว่า กรมเจ้าท่า มุ่งหวังส่งเสริม สนับสนุนให้กิจการและผู้ประกอบการพาณิชยนาวีมีศักยภาพ ความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันตามสภาพการด้านพาณิชยนาวีที่เผชิญอยู่ในกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยเตรียมผลักดันร่างแผนปฏิบัติการด้านการยกระดับศักยภาพกองเรือพาณิชย์ไทยเป็นแผนระดับ 3 เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนากองเรือพาณิชย์ไทย รวมไปถึงกิจการพาณิชยนาวีอื่นและกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการพาณิชยนาวี ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากรพาณิชยนาวี การสร้างเครือข่ายธุรกิจพาณิชยนาวี และการขนส่งต่อเนื่องในหลายรูปแบบ และการพัฒนาพาณิชยนาวีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้แนวทางมาตรการส่งเสริมสนับสนุนตามร่างแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวมีการขับเคลื่อนและมีผลการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของภาคเอกชนที่เป็นรูปธรรมได้ชัดเจนขึ้น อันเป็นการดำเนินการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนต่างๆ ของประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการและลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศ สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยนาวีของภูมิภาคต่อไป

ปัจจุบันกรมเจ้าท่า มีภาคประกอบการภายใต้การดูแลกำกับกิจการพาณิชยนาวี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกำกับกิจการ
พาณิชยนาวี  กลุ่มกำกับกิจการท่าเรือ และกลุ่มกำกับกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งมีภาคเอกชนที่อยู่ในความดูแลซึ่งได้จดทะเบียนแล้วมากกว่า 1,600 ราย ประกอบด้วย การกำกับกิจการพาณิชยนาวีเฉพาะการประกอบการขนส่งทางทะเล จำนวน 743 ราย และกิจการอู่ต่อเรือ จำนวน 242 ราย รวมทั้งการออกหนังสือรับรองขีดความสามารถของอู่ต่อเรือ จำนวน 28 ราย กำกับกิจการท่าเรือ จำนวน 196 ราย กำกับกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ จำนวน 393 ราย

เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2548 ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 และพระราชกฤษฎีกากำหนดให้กิจการท่าเรือเดินทะเลเป็นกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน พ.ศ. 2522 และตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 ตามลำดับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดการเรือและเพิ่มศักยภาพของกองเรือไทย ทำให้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในแง่การนำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทย และเพื่อควบคุมและกำกับดูแลกิจการท่าเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ให้เป็นไปด้วยความเหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ และสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาพาณิชยนาวีของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและสร้างความเชื่อมั่นในระบบขนส่งทางน้ำของประเทศไทยและเพื่อให้สามารถอํานวยความสะดวกแก่การดําเนินงานด้านธุรกิจระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันกันสูง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...