ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันสำรวจพะยูนล่าสุดในทะเลตรังยังเหลือราวๆ 170 ตัวหรือเหลือทั่วทุกน่านน้ำไทยเพียง 200ตัว ขณะที่ยอดตายเฉลี่ยปีละ 8 ตัว
ดร.ก้องเกียรติกิตติวัฒนาวงศ์ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพร้อมคณะได้ทำการบินสำรวจพะยูนในท้องทะเลอันดามันโดยเฉพาะบริเวณเกาะลิบงและเกาะมุกแหล่งอาศัยที่สำคัญที่สุดในทะเลตรังรวมทั้งสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งหญ้าทะเลอาหารของพะยูนซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากที่ใกล้จะสูญพันธุ์ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักวิชาการประมงได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปีแล้วโดยปีนี้เป็นปีแรกที่ได้ทดลองนำหุ่นยนต์สำรวจทางอากาศหรือโดรนมาใช้จากที่ในปีก่อนๆจะใช้เครื่องบินเล็กและพารามอเตอร์
ทั้งนี้ผลการสำรวจพะยูนในทะเลตรังโดยเบื้องต้นพบว่าช่วงระหว่างปี 2541-2553 มีพะยูนเฉลี่ยประมาณปีละ 20 ตัวจากนั้นในปี 2554 ลดลงเหลือ 150ตัว และเหลือน้อยที่สุดในปี 2556 คือ 125 ตัวอย่างไรก็ตามหลังจากปี 2557 พะยูนก็เริ่มกลับมามีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยในปี 2559 มี 160 ตัวและล่าสุดปี 2560มี 169 ตัวขณะที่อัตราการตายของพะยูนช่วงระหว่างปี 2541-2553 ตายไปรวมประมาณ 63 ตัวหรือเฉลี่ยปีละ 5.26ตัวแต่เมื่อถึงปี 2555 พะยูนได้ตายเพิ่มขึ้นเป็น 13 ตัวอย่างไรก็ตามหลังจากปี 2556 พะยูนก็กลับมาตายลดลงเหลือปีละ 6-8 ตัวโดยในปี2558และ 2559 มีอัตราการตายเท่ากันคือปีละ 8 ตัว
สำหรับสถานการณ์พะยูนโดยภาพรวมของประเทศไทยล่าสุดนั้นคาดว่าจะมีจำนวนทั้งหมดประมาณ 200ตัวส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเลฝั่งอันดามันโดยมีจำนวนมากที่สุดในจังหวัดตรังประมาณ 150-160 ตัวตามมาด้วยจังหวัดกระบี่ 20 ตัวจังหวัดพังงา 10 ตัวและจังหวัดสตูล5ตัวส่วนทะเลฝั่งอ่าวไทยพบพะยูนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 10 ตัวและจังหวัดปัตตานี 5 ตัวรวมทั้งจังหวัดแถบภาคตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชลบุรีถึงจังหวัดตราดประมาณ10 ตัวทั้งนี้แม้จากข้อมูลจะพบว่าพะยูนมีจำนวนเพิ่มขึ้นและตายลดลงแต่ก็ยังต้องติดตามดูแลและอนุรักษ์กันอย่างต่อเนื่อง