ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สังคม / บุคคล ย้อนกลับ
นารี ตัณฑเสถียร ว่าที่อัยการสูงสุดหญิงคนแรกของไทย
08 มิ.ย. 2565

ที่ประชุม ก.อ. มีมติเอกฉันท์เห็นชอบให้ นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อธิบดีอัยการ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดคนใหม่ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากนายสิงห์ชัย ทนินซ้อน อัยการสูงสุดคนปัจจุบันจะมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นี้ ซึ่งตามกฎหมายจะต้องพ้นจากตำแหน่งอัยการสูงสุดไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส ตามความในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 สำหรับขั้นตอนต่อไป สำนักงานอัยการสูงสุดจะดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 10 โดยจะมีหนังสือกราบเรียนประธานวุฒิสภา เพื่อให้นำเข้าที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาแล้วก็จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ต่อไป

นางสาวนารี ตัณฑเสถียร ว่าที่อัยการสูงสุด คนที่ 17 สําเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเนติบัณฑิตไทย ปริญญาโทด้านกฎหมายเปรียบเทียบ Howard University, Wash, DC USA ปริญญาโทด้านกฎหมายระหว่างประเทศ The American University Wash, DC USA และปริญญาโทด้านกฎหมายการให้ความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศ Vrije University of Brussel, Belgium (ทุนรัฐบาลเบลเยียม)

 สำหรับประวัติการทำงานของนางสาวนารี ตัณฑเสถียร เริ่มทำงานปี พ.ศ. 2528 ในสำนักงานคดีอาญาธนบุรี สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษากฎหมายแก่หน่วยงานภาครัฐ และเจรจา ตรวจร่างสัญญาภาครัฐ พ.ศ. 2553 เป็นอาจารย์ (พิเศษ) คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2554 เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรองอัยการสูงสุด (นายตระกูล วินิจนัยภาค), เลขานุการอัยการสูงสุด และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิบดีอัยการ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย

 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีผลงานโดดเด่น อาทิ คดีเพชรซาอุฯ คดีฆ่าเจ้าหน้าที่การทูตซาอุฯ สัญญาเกี่ยวกับพลังงาน สัญญาเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ สัญญาร่วมลงทุน สัญญาการจัดหาวัคซีนและ ยารักษาโรคระบาดโควิด-19 และได้รับเลือกเป็น ก.อ. ผู้ทรงคุณวุฒิ (ประเภทข้าราชการอัยการชั้น 5 ขึ้นไป) 2 สมัย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...