ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ดีป้า โชว์ผลงาน สร้างเยาวชนสู่นักพัฒนาเมืองท้องถิ่น
05 ก.ค. 2565

ดีป้า เผยผลสำเร็จโครงการ The Smart City Ambassadors รุ่นที่ 1สร้างงานให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ มีความพร้อมก้าวสู่การเป็น นักพัฒนาเมืองท้องถิ่น ขณะที่เปิดโครงการฯ รุ่นที่ 2 ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 21 ก.ค. 2565
นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่นักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ ในโครงการนักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ (The Smart City Ambassadors: SCA) รุ่นที่ 1 จำนวน 22 คนจาก 22 จังหวัด รวมถึงผู้ที่ได้รับรางวัล Smart City Ambassadors ดีเด่นทั้ง 7 คน และเจ้าหน้าที่ตัวแทนเมือง ซึ่งโครงการดังกล่าวดำเนินการโดย สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า


นางสาวอัจฉรินทร์ กล่าวต่อว่า สมาร์ทซิตี้ อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในตัวแผนแม่บท กำหนดให้เป็นพื้นที่ และเมืองอัจฉริยะ ซึ่งจะมีการพัฒนาจากเมืองเดิม และเมืองใหม่ เมืองเดิมจะถูกพัฒนาให้มีความน่าอยู่ขึ้น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ส่วนเมืองใหม่จะวางโครงสร้างใหม่ เพื่อดึงดูดคนเข้ามาอยู่ในเมืองใหม่ การจะขับเคลื่อนได้ต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์โดยประชาชน และผู้บริหารเมือง เพื่อร่วมกันวางเทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ มีการสื่อสารด้วยข้อมูล บริหารจัดการเมืองอย่างชาญฉลาด ทำเป็นระบบ ซิตี้ ดาต้า แพลตฟอร์ม เป็นบิ๊กดาต้าของเมืองขึ้นมาทำให้บริหารจัดการเมืองมีความโปร่งใส ประชาชนนำมาใช้ประโยชน์ได้ 

ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ คือ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน พร้อมทั้งมีตัวแทนรัฐ เอกชน มาร่วมสร้างกระจายความเจริญอย่างเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยภาครัฐเร่งส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการลงทุน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาบุคคลากร รวมทั้งการให้มาตรการสิทธิทางภาษีของบีโอไอ ซึ่งที่ผ่านได้มีพื้นที่เปลี่ยน ไปสู่เมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริงแล้ว เช่น ขอนแก่น เชียงใหม่ ภูเก็ต และพื้นที่ในจังหวัดอีอีซี 
สำหรับความก้าวหน้าการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศไทยได้ดำเนินการ 5 เมืองอัจฉริยะนำร่อง Thailand Smart City เพื่อสร้างเมืองเดิมให้น่าอยู่ทันสมัยเกิดการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์บริบทเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ได้แก่ ภูเก็ต, ขอนแก่น, แม่เมาะ, สามย่าน และ วังจันทร์วัลเลย์ นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 3 เมืองต้นแบบ (Thailand Smart City Index) ซึ่งประกอบด้วย ยะลา ศรีตรัง และฉะเชิงเทรา 


"ปัจจุบันการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ผ่านมาคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ได้พิจารณามอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย กับ 15 พื้นที่ ได้แก่  1.สามย่านสมาร์ทซิตี้ 2.ขอนแก่นเมืองอัจฉริยะ 3.เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง 4.แม่เมาะเมืองอัจฉริยะ จ.ลำปาง 5.ภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ 6.เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4  7.โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม 8.เมืองอัจฉริยะมักกะสัน เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน 9.การพัฒนาเมืองเก่าอย่างชาญฉลาด เทศบาลนครเชียงใหม่ 10.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมืองอัจฉริยะ ความเป็นเลิศที่ยั่งยืนสู่ชุมชน 11.เมืองศรีตรัง 12.ยะลาเมืองอัจฉริยะ เพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 13.ฉะเชิงเทราเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าลงทุน 14.แสนสุขสมาร์ทซิตี้ และ 15.โครงการนครสวรรค์สมาร์ทซิตี้ เพื่อรับรองเป็นพื้นที่เมืองอัจฉริยะ"
นอกจากนี้ ยังมีการประกาศ เขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ 50 พื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะได้รับการส่งเสริมการลงทุน สำหรับกิจการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะและกิจการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะจากบีโอไอต่อไป รับรองเป็นพื้นที่เมืองอัจฉริยะนอกจากนี้ยังมีการประกาศ เขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ 50 พื้นที่ทั่วประเทศ 
“การจัดทำโครงการ “นักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่” (The Smart City Ambassadors) ทำการคัดเลือก 30 ตัวแทนหนุ่มสาวคนรุ่นใหม่จากทั่วประเทศ โดยดีป้าให้ดำเนินจัดกิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการพัฒนากำลังคน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยในการบริหารจัดการเมือง เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่” อัจฉรินทร์กล่าว 
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า เปิดเผยว่า โครงการนักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับกำลังคนด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยเฟ้นหาเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มี ใจ ประสงค์จะพัฒนาภูมิลำเนาของตนเองให้มีโอกาสได้กลับมาทำงานในบ้านเกิด ซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนคนกลางประสานและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างส่วนกลางกับภาคเอกชนในพื้นที่ และเมือง โดยมีเจ้าหน้าที่ตัวแทนเมือง (Smart City Captains) ร่วมเป็นพี่เลี้ยง
“ตลอดระยะเวลา 1 ปีของการดำเนินโครงการฯ นักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่และพี่เลี้ยงได้ร่วมเรียนรู้และทำกิจกรรม Smart City Boot Camp ทั้งในรูปแบบ Online และ Onsite เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะสำคัญเกี่ยวกับการยกระดับพื้นที่สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ฝึกฝนและพัฒนาศักยภาพด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเมือง ก่อนลงพื้นที่จริง รับโจทย์จริง ภายใต้การดูแลจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมือง ซึ่ง ดีป้า คาดว่า โครงการดังกล่าวจะช่วยสร้างงานให้กับเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ขณะเดียวกันยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวไปสู่การเป็น ‘นักพัฒนาเมืองท้องถิ่น’ ของตนเองต่อไป” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว


ด้าน ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า 
รองผู้อำนวยการใหญ่ดีป้ากล่าวว่า ความสำเร็จโครงการ นักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่The Smart City Ambassadors รุ่นที่ 1 ดีป้า จึงได้จัดทำโครงการ นักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ The Smart City Ambassadors โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและพัฒนากำลังคนด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้มีทักษะด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อันนำไปสู่การสร้างโอกาส การจ้างงาน ในตำแหน่งงานด้านการพัฒนาเมืองที่เป็นกลไกสำคัญช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืนและสอดรับกับความต้องการของพื้นที่  ร่วมกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตัวแทนเมืองในการเป็นผู้นำการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City Captains) ให้น่าอยู่ 
โดยได้มีเมืองในเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ เข้าร่วมโครงการ 33 เมือง 25 จังหวัด และมีคนรุ่นใหม่รักบ้านเกิดที่มีความรู้ ความสามารถ เข้าร่วมโครงการจำนวน 30  คน เพื่อร่วมขับเคลื่อน 523 โครงการ ตามข้อเสนอแผนการพัฒนาเมืองของเมืองที่ร่วมโครงการ 
โดย Ambassadors เป็นเสมือนตัวกลางผสานการทำงานระหว่างส่วนกลาง และเมือง มีเจ้าหน้าที่ตัวแทนเมือง หรือ กัปตัน เป็นพี่เลี้ยง ซึ่งทั้ง Ambassadors และ Captains ได้เรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งแบบ Online และ Onsite ใน กิจกรรม Boot Camp เพื่อฝึกฝน พัฒนาทักษะและเรียนรู้ทักษะใหม่  พัฒนาศักยภาพด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านการพัฒนาเมือง และลงพื้นที่จริง พร้อมการดูแลให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองตลอดโครงการ 
โดยผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญของโครงการ ประกอบด้วย 5 เมือง ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน หาดใหญ่ชุมพร และสตูล ซึ่งได้รับการสนับสนุนติดตั้ง Smart Lighting มูลค่ารวมกว่าแปดแสนบาท จาก บริษัท จัมโบ้ อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด 
รวมทั้งยังมีหน่วยงานเข้าร่วมโครงการส่งข้อเสนอกองทุนดิจิทัล ทั้งสิ้น 23โครงการ มูลค่ารวมกว่า 600 ล้านบาท และยังมีการร่วมมือกับภาคเอกชนจากกิจกรรมในโครงการ ผลักดัน 26 โครงการ เพื่อการพัฒนาเมือง มูลค่าการลงทุ่นกว่า 570 ล้านบาท  
ทั้งนี้ โครงการได้สิ้นสุดครบกำหนด 1 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 ถึง มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมี Ambassadors ผู้ผ่านหลักสูตรทังสิ้น 22 คน และเจ้าหน้าที่ตัวแทนเมืองที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการในฐานะกัปตัน ทั้งสิ้น 29 คน และผู้ผ่านกิจกรรม Smart City Ambassador Boot Camp ทั้งสิ้น 10 คน รวมทั้งสิ้น 61 คน
ทั้งนี้พัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงานที่ได้รับการประกาศ เป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ในการเป็นผู้นำการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Captain Smart City) ให้เรียนรู้เทคนิคและแนวทางใหม่ๆ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการบริหารจัดการข้อมูลมาใช้วางแผนการพัฒนาและแก้ปัญหาตามภูมิลำเนา
และจากผลสำเร็จของโครงการนักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 ดีป้า จึงสานต่อโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2 โดยเปิดรับสมัครเยาวชนคนรุ่นใหม่ 150 คน และเมือง 150 เมืองเข้าร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี ซึ่งผู้สนใจสามารถส่งใบสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 21 กรกฎาคมนี้ หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Page: Smart City Thailand Office โดยคาดว่าจะเริ่มโครงการในเดือน สิงหาคม2565 นี้ 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...