ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ดร.ณัฐพล นำทีมอุตสาหกรรม กระชับความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น
18 ก.ค. 2565

         ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นำคณะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมไทยเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 14 – 17 กรกฎาคม 2565 เพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรม และเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นให้มาลงทุนในประเทศไทยที่มีความพร้อมและศักยภาพที่จะต้อนรับการลงทุนจากญี่ปุ่น พร้อมแลกเปลี่ยนบุคลากรภาครัฐ หรือ ทูตอุตสาหกรรม เพื่อการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการระหว่าง 2 ประเทศ ขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายคุณภาพ และเปลี่ยนองค์ความรู้ เครื่องจักร เทคโนโลยี การจับคู่ธุรกิจ ยกระดับกาคอุตสาหกรรมสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกภายใต้นโยบายดีพร้อมแคร์

ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มีศักยภาพความพร้อมผ่านการประสานความร่วมมือกับนานาประเทศ เป็นหนึ่งในแนวทางที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เน้นย้ำเพื่อให้เกิดการผนึกเครือข่ายการลงทุนและคู่ค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยได้สั่งการให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ขยายผลความร่วมมือกับนานาประเทศ ซึ่งครั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก ระหว่างวันที่ 14 – 17 กรกฎาคม 2565 ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพร้อมให้นักลงทุนจากญี่ปุ่นมั่นใจว่าไทยมีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตในภาคอุตสาหกรรมในยุค Next Normal และพร้อมดึงดูดให้นักลงทุนจากญี่ปุ่นมาลงทุนขยายฐานการผลิตเพิ่มในไทย พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก โดยมี 2 ประเด็นหลัก ได้แก่
·    การเชื่อมโยงความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง ดีพร้อม (DIPROM) และ เมืองโยโกฮามะ เพื่อความร่วมมือในการผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยและญี่ปุ่น ขยายผลสู่การจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการจับคู่ธุรกิจการค้า การหารือกับกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) ร่วมกำหนดเป้าหมายสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกควบคู่ไปกับการส่งเสริมการลงทุน
ในไทย ภายใต้แนวคิด Co-Creation ที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี การสร้างขีดความสามารถในทุนมนุษย์ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง พร้อมได้หารือกับองค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (Organization for Small & Medium Enterprises and Regional Innovation, Japan : SMRJ) เพื่อความร่วมมือในการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกมิติ


·    การเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นให้มาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อศักยภาพความพร้อมของประเทศไทย ในการต้อนรับการลงทุนจากญี่ปุ่น ผ่านการเข้าประชุม Round Table กับกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-Curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพ และ BCG โดยมีผู้ประกอบการญี่ปุ่นเข้าร่วม 50 ราย ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร พลาสติกชีวภาพ การบินและโลจิสติกส์ เคมีภัณฑ์ชีวภาพ ดิจิทัล อาหารแห่งอนาคต ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
     

     ดร.ณัฐพล กล่าวว่า สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม ระหว่าง ดีพร้อม และเมืองโยโกฮาม่า ครั้งนี้ เพื่อผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยและญี่ปุ่น และต่อยอดสู่การขยายความร่วมมือเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การจับคู่ธุรกิจ การจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงการเสริมสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งให้กับหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของทั้ง 2 ประเทศ ให้สามารถก้าวหน้าไปด้วยกันในลักษณะ win – win เพื่อการสร้างโอกาสและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเมืองโยโกฮามะนั้นเป็นแหล่งที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมจากบริษัทชั้นนำมากมายในประเทศญี่ปุ่น โดยเมืองโยโกฮามะจะส่งบุคลากรภาครัฐมานั่งประจำการอยู่ที่ โต๊ะญี่ปุ่นดีพร้อม หรือ DIPROM Japan Desk ภายในเดือนสิงหาคม 2565 และคาดว่าจะจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นได้ไม่ต่ำกว่า 150 คู่ภายในปี 2566 ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐจากญี่ปุ่นได้มีผู้แทนมาประจำการที่ DIPROM Japan Desk แล้ว 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย SMRJ รัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดวากายามะ และรัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดชิมาเนะ 


       นอกจากนี้ จากการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ที่ได้ร่วมกันใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือ Framework Document on Co-Creation for Innovative and Sustainable Growth ที่ได้มีการแลกเปลี่ยนกัน เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมผ่านการขับเคลื่อนโครงการของดีพร้อม ภายใต้ความร่วมมือโครงการ Lean Automation System Integrators (LASI) Lean IoT Plant Management Execution (LIPE) และ Smart Monozukuri รวมทั้งพัฒนาระบบการรับรองบุคลากรทักษะสูงเหล่านี้สู่การเป็นที่ปรึกษาเพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ ทีมผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นจะเดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมกันวางโครงสร้างของระบบการรับรองที่ปรึกษา รวมทั้งขอความร่วมมือในการสนับสนุนและเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นไปลงทุนที่ประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐาน
การลงทุนและสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค ที่จะช่วยก่อให้เกิดระบบห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็งในภูมิภาค ต่อยอดสู่ การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากลต่อไปได้ต่อไปในอนาคต

        ดร.ณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ทูตอุตสาหกรรม ระหว่างไทย – ญี่ปุ่น (SMRJ) ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยและญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการแพร่ระบาดจากโควิด-19 ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องขยายผลการดำเนินธุรกิจและการจับคู่ทางการค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งระหว่างปี 2563 - 2564 การจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (Online Matching Café) และการเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทย – ญี่ปุ่น (CEO Business Meeting Event) เกิดการจับคู่ธุรกิจมากกว่า 300 คู่ ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการเชื่อมโยงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจาก 2 ประเทศ รวมถึงเป็นการพัฒนาเครือข่ายคุณภาพ (E-Engagement) ซึ่งเป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายดีพร้อมแคร์ (DIPROM CARE) ในการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ดีพร้อมอย่างไรก็ดี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดีพร้อม และ รัฐบาลญี่ปุ่น ได้มีความร่วมมือในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ การลงนามในบันทึกความเข้าใจ Memorandum of Understanding: MOU) การลงนามในหนังสือแสดงเจตจํานง (Letter of Intent: LOI) และการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperate: MOC) ร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น 21 แห่ง 22 ฉบับ รัฐบาลกลาง 4 แห่ง 6 ฉบับ และหน่วยงานเอกชน 4 แห่ง 4 ฉบับ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...