ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
พาณิชย์แนะ ภาครัฐควรรับมือพฤติกรรมปชช. ในภาวะน้ำมันแพง
02 ก.ย. 2565

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 จำนวน 8,363 คน ทุกอำเภอทั่วประเทศ เกี่ยวกับการปรับตัวในภาวะน้ำมันแพง พบว่า ส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำมัน โดยใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง ตามด้วยเปลี่ยนชนิดพาหนะ/วิธีการเดินทาง และเปลี่ยนชนิดน้ำมัน สำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดค่าใช้จ่าย พบว่า ส่วนใหญ่ใช้สินค้าฟุ่มเฟือยลดลง ตามด้วยเดินทางท่องเที่ยว และบริโภคอาหารนอกบ้านน้อยลง หากสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงยืดเยื้อ ส่วนใหญ่จะหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ทั้งนี้ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและดูแลค่าบริการขนส่งสาธารณะให้เหมาะสม กระตุ้นการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว และสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า นอกจากจะบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นแล้ว ยังช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดผลการสำรวจ ดังนี้

1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ในภาวะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในระดับสูง ผู้ตอบแบบสอบถามมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะด้านการเดินทาง 
3 อันดับแรก คือ ใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง (ร้อยละ 29.23) เปลี่ยนชนิดพาหนะหรือเปลี่ยนวิธีการเดินทาง (ร้อยละ 17.15) และเปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เติมรถยนต์ (ร้อยละ 10.82)
•เมื่อพิจารณาตามช่วงรายได้ พบว่า
-ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง
มากที่สุด ตามด้วย เปลี่ยนชนิดพาหนะหรือเปลี่ยนวิธีการเดินทาง และเปลี่ยนไปใช้บริการขนส่งสาธารณะ
-ผู้ที่มีรายได้ในช่วง 10,001 – 100,000 บาท/เดือน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลงมากที่สุด ตามด้วย เปลี่ยนชนิดพาหนะหรือเปลี่ยนวิธีการเดินทาง และเปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เติมรถยนต์
-ผู้ที่มีรายได้มากกว่า 100,000 บาท/เดือน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลงมากที่สุด ตามด้วย เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เติมรถยนต์ และเปลี่ยนเวลาเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรแออัด
•เมื่อพิจารณาตามอาชีพ พบว่า
-เกษตรกร นักศึกษา ไม่ได้ทำงาน และอาชีพอิสระ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลงมากที่สุด ตามด้วย เปลี่ยนชนิดพาหนะหรือเปลี่ยนวิธีการเดินทาง และเปลี่ยนไปใช้บริการขนส่งสาธารณะ
-พนักงานของรัฐ ผู้ประกอบการ และพนักงานเอกชน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลงมากที่สุด ตามด้วย เปลี่ยนชนิดพาหนะหรือเปลี่ยนวิธีการเดินทาง และเปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เติมรถยนต์
•เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มที่ไม่ได้ทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้บริการขนส่งสาธารณะมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ สาเหตุน่าจะมาจากการใช้บริการขนส่งสาธารณะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากที่สุด และเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ทำได้ ดังนั้น ภาครัฐควรให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและดูแลค่าบริการขนส่งสาธารณะให้เหมาะสม เพื่อให้กลุ่มคนดังกล่าวได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

2.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน 3 อันดับแรก คือ ลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า (ร้อยละ 29.87) ลดการเดินทางท่องเที่ยว (ร้อยละ 16.92) และลดการบริโภคอาหารนอกบ้าน (ร้อยละ 16.25)
•เมื่อพิจารณาตามช่วงรายได้ พบว่า
-ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน รายได้ในช่วง 10,001 – 40,000 บาท/เดือน และรายได้มากกว่า 100,000 บาท/เดือน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่คล้ายกัน คือ ลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยมากที่สุด ตามด้วย ลดการเดินทางท่องเที่ยว และลดการบริโภคอาหารนอกบ้าน
-ผู้ที่มีรายได้ในช่วง 40,001 – 100,000 บาท/เดือน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยมากที่สุด ตามด้วย ลดการบริโภคอาหารนอกบ้าน และลดการเดินทางท่องเที่ยว
•เมื่อพิจารณาตามอาชีพ พบว่า
-เกษตรกร มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยมากที่สุด ตามด้วย ลดการบริโภคอาหารนอกบ้าน และลดการเดินทางท่องเที่ยว
-พนักงานของรัฐ ผู้ประกอบการ พนักงานเอกชน ไม่ได้ทำงาน และอาชีพอิสระ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยมากที่สุด ตามด้วย ลดความถี่ในการบริโภคสินค้าประจำวัน และลดการบริโภคอาหารนอกบ้าน
-นักศึกษา มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยมากที่สุด ตามด้วย ลดความถี่ในการบริโภคสินค้าประจำวัน และลดกิจกรรมบันเทิง
•เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มผู้ที่มีรายได้ในช่วง 40,000 – 50,000 บาท/เดือน และกลุ่มพนักงานของรัฐ มีสัดส่วน
การลดการออมค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 0.44 และ 0.88 ตามลำดับ) สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มคนดังกล่าวอาจจะได้รับผลกระทบ
ทางการเงินน้อยกว่ากลุ่มอื่น และมีรายได้ที่มั่นคง นอกจากนี้ กลุ่มผู้ที่มีรายได้มากกว่า 100,000 บาท/เดือน มีสัดส่วนการลด
การเดินทางท่องเที่ยวมากที่สุด อาจกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ภาครัฐควรกระตุ้นการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มผู้มีรายได้สูงอย่างต่อเนื่อง

3.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาว หากสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงยืดเยื้อ 3 อันดับแรก คือ หาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ (ร้อยละ 54.10) เปลี่ยนไปซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (ร้อยละ 15.86) และเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้ใกล้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...