ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
คนละครึ่งเฟส 5 จ่อโดนตัดสิทธิ์ 4.2 ล้านคน
10 ก.ย. 2565

การใช้สิทธิโครงการ "คนละครึ่งเฟส 5" ล่าสุด ทำเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจแล้วกว่า 1.22 หมื่นล้านบาท ย้ำ ผู้ได้รับสิทธิ 4.2 ล้านคนต้องเริ่มใช้สิทธิครั้งแรกภายใน 14 ก.ย.2565 นี้ มิเช่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ์

การใช้สิทธิโครงการ "คนละครึ่งเฟส 5" ล่าสุด (10 ก.ย.2565) เฟซบุ๊ก รัชดา ธนาดิเรก - รองโฆษกรัฐบาล รายงานการยอดใช้คนละครึ่ง ทำเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจแล้วกว่า 1.22 หมื่นล้านบาท ย้ำ ผู้ได้รับสิทธิ 4.2 ล้านคนต้องเริ่มใช้สิทธิครั้งแรกภายใน 14 ก.ย.2565 นี้ มิเช่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ์

กระทรวงการคลัง รายงานยอดการใช้จ่ายโครงการ "คนละครึ่งเฟส 5" ณ วันที่ 8 กันยายน 2565 เวลา 23.00 น. มีผู้ใช้สิทธิทั้งหมดจำนวน 19.37 ล้านคน ยอดใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจรวม 12,228.84 ล้านบาท โดยใช้จ่ายผ่านร้านอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุดจำนวน 4,421.58 ล้านบาท รองลงมาคือ ร้านค้าทั่วไป 4,064.46 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 2,897.83 ล้านบาท ร้าน OTOP 642.57 ล้านบาท ร้านบริการ 192.63 ล้านบาท และกิจการขนส่งสาธารณะ 9.77 ล้านบาท ส่วนยอดใช้จ่ายผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่กว่า 368 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิโครงการ "คนละครึ่งเฟส 5" อีก 4.2 ล้านคนที่ยังไม่ได้เริ่มใช้สิทธิ จะต้องใช้จ่ายครั้งแรกภายในวันพุธที่ 14 กันยายน 2565 เวลา 22.59 น. หากเลยกำหนดจะถูกตัดสิทธิทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.02-111-1122 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

ข้อควรระวังถูกตัดสิทธิ

- รายเก่า 

ผู้ที่เคยร่วมโครงการฯ ต้องใช้สิทธิใช้จ่ายครั้งแรกภายในวันที่ 14 กันยายน 2565 เวลา 22.59 น. จึงจะสามารถใช้จ่ายได้ตลอดระยะเวลาโครงการ ซึ่งหากไม่ใช้สิทธิตามระยะเวลาดังกล่าว จะถูกตัดสิทธิทันที

- รายใหม่ 

ผู้ที่ไม่เคยร่วมโครงการฯ ต้องใช้สิทธิใช้จ่ายครั้งแรกภายในวันที่ 14 กันยายน 2565 เวลา 22.59 น. หรือ ต้องเริ่มใช้จ่ายครั้งแรกภายใน 14 วันหลังจากที่ได้รับ SMS ยืนยันเข้าร่วมโครงการหลังวันที่ 1 กันยายน 2565  จึงจะสามารถใช้จ่ายได้ตลอดระยะเวลาโครงการ ซึ่งหากไม่ใช้สิทธิตามระยะเวลาดังกล่าว จะถูกตัดสิทธิทันทีเช่นกัน

วิธีการเติมเงิน "คนละครึ่ง" เข้าแอปฯ เป๋าตัง เพื่อเริ่มใช้จ่ายโครงการ "คนละครึ่งเฟส 5" ซึ่งจะช่วยรักษาสิทธิ์ให้เราใช้จ่ายไปจนถึงวันสิ้นสุดโครงการ ป้องกันไม่ให้ถูกตัดสิทธิ์

วิธีการเติมเงิน "คนละครึ่ง" เข้าแอปฯ เป๋าตัง เพื่อเริ่มใช้จ่ายโครงการ "คนละครึ่งเฟส 5" สามารถทำได้หลายวิธี

1. เติมเงินผ่านระบบ โมบายแบงก์กิ้ง

  • เปิดแอปฯ "เป๋าตัง"
  • เลือกไปที่เมนู "G-Wallet"
  • เลือก "เติมเงิน"
  • เลือกธนาคารที่ต้องการเติมเงิน
  • เลือกเติมผ่าน "Mobile Banking"
  • ใส่รหัส G-Wallet 15 หลัก หรือกดคัดลอก
  • เปิดแอปฯ ธนาคารส่วน "PromptPay e-Wallet" 
  • ใส่เลขจำนวนเงินที่ต้องการเติม
  • กด "ตกลง" เพื่อเติมเงิน 

2. เติมเงินผ่าน "QR Code พร้อมเพย์"

  • เปิดแอปฯ "เป๋าตัง"
  • เลือก "G-Wallet"
  • เลือกเมนู "เติมเงิน"
  • เลือกธนาคารที่ต้องการเติมเงิน
  • เลือกเติมทาง "QR Code พร้อมเพย์"
  • กดบันทึกรูป "QR Code พร้อมเพย์"
  • เปิดแอปฯ ธนาคารที่ต้องการเติมเงิน
  • เลือก "สแกน" เพื่ออัปโหลด
  • ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
  • กด "ตกลง" เพื่อทำรายการให้สำเร็จ 

3.เติมเงินหน้า "ตู้เอทีเอ็ม" ของธนาคาร

สำหรับการเติมเงินผ่านหน้าตู้เอทีเอ็มธนาคาร สามารถทำได้ด้วยกันทั้งหมด 7 ธนาคาร โดยมี 5 ธนาคารที่ทำรายการเหมือนกัน และอีก 2 ธนาคารที่ทำรายการแตกต่างจากที่กล่าวมา ดังนี้

โดย 5 ธนาคารที่ทำรายการเหมือนกัน คือ ธนาคารธนชาติ , ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา , ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารกรุงเทพ

  • เข้าแอปฯ ของธนาคาร
  • จากนั้นเลือก "เติมเงิน หรือ ชำระเงิน"
  • เลือกเมนูในส่วน "เติมเงินพร้อมเพย์"
  • เลือกประเภทบัญชี
  • ใส่เลข "G-Wallet" 15 หลักกับจำนวนเงิน
  • กดยืนยันเพื่อทำรายการสำเร็จ

ส่วนอีก 2 ธนาคารที่ทำรายการแตกต่างกัน (แต่ไม่มาก) คือ ธนาคารทหารไทย และ ธนาคารกรุงไทย โดยมีขั้นตอน ดังนี้

ธนาคารทหารไทย

  • เลือก "โอนเงิน"
  • กด "ยืนยัน"
  • เลือกประเภทบัญชี แล้วกดโอนเงินด้วย "บริการพร้อมเพย์"
  • ทำการเลือกโอนเงินไปยัง E-Wallet
  • ใส่รหัส G-Wallet 15 หลัก และใส่จำนวนเงินที่ต้องการเติม 
  • กดทำรายการสำเร็จ

ธนาคารกรุงไทย

  • เลือก "เติมเงิน"
  • เลือก "เติมเงินพร้อมเพย์"
  • เลือกประเภทบัญชี
  • ใส่หมายเลข G-Wallet 15 หลัก พร้อมใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
  • กดยืนยัน ทำรายการสำเร็จ

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...