ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ธ.ก.ส. เติมมาตรการดูแลด้านหนี้สิน แบ่งเบาภาระเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วม
07 ต.ค. 2565
ธ.ก.ส. เร่งช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย เติมมาตรการลดภาระหนี้เดิม ทั้งมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน มาตรการจ่ายดอกตัดต้น มาตรการชำระดีมีคืน ส่วนลูกหนี้ที่มีภาระหนักดูแลผ่านมาตรการจ่ายน้อย ผ่อนคลาย ได้ลดดอกเบี้ย และมาตรการทางด่วนลดหนี้ พร้อมเติมสินเชื่อใหม่เพื่อเสริมสภาพคล่อง ทั้งสินเชื่อฉุกเฉิน สินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท
นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและพื้นที่การเกษตรและผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกร ทั้งด้านการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว ธ.ก.ส. ได้จัดมาตรการลดภาระหนี้เดิม สำหรับลูกค้าที่มีสถานะหนี้ปกติผ่านมาตรการ 1) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน ธนาคารจะพิจารณาขยายระยะเวลาการชำระหนี้พร้อมกำหนดชำระหนี้ใหม่ตามศักยภาพที่แท้จริง แต่ไม่เกิน 20 ปี 2) จ่ายดอก ตัดต้น เมื่อลูกค้าส่งชำระหนี้ ธนาคารจะแบ่งภาระการตัดชำระหนี้ตามสัดส่วนต้นเงินและดอกเบี้ยของจำนวนเงินที่ลูกค้าส่งชำระ 3) ชำระดีมีคืน กรณีลูกค้ามาชำระหนี้ถึงกำหนด จะได้รับการคืนดอกเบี้ยร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริงไม่เกิน 2,000 บาทต่อราย เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระทางการเงินแก่ลูกค้า ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธันวาคม 2565
ส่วนลูกค้าที่มีหนี้เป็นภาระหนัก ธ.ก.ส. วางแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพหนี้และฟื้นฟูศักยภาพลูกค้า เพื่อช่วยลดภาระหนี้สินและคลายความกังวลใจให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบผ่านมาตรการ 1) จ่ายน้อย ผ่อนคลาย ได้ลดดอกเบี้ย โดยลูกค้าชำระหนี้อย่างน้อยร้อยละ 1 ของต้นเงิน ธนาคารจะพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ พร้อมกำหนดชำระหนี้ตามศักยภาพ แต่ไม่เกิน 20 ปี ในอัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 6.50) และ 2) ทางด่วนลดหนี้ สำหรับลูกค้าที่เป็นหนี้ NPL ณ 31 มีนาคม 2565 เมื่อชำระหนี้เสร็จสิ้นเป็นรายสัญญา ธนาคารจะพิจารณาลดดอกเบี้ยค้างชำระตามสัดส่วน สำหรับลูกค้าที่มีหนี้ NPL ที่มีการโอนเพิ่มในปีบัญชี 2565 และมีสถานะ NPL ณ 31 สิงหาคม 2565 เมื่อชำระหนี้เสร็จสิ้นเป็นรายสัญญา ธนาคารจะพิจารณาลดดอกเบี้ยค้างชำระตามสัดส่วน ทั้งนี้ การลดดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 ธันวาคม 2565
นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังจัดทำมาตรการเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูลูกค้า เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำไปใช้สร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โรงเรือนการเกษตร เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึงการฟื้นฟูการผลิตที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ และลดปัญหาการก่อหนี้นอกระบบ วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค่าใช้จ่ายจำเป็นฉุกเฉิน เพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกร เช่น ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น อัตราดอกเบี้ย 0% 6 เดือนแรก เดือนที่ 7 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR วงเงินรายละไม่เกิน 50,000 บาท และ 2) โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นค่าซ่อมแซมบ้านเรือนและทรัพย์สิน ค่าซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรรอบใหม่ วงเงินรายละไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR-2 จึงขอให้เกษตรกรอย่ากังวลในช่วงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดย ธ.ก.ส. พร้อมเข้าไปดูแลและช่วยเหลืออย่างเต็มที่ สำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยดังกล่าว สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555 ตลอด 24 ชั่วโมง
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...