‘กสม.’ ออกแถลงการณ์เรียกร้อง ‘กสทช.’ เผยผลศึกษา ‘ที่ปรึกษาตปท.’ กรณีควบรวม TRUE-DTAC ต่อสาธารณะ พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ขณะที่ 'สอบ.' ระบุรายงานที่ปรึกษาต่างประเทศ 'ฉบับที่ 2' แนะไม่ควรอนุญาตให้ควบรวมฯ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ต.ค. สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์กรณีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่างบริษัททรูคอปอเรชั่นและดีแทค โดยระบุว่า ตามที่มีการประกาศควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) และบริษัท โทเทิ่ล แอ๊คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) ส่งผลให้เกิดกระแสคัดค้านจากนักวิชาการ สภาองค์กรของผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรของผู้บริโภค ด้วยความกังวลด้านผลกระทบต่อประสิทธิภาพการแข่งขันและการมีอำนาจเหนือตลาดในธุรกิจโทรคมนาคมอย่างมีนัยสำคัญ
อีกทั้งการควบรวมกิจการอาจส่งผลต่อทางเลือกของผู้บริโภค ที่นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัล และราคาค่าบริการที่ไม่เป็นธรรม โดยที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้มีการควบรวมกิจการหรือไม่ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2565 นั้น
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน จัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการควบรวมกิจการโทรคมนาคมของทรูและดีแทคมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเครือข่ายสลัม 4 ภาคและผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภคได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกรณีดังกล่าวต่อ กสม. เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน จัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการควบรวมกิจการโทรคมนาคมของทรูและดีแทคมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเครือข่ายสลัม 4 ภาคและผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภคได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกรณีดังกล่าวต่อ กสม. เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565
กสม. เห็นว่าบริการโทรคมนาคมเป็นบริการจำเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของประชาชนผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน การควบรวมกิจการของบริษัทโทรคมนาคมทั้งสองแห่ง ซึ่งเป็นกิจการประเภทเดียวกัน อาจเข้าข่ายเป็นการผูกขาดและมีอำนาจเหนือตลาด ทำให้ผู้บริโภคขาดทางเลือกหรือมีทางเลือกน้อยลง โดยเฉพาะผู้บริโภคกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มชายขอบ ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม (สัญญาณอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่) และมีรายได้น้อยอยู่แล้ว อาจต้องเสียค่าบริการในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชน ด้วยเหตุดังกล่าว กสม. จึงมีข้อเสนอแนะต่อการพิจารณาควบรวมกิจการบริษัทโทรคมนาคมทั้งสองแห่ง ดังนี้
1.ขอให้ยึดประโยชน์สูงสุดของประชาชน และประโยชน์สาธารณะ ตามมาตรา 60 วรรคสอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560
2.ขอให้เปิดเผยผลการศึกษาของที่ปรึกษาอิสระจากต่างประเทศ ที่สำนักงาน กสทช. จัดจ้างให้มีการศึกษาผลกระทบกรณีการควบรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทคต่อสาธารณะ และนำผลการศึกษามาประกอบการพิจารณาด้วย
3.ขอให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการควบรวมกิจการดังกล่าวอย่างกว้างขวาง รวมทั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจด้านกิจการโทรคมนาคม เป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาล สามารถแข่งขันกันได้อย่างเสรี ไม่ผูกขาดอำนาจเหนือตลาด เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภค อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนต่อไป
วันเดียวกัน (19 ต.ค.) สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ http://www.tcc.or.th ในหัวข้อ รายงานฉบับที่สองระบุ กสทช. “ไม่ควรอนุญาตควบรวม” เพราะไม่เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม' โดยมีเนื้อหาว่า รายงานที่บริษัทปรึกษาต่างประเทศ บริษัท SCF Associates Ltd. ฉบับที่สอง ชี้ว่า การควบรวมระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ลแอ๊คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่มุ่งประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย และ กสทช. ไม่ควรอนุญาตให้เกิดการควบรวม
ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจด้านกิจการโทรคมนาคม เป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาล สามารถแข่งขันกันได้อย่างเสรี ไม่ผูกขาดอำนาจเหนือตลาด เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภค อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนต่อไป
วันเดียวกัน (19 ต.ค.) สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ www.tcc.or.th ในหัวข้อ รายงานฉบับที่สองระบุ กสทช. “ไม่ควรอนุญาตควบรวม” เพราะไม่เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม' โดยมีเนื้อหาว่า รายงานที่บริษัทปรึกษาต่างประเทศ บริษัท SCF Associates Ltd. ฉบับที่สอง ชี้ว่า การควบรวมระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ลแอ๊คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่มุ่งประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย และ กสทช. ไม่ควรอนุญาตให้เกิดการควบรวม
จากผลการทำวิจัยของนักวิชาการอิสระชาวต่างประเทศ ระบุว่า หาก กสทช. ไม่มีอำนาจยับยั้งการควบรวม ทางเลือกที่ต้องดำเนินการคือการกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ซึ่งจากการศึกษาไม่สามารถยืนยันว่าเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพจริง
และทางเลือกสุดท้าย คือการป้องกันมิให้มีการขึ้นราคาและส่งผลเสียต่อผู้บริโภค โดยการกำกับดูแลโดยตรงอย่างเข้มงวด ภายใต้หัวข้อ Study on the Impact of the Merger between True Corporation Public Company Limited and Total Access Communication Public Company Limited (การวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการควบรวมทรู–ดีแทค) รายงานฉบับที่สองนี้ได้วิเคราะห์ผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดมือถือจากการควบรวมในต่างประเทศ ซึ่งโดยสรุปพบว่า ในการควบรวมจาก 4 เหลือ 3 ราย มีหลักฐานยืนยันว่า เกิดการกระจุกตัวของตลาดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการขึ้นราคาค่าบริการอย่างชัดเจน ส่วนในด้านการลงทุนและคุณภาพบริการมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะชี้ชัดว่า การควบรวมส่งผลเชิงบวกหรือเชิงลบและทางเลือกสุดท้าย คือการป้องกันมิให้มีการขึ้นราคาและส่งผลเสียต่อผู้บริโภค โดยการกำกับดูแลโดยตรงอย่างเข้มงวด ภายใต้หัวข้อ Study on the Impact of the Merger between True Corporation Public Company Limited and Total Access Communication Public Company Limited (การวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการควบรวมทรู–ดีแทค) รายงานฉบับที่สองนี้ได้วิเคราะห์ผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดมือถือจากการควบรวมในต่างประเทศ ซึ่งโดยสรุปพบว่า ในการควบรวมจาก 4 เหลือ 3 ราย มีหลักฐานยืนยันว่า เกิดการกระจุกตัวของตลาดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการขึ้นราคาค่าบริการอย่างชัดเจน ส่วนในด้านการลงทุนและคุณภาพบริการมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะชี้ชัดว่า การควบรวมส่งผลเชิงบวกหรือเชิงลบ
สำหรับประเทศที่มีผู้ให้บริการเพียง 1 – 2 ราย ในหลายประเทศพบว่า จะส่งผลเสียร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการลงทุนโครงข่าย และการใช้งานที่ลดลง เนื่องจากค่าบริการแพงขึ้น ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลช้าลง โอกาสที่จะเห็นผู้ประกอบการรายที่ 3 เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดที่ยากลำบาก
มีทางเลือกแทนการควบรวม คือ การที่ผู้ให้บริการใช้โครงข่ายร่วมกันเพื่อลดต้นทุนโดยไม่ต้องมีการควบรวม จึงยังคงต้องแข่งขันให้บริการต่อผู้บริโภคเช่นเดิม เงื่อนไขสำคัญที่ผู้ควบรวมอาจช่วยคงระดับการแข่งขันคือ ผู้ควบรวมต้องช่วยเหลือให้เกิดผู้ให้บริการรายใหม่ โดยการโอนหรือขายคลื่นความถี่ การอนุญาตให้ร่วมใช้โครงข่ายหรือเสาสถานี เปิดให้รายใหม่โรมมิ่งโครงข่าย ซึ่งวิธีการทั้งหลายเหล่านี้ก็อาจไม่เพียงพอในการลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด และเป็นเงื่อนไขที่อาจบังคับให้เกิดขึ้นจริงไม่ได้ ในส่วนทางเลือกที่จะให้ขายความจุโครงข่ายแก่ผู้ให้บริการ MVNO พบว่าได้ผลในบางประเทศ แต่สภาพตลาดและการกำกับดูแลในประเทศไทยอาจไม่เหมาะกับทางเลือกนี้
ในส่วนข้อควรคำนึงในการพิจารณาดัชนีค่า HHI (Hirschman-Herfindalhl Index) หรือดัชนีวัดความกระจุกตัวของตลาดนั้น รายงานชี้ว่า ในสหรัฐอเมริกา หากค่า HHI ก่อนการรวบรวมสูงกว่า 2,500 และเพิ่มขึ้น 200 หลังจากการควบรวม จะถือว่า ผู้ควบรวมมีอำนาจในตลาดเพิ่มขึ้นและอาจเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดได้ สำหรับค่า HHI ของประเทศไทยอยู่ที่ 3,420 และจะเพิ่มเป็น 4,702 หลังการควบรวม ซึ่งหากใช้เกณฑ์พิจารณาของสหรัฐอเมริกา ถือว่าเข้าใกล้สภาพตลาดที่ผูกขาดโดยผู้ให้บริการเพียง 2 ราย
จากบทสรุปจากการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจมหภาคจะเห็นว่า ในแง่ของการลงทุน หากการควบรวมยังคงรักษาระดับการแข่งขันของผู้เล่น 2 ราย ตามทฤษฎี Bertrand Duopoly การควบรวมอาจไม่เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจไทย
แต่หัวใจสำคัญคือการคงระดับการแข่งขันที่ต่อเนื่องในระยะยาว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากและมีความไม่แน่นอนสูง การควบรวมที่นำไปสู่การกระจุกตัวของตลาดและเกิดผู้มีอำนาจเหนือตลาด จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจไทย ในด้านผลกระทบเชิงลบต่อ GDP (ผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ) กระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของสังคม จากการลดการลงทุนเนื่องจากไม่ต้องแข่งขันกันตามเดิม
โดยสรุป ถ้าอนุญาตให้เกิดการควบรวมที่นำไปสู่ผู้มีอำนาจเหนือตลาด การกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะเพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนและการพัฒนาเทคโนโลยีต้องเข้มแข็ง เพื่อรักษาระดับการลงทุนและการขยายโครงข่ายให้อยู่ในระดับเดียวกับสภาพก่อนการควบรวม
ท้ายที่สุดแล้ว รายงานชิ้นนี้เผยข้อสรุปผลกระทบจากการรวบรวม ดังนี้
จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ พบว่า ผลกระทบเชิงลบต่อผู้ใช้บริการมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับยิ่งไปกว่านั้น เงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้จริงในสถานการณ์ของประเทศไทย
หากคำนึงถึงการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโทรศัพท์มือถือในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องไม่อนุญาตให้มีการควบรวม เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ซึ่งพื้นฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลของคนไทยเกิดขึ้นผ่านการใช้งานโทรศัพท์มือถือ
การรักษาสมดุลของตลาดโทรศัพท์มือถือในสหภาพยุโรป พิจารณาจากค่า HHI โดยหลีกเลี่ยงมิให้ค่านี้สูงกว่า 2,500–3,000 และในส่วนของข้อสรุปคำแนะนำจากการศึกษา ได้เสนอว่า ไม่ควรอนุญาตให้เกิดการควบรวม เพราะการควบรวมไม่ได้มุ่งประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม หาก กสทช. ไม่มีอำนาจยับยั้งการควบรวม ทางเลือกที่ต้องดำเนินการคือ การกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ซึ่งจากการศึกษาไม่สามารถยืนยันว่าเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพจริง
ทางเลือกสุดท้ายคือการป้องกันมิให้มีการขึ้นราคาและส่งผลเสียต่อผู้บริโภค ด้วยการกำกับดูแลโดยตรงอย่างเข้มงวด
"เมื่อ กสทช. รับทราบรายงานทั้งสองฉบับแล้ว สภาองค์กรของผู้บริโภค และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ขอเรียกร้องให้ สำนักงาน กสทช. ต้องเปิดเผยรายงานฉบับเต็มเพื่อให้สาธารณชนรับทราบโดยทันที ตามหน้าที่ที่ถูกบัญญัติไว้ใน มาตรา 59 (5) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มิเช่นนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดกฏหมาย และเท่ากับเป็นการจงใจปิดบัง ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงที่จะเกิดต่อประเทศชาติ" สภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุ