ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
เกษตร จ.ชลบุรี จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ
29 พ.ย. 2565

     นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานพิธีเปิดการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ ณ ห้องประชุม สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยมีนายบุญลือ คงสูงเนิน เกษตรจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ


           นายบุญลือ คงสูงเนิน เกษตรจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร มีระบบส่งเสริมการเกษตรเป็นหลักในการดำเนินงาน คือ ระบบการฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน ซึ่งมีการพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับต่างๆ ผ่านเวทีตามระบบส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้มีการบูรณาการการทำงานเพื่อการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมการเกษตรร่วมกันกับหน่วยงานภายในและภายนอกกรมส่งเสริมการเกษตร ในการแลกเปลี่ยนความต้องการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ขณะเดียวกันก็เป็นการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เป็นผลจากงานวิจัยและพัฒนาสู่การขยายผลให้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรต่อไป


           สำหรับการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงการดำเนินการโครงการส่งเสริมการเกษตร ปี2566 นำโดยหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอและเจ้าหน้าที่ธุรการของสำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ การขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ ที่มีการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเกษตรที่สำคัญ การกำหนดแผนการปฏิบัติงาน การติดตาม นิเทศงาน พร้อมทั้งการสนับสนุนกระบุวนการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
           นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรทั้งในด้านอัตรากำลังงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ส่งผลให้วิธีการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี ไปสู่เกษตรกรโดยตรงลดน้อยลง ดังนั้น เพื่อให้การทำงานส่งเสริมการเกษตรบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาเกษตรกร จำเป็นต้องปรับระบบการทำงานให้เกิดความชัดเจน สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้
กรมส่งเสริมการเกษตรได้พัฒนาและปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตร โดยนำแนวทาง T&V System ร่วมกับการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ที่ผ่านมานำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ประกอบด้วย การถ่ายทอดความรู้ การเยี่ยมเยียน การสนับสนุน การนิเทศงาน และการจัดการข้อมูลทางการเกษตร
          อย่างไรก็ตาม ระบบการส่งเสริมการเกษตรมีประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบให้เต็มกำลังความรู้ ความสามารถ คำนึงถึงเป้าหมายหลักในการพัฒนา คือ การทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืนในที่สุด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...