ชาวบ้านรวมกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน เลี้ยงไส้เดือน ทำปุ๋ยมูลไส้เดือน และน้ำหมักจากมูลไส้เดือน ไว้ใช้เอง และ ขายสร้างรายได้เข้าชุมชน
นายไพศาล ศรีทอง อายุ 50 ปี พร้อมกับพี่สาว นางจิรพร ศรีทอง อายุ 59 ปี อยู่บ้านเลขที่ 4 ม. 14 บ้านท่าข่อย ต.เมืองเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี รวมกลุ่มเปิดฟาร์มเลี้ยงไส้เดือน โดยเริ่มต้นจากเครือญาติและชาวบ้านในชุมชน พี่สนใจเข้าร่วม ทำเป็นวิสาหกิจชุมชน ทำปุ๋ยใช้เองใส่นาข้าว และ พืชผลทางเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชน เพื่อทดแทน และ ลดค่าใช้จ่าย จากปุ๋ยที่แพงอยู่ในขณะนี้ โดยแยกส่วนหนึ่งให้สมาชิกในกลุ่มนำไปเลี้ยงที่บ้านพอได้ผลผลิตจากไส้เดือน ก็จะนำมาที่ ฟาร์มธรรมอินทรีย์ แห่งนี้ นายไพศาล หัวหน้ากลุ่ม จะเป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจแล้วนำรายได้ส่วนหนึ่งมาแบ่งให้กับสมาชิก ผู้เที่สนใจปุ๋ยหมักอินทรีย์ จากมูลไส้เดือน วิสาหกิจชุมชน บ้านท่าข่อย สามารถสั่งซื้อด้วยการติดต่อที่ 064 – 2244156
ขณะเดียวกัน นายไพศาล หัวหน้ากลุ่มกล่าวว่า หลังจากที่ตนเจอปัญหาจากปุ๋ยแพง จึงคุยกับเพื่อนๆที่ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ จากมูลไส้เดือนเกิดความสนใจ จึงลองมาทำใช้เองที่บ้าน โดยซื้อพ่อพันธุ์มาเลี้ยงในกะมังพลาสติก ใส่กาดใยมะพร้าวแนหลัก โดยเจาะรูใต้กะมังเพื่อรองน้ำปัสสาวะใส้เดือนเพื่อแยกออกมาใช้หรือขายในส่วนของน้ำปัสาวะ ส่วนมูลก็จะแยกออกไปอีกส่วน นำไปขายคนละราครา ส่วนค่านิยมเกษตรกรจะนิยมน้ำปัสสาวะมากว่า ซึ่งขณะนี้เมีเกษตรกรนิยมใช้มูลและปัสสาวะไส้เดือนใช้กับพืชผักตลอดจนนาข้าวได้ผลดี นอกจากทางกลุ่มจะขายแล้ว ก็ยังแบ่งส่วนหนึ่งให้สมาชิกไปใช้ในแปลงพืชผลทางการเกษตรของตัวเอง ผลิตภัณฑ์ที่นำไปขายสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิก นยไพศาล บอกว่า ขณะนี้นอกจากญาติพี่น้องแล้วยังมีเพื่อนบ้านที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน มาร่วมกลุ่มทำกันแบบจริงจัง เพราะขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือน และทำมูลไส้เดือนไม่ยุ่งยาก ทำแบบครอบครัวเป็นอาชีพเสริม โดยตนจะมีพี่สาวคอยช่วย และญาติๆมาช่วยกันทำ และแบ่งรายได้ เดือนนึง ก็อยู่ที่ 3.000 ถึง 5.000 บาทต่อเดือน เป็นอาชีพเสริม และได้ทำปุ๋ยใช้เองลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 10 คน ได้เริ่มทำมาแล้ว 3 ปี โดยตนจะคอยดูว่า ใครได้ผลผลิตจากไส้เดือนก็จะนำมารวมกันไว้ที่นี่ ที่เหลือก็จะแพ็คใส่ถุงขายถุงละ 10 บาท ส่วนน้ำหมักชนาด 4 กก.ขาย 100 บาท จำหน่าย ให้กับเกษตรกรที่สนใจ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มและลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยลงได้มีเงินนเหลือเก็บจากการใช้จ่ายอย่าง่าพอใจ
ธนปกรณ์ วิศวามิตร / ปราจีนบุรี