ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ประมูลดาวเทียมจบแล้ว/ขายออกแค่3ชุดเงินเข้ารัฐ806ล.
15 ม.ค. 2566

ประมูลดาวเทียมจบแล้ว สุดเหงา!!! เอกชน เคาะครั้งเดียวตามกติกาเพื่อรับราคา เข็นประมูล 5 ชุด ขายออก 3 ชุด ที่เหลือไม่มีใครเอา จบที่ทำเงินเข้ารัฐ 806 ล้านบาท รวมใช้เวลาตัดสินใจในห้องประมูลเพียงครึ่งชม.

 

วันนี้ 15 ม.ค. 2566 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เดินหน้าประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (package) เวลา 10.00 น.

โดยมีผู้เข้าร่วมการคัดเลือก จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พร้อม เทคนิคคอล เซอร์วิสเซส จำกัด

โดย นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกสทช.กล่าวเปิดงานการประมูล พร้อมด้วยคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช. อีก 4 คน ได้แก่ นายศุภัช ศุภชลาศัย พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร พล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ และ นางสาวพิรงรอง รามสูต ส่วนนายต่อพงศ์ เสลานนท์ ไม่ได้เข้าร่วมโดยแจ้งว่าป่วย

สำหรับการประมูลครั้งนี้ ใช้วิธี Sequential Ascending Clock Auction กล่าวคือ ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องตัดสินใจตามระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละรอบ (20 นาที) ด้วยการเคาะซึ่งจะทำให้ราคาสูงขึ้นครั้งละ 5% ของราคาขั้นต่ำ ผู้ชนะ คือ ผู้ให้ราคาสุดท้ายสูงสุด

อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมประมูลจะไม่ทราบว่าผู้ร่วมแข่งขันรายใดต้องการสิทธิวงโคจรชุดใดและมีความต้องการกี่ชุด รวมทั้งลำดับชุดในการการประมูลนั้นกสทช.จะกำหนดลำดับด้วยการจับสลาก

โดยผลปรากฎว่า ประมูลชุดที่ 4 , 3 , 5 , 2 และ 1 เป็นชุดสุดท้าย เพื่อป้องกันการสมยอมกันระหว่างผู้เข้าร่วมประมูล ซึ่งการประมูลในลักษณะนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรมมากที่สุด รวมทั้งรายได้ที่เกิดขึ้นหลังหักค่าใช้จ่ายในการประมูล กสทช.จะนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด

สำหรับกรณีข้อเรียกร้องให้ยกเลิกการประมูลครั้งนี้ และให้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 60 บัญญัติให้ รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน” นั้น

กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด จึงมีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาต ให้สอดคล้องตามแผนการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม

รวมทั้งตามนโยบายในการส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรมในการประกอบกิจการดาวเทียม ซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมที่นำมาประมูลในครั้งนี้ เป็นการนำสิทธิที่ประเทศไทยมีอยู่เดิม และมีลักษณะการให้บริการในเชิงพาณิชย์ จึงได้ใช้วิธีการประมูลในการคัดเลือกผู้ขอรับการอนุญาต ซึ่งเป็นวิธีที่มีความโปร่งใส เป็นธรรม และเป็นกลไกในการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด ดังนั้น หากยกเลิกการประมูลและให้ เอ็นที เป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว ย่อมส่งผลกระทบ ขาดความต่อเนื่อง และอาจถูกเพิกถอนสิทธิจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ได้

เริ่มประมูลเคาะแรกเมื่อเวลา 10.00 น.

ผู้สื่อข่าวรายงาน ผู้ร่วมประมูลทั้ง 3 บริษัททยอยเดินทางมาตั้งแต่เวลา 7.00 น. โดยการประมูลเริ่มชุดที่ 4 ประกอบด้วย 126E ราคาเริ่มต้น 8 ล้านบาท เหมาะสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และทะเลจีน สามารถใช้งานได้ทั้งเป็นดาวเทียม Broadcast และ Broadband ราคาเริ่มต้น 8.6 ล้านบาท ใช้โดยผลประมูลจบลงใน 2 นาที ด้วยการเคาะราคาจากเอกชนเพียง 1 ครั้ง โดยราคาของชุดที่ 4 จบที่ ราคา 9.076 ล้านบาท

ต่อมาคือชุดที่ 3 ประกอบด้วย วงโคจร 119.5E (ข่ายงาน IP1, P3 และ LSX3R) และวงโคจร 120E (ข่ายงาน 120E) ใช้สำหรับการให้บริการ Broadband เป็นวงโคจรเดิมของไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) เหมาะกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียเหนือ ออสเตรเลีย และอินโดจีน ราคาเริ่มต้น 397 ล้านบาท เริ่มประมูลเวลา 10.15 น. และจบลงเวลา 10.21 น. ด้วยการเคาะเพียง 1 ครั้งเช่นกันที่ราคา 417 ล้านบาท

ต่อมาฝ่ายไอทีของเจ้าหน้าที่ผู้จัดประมูลแจ้งว่าระบบมีปัญหา error ทำให้เด้งผู้ประมูลทุกรายออกจากระบบจึงขอเวลาแก้ไข 10 นาทีทำให้เริ่มประมูลชุดที่ 5 ในเวลา 10.40 น. โดยชุดที่ 5 วงโคจร 142E (ข่ายงาน G3K และ N5) โคจรอยู่แถบแปซิฟิก

ดังนั้น บริการที่สามารถให้บริการได้จะเป็นบริการดาวเทียมสำหรับเดินเรือราคาเริ่มต้น 189 ล้านบาท เหมาะสำหรับสำหรับให้บริการ Broadcast ซึ่งจบในเวลา 10.46 นาที ผลปรากฎว่าไม่มีเอกชนรายใดยื่นเคาะราคาเลยทำให้ชุดดังกล่าวขายไม่ออก โดยระบบขึ้นว่า unsold

จากนั้นเริ่ม 11.00 น. ในการเคาะราคาชุดที่ 2 ประกอบด้วย วงโคจร 78.5E (ข่ายงาน A2B และ LSX2R) มีความน่าสนใจตรงที่เป็นวงโคจรที่ให้บริการอยู่ในพม่า อินเดียประเทศไทย ปัจจุบันมีดาวเทียมให้บริการอยู่แล้ว 2 ดวงในตำแหน่งดังกล่าวคือ ไทยคม 6 และ ไทยคม 8 เป็นวงโคจรสำหรับให้บริการ Broadcast ราคาเริ่มต้น 360 ล้านบาท และจบในเวลา 11.05 นาที ในรอบแรก แต่ในชุดดังกล่าวมีการแข่งขันเคาะราคาอยู่ 2 ราย ทำให้เริ่มเคาะรอบที่ 2 ในเวลา 11.10 น. และจบในราคา 11.16 น.ที่ 380 ล้านบาท เนื่องจากมีเอกชน 1 รายหมอบไป

และ ชุดที่ 1 ซึ่งเป็นชุดที่จับสลากการประมูลได้เป็นชุดสุดท้าย ประกอบด้วย วงโคจร 50.5E (ข่ายงาน C1, N1 และ P1R) และวงโคจร 51E (ข่ายงาน 51)  ทำตลาดในประเทศแถบอาหรับ และตะวันออกกลาง เป็นวงโคจรสำหรับ Broadcast ราคาเริ่มต้น 374 ล้านบาท โดยเริ่มประมูลในเวลา 11.30 น. จบในเวลา ราคา 11.36 น. ผลปรากฎ ว่าไม่มีผู้เสนอราคา unsold

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...