ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
รฟท.แจงหัวรถจักรอุลตร้าแมนถึงไทยครบ50คันแล้ว
29 ม.ค. 2566

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า รฟท.เตรียมรับรถจักรดีเซลไฟฟ้า QSY (อุลตร้าแมน) ใหม่เอี่ยม อีก 15 คัน ซึ่งจะครบตามสัญญา 50 คัน รองรับการให้บริการบนสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เนื่องด้วยการรถไฟได้มีการจัดซื้อจัดจ้างรถจักร ขนาดน้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา (U16) จำนวน 50 คัน เพื่อมาให้บริการในขบวนรถไฟโดยสารและรถไฟขนสินค้า มาทดแทนรถจักรเก่าซึ่งมีอายุมากกว่า 40 ปี โดยรถจักรชุดใหม่นี้ ชื่อเป็นทางการ คือ QSY แต่หลายๆ คนรู้จักในชื่ออุลตร้าแมน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการตรวจรับ และนำไปทดสอบ เพื่อให้บริการแล้ว 35 ขบวน

ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 ได้มีการนำส่ง รถจักร QSY อีกจำนวน 15 คัน ครบตามจำนวนทั้งหมด 50 คัน ซึ่งรถจักร QSY รองรับการให้บริการบนสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ พร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ETCS Level 1 onboard โดยในลำดับถัดไปจะมีการทดสอบในด้านต่างๆ เพื่อทำการตรวจรับมอบรถจักรเพื่อใช้งานในลำดับถัดไป

ทั้งนี้ สำหรับ Spec รถจักร QSY คือ รถจักรดีเซลไฟฟ้า (มีเครื่องยนต์ ปั่นไฟ ขับมอเตอร์) ระบบส่งกำลัง AC-DC-AC รูปแบบแคร่รถจักร Co-Co (เป็นรูปแบบ 6 เพลา ชุดละ 3 เพลา) ตำแหน่งพนักงานขับรถ (พขร.) อยู่ทางด้านขวาของตัวรถ สามารถขับในสภาวะสูงสุดของเส้นทางรถไฟได้ เช่น ความชันสูงสุด 25/mill , ความสูงสุด 650 จากระดับน้ำทะเล และสามารถวิ่งบนเส้นทางมาตรฐานของการรถไฟได้ โดยความเร็วสูงสุดของรถไฟ ไม่น้อยกว่า 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง

โดยแบ่งมาตรการการทดสอบเป็น 3 รูปแบบ คือ รถไฟโดยสาร ความเร็วไม่น้อยกว่า 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่น้ำหนักโหลด 550 ตัน และ ความเร็วไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่น้ำหนักโหลด 1,000 ตัน ส่วนรถไฟสินค้า คือ ความเร็วไม่น้อยกว่า 70 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่น้ำหนักโหลด 2,100 ตัน โดยทั้งหมดต้อง สามารถวิ่งบนทางเขาได้ความชันสูงสุด 25/mill, รัศมีโค้ง 180 เมตร และความสูงสูงสุด 650 จากระดับน้ำทะเล ที่น้ำหนักโหลด 650 ตัน หัวรถจักร มีกล้องบันทึกภาพ ด้านหน้า,ด้านหลัง และ มุมขอพ่วง พร้อมกับบันทึกภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัย ขณะที่ถังน้ำมัน รองรับได้อย่างน้อย 4,500 ลิตร ขอพ่วงรถจักรเป็นรูปแบบ มาตรฐาน AAR เป็นขอพ่วงอัตโนมัติ

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...