ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
กรมทางหลวง คุมเข้มรถบรรทุกน้ำหนักเกิน
12 ก.พ. 2566

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ ได้รวบรวมสถิติปี 2565 ถนนประเทศไทย มีระยะทาง 702,965.069 กิโลเมตร โดยข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคมปี 2565 พบว่าถนนร้อยละ 85.56 ส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกำกับดูแลโดยกระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครรวมเป็นระยะทาง 601,427.24 กิโลเมตร กรมทางหลวงชนบท (ทช.) 49,123.785 กิโลเมตร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 224.600 กิโลเมตร โดยระยะทางในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง (ทล.) ระยะทางรวม 52,204.42 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 7.43 ของพื้นที่ทั้งหมด ทั้งนี้ จำนวนรถบรรทุกสะสม ในประเทศไทย มีทั้งสิ้น 1,217,719 คัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ) รถบรรทุกที่วิ่งเข้าชั่งสถานีตรวจสอบน้ำหนักปีงบประมาณ 2565 มีทั้งหมด 30,418,851 คัน คิดเฉลี่ยต่อวัน ประมาณ 83,339 คัน/วัน ปัจจุบัน สำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะมีสถานีตรวจสอบน้ำหนักบนทางหลวงสายหลักทั่วประเทศที่เปิดใช้งาน 97 สถานี และชุดเฉพาะกิจส่วนกลางจำนวน 12 ชุด ชุดเฉพาะกิจส่วนภูมิภาคประจำแต่ละสถานี 97 ชุด โดยทางสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะได้มีการตรวจสอบบรรทุกที่เข้าชั่งน้ำหนักที่สถานีทุกคันและมีการใช้งานเทคโนโลยีระบบการตรวจสอบน้ำหนักเข้ามาช่วย ในการคัดกรองรถบรรทุกที่คาดว่ามีน้ำหนักเกินให้เข้าชั่งที่สถานีตรวจสอบน้ำหนักและมีการออกสุ่มตรวจสอบ โดยหน่วยชั่งน้ำหนักโดยหน่วยชั่งหนักน้ำหนักเคลื่อนที่ (Spot Check) ไปตามเส้นทางหลวง ในแต่ละจังหวัดที่ได้รับผิดชอบของแต่ละสถานีและจังหวัดใกล้เคียงหรือที่ได้รับเรื่องร้องเรียน ทั้งนี้ สำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะได้บริหารทรัพยากรบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ทั้งที่สถานีฯ และหน่วยชั่งน้ำหนักเคลื่อนที่ (Spot Check) ในการตรวจสอบ ป้องกัน ปราบปราม จับกุม ประชาสัมพันธ์ ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ถูกต้อง สุจริต เป็นธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนที่เกิดขึ้น และเป็นการป้องกันมิให้บรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยยึดหลักมาตรการ 5 ป. ของ ทล. ในการปฏิบัติงาน คือ

ป. ที่ 1 ป.ป้องปราม จัดตั้งสถานีตรวจสอบน้ำหนักบนทางหลวงสายหลักให้ครอบคลุม โครงข่าย
ทั่วประเทศ โดยดำเนินการตรวจสอบและจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกินตลอด 24 ชั่วโมง โดยปัจจุบันมีสถานีตรวจสอบน้ำหนักทั้งหมด 97 แห่ง

ป. ที่ 2 ป.ปราบปราม จัดตั้งหน่วยเครื่องชั่งน้ำหนักเคลื่อนที่ (spot check) ออกดำเนินการสุ่มตรวจและควบคุมรถบรรทุกน้ำหนัก ไม่ให้เกินกว่ากฎหมายกำหนด บนทางหลวงสายหลัก หรือ บนทางหลวงสายรอง หรือ หรือ บนทางหลวงที่ไม่มีสถานีฯ หรือ บนหลวงทางที่เป็นเส้นทางหลบเลี่ยงสถานีฯ โดยมี
  - ชุดเฉพาะกิจส่วนกลาง 12 ชุด
- ชุดเฉพาะกิจของส่วนภูมิภาค 97 ชุด (ทุกสถานีฯ)

ป. ที่ 3 ป.ป้องกัน มาตรการป้องกันการทุจริตของเจ้าหน้าที่ โดยมี
- ศูนย์ควบคุมกลางคอยติดตามควบคุมการปฏิบัติงานของสถานีตรวจสอบน้ำหนักตลอด 24 ชั่วโมง
- ติดตั้งระบบป้องกันรถไม่เข้าชั่งที่สถานี
- สับเปลี่ยนหมุนเวียนหัวหน้าสถานีฯ/หัวหน้าชุด ไม่เกิน 1 ปี

ป. ที่ 4 ป.ปลอดภัย อำนวยความปลอดภัยให้กับรถบรรทุก และประชาชนผู้ใช้ทาง ดังนี้
- จุดจอดพักรถบรรทุก (Truck Rest Area) ปัจจุบันเปิดใช้งาน 21 แห่ง
- จุดบริการทั่วไทยช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่/สงกรานต์
- การขออนุญาตเดินรถพิเศษเพื่อควบคุมการเดินรถที่มีขนาดใหญ่พิเศษ

ป. ที่ 5 ป.ประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับผู้ขับขี่รถบรรทุก ประชาชนผู้ใช้ถนนให้ทราบถึงข้อกฎหมาย มาตรการ นโยบาย ความสำคัญของการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกให้เป็นไปตามกฎหมายผลเสียจากการบรรทุกน้ำหนักเกิน โดย
- สายด่วน ทล. โทร. 1586 กด 5 สอบถามข้อมูลแจ้งเหตุ ฯ
- ทาง Facebook, LINE, Twitter เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข่าวสาร
ที่รวดเร็ว ครบถ้วน

สำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ ทล. ได้ดำเนินการตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ตามที่ ป.ป.ช.เสนอ โดยมอบให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานอื่น จัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานร่วมกัน เช่น ทช. กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ขบ. กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจทางหลวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ผสานความร่วมมือการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกินที่หลบเลี่ยงการเข้าชั่งน้ำหนักบนทางหลวง โดยใช้การสัญจรของหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบ ให้สามารถครอบคลุมเป็นโครงข่าย เพื่อลดอุบัติเหตุ ลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากรถบรรทุกน้ำหนักเกิน และประชาชนผู้ใช้ทางมีความปลอดภัยในการใช้ถนน

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือให้ผู้ใช้ทางช่วยสอดส่องดูแลรถบรรทุกน้ำหนักเกินวิ่งบนทางหลวง หากผู้ประกอบการขนส่งต้องการสอบถามข้อมูลน้ำหนักรถบรรทุกเพิ่มเติม หรือประชาชนประสงค์จะแจ้งเบาะแสรถน้ำหนักบรรทุกเกินในเส้นทางต่าง ๆ บนทางหลวง สามารถติดต่อได้ที่สายด่วน ทล. โทร. 1586 กด 5 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) หรือผ่านช่องทาง Facebook , LINE, Twitter ของสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ กรมทางหลวง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...