เอไอเอส ลุยสร้าง 5G Use case ในภาคสาธารณสุข หลังผ่านวิกฤติโควิด-19 เตรียมนำนวัตกรรม IoT, AI, Robotic เข้ามาประยุกต์ใช้ในเขตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพื้นที่โดยรอบ เพื่อให้เป็นเสมือนศูนย์กลางเทคโนโลยี Digital ที่ทันสมัย และสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดในประเทศ
นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวในงานสัมมนา Digital Health TECH ระบบนิเวศใหม่การแพทย์ไทย จัดโดย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าในภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด -19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีผลวิจัยของ McKinsey ระบุว่า 60% ของผู้ป่วยเชื่อว่าเวอร์ช่วล แคร์ มีผลสัมฤิทธิ์ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้ารับรักษาได้ดีกว่าการเดินทางมายังโรงพยาบาลในการใช้เทเลเมดิซีนได้มากขึ้น เป็นคำตอบแรกๆว่า คนเริ่มยอมรับในการใช้งานบริการสาธารณสุขผ่านเทคโนโลยีมากขึ้น
ดังนั้น สิ่งนี้คือสัญญาณที่ระบุว่า อีโคซิสเต็มส์ของระบบสาธารณสุขในประเทศไทยกำลังเปลี่ยนโฉมไป การบริการทางการผ่านแพทย์ผ่านเอไอ ไอโอที และเทเลเมดิซีน ในชั้นปฐมภูมิ ทุติยภูมิก็กำลังเปลี่ยนแปลง เพราะบุคลากรทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะบุคลากรด้านหน้าอย่าง กลุ่มอาสาสมัครอสม. การดึงเอาเอไอ 5G IoT และคลาวด์เข้ามามาช่วย
นอกจากนี้ ได้พัฒนา Use case ต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรม รวมถึงให้การสนับสนุนระบบสื่อสาร สำหรับ Use case ในภาคสาธารณสุข ที่ได้มีโอกาสนำไปใช้งานจริงแล้วและประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาโดยความร่วมมือที่ผ่านมา ประกอบด้วย ร่วมนำเสนอเทคโนโลยี 5G และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ใน “ศูนย์ 5G AI/IoT Innovation Center” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมนำนวัตกรรม IoT, AI, Robotic และ 5G เข้ามาประยุกต์ใช้
นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนระบบสื่อสารและUse case ของคณาจารย์ นักวิจัย ในวงการสาธารณสุข อาทิ การทดสอบหุ่นยนต์ต้นแบบในการรักษาทางการแพทย์เพื่อผ่าตัดเจาะกระดูก หรือ Teleoperation drilling robot ที่ใช้การควบคุมระยะไกล (remote) ซึ่งในระหว่างกระบวนการเจาะกระดูกคนไข้เพื่อรักษานั้น แพทย์จะสามารถรับรู้ได้ถึงทุกสัมผัสในทุกขั้นตอนการเจาะผ่าน remote ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เครือข่ายที่ตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วมากๆ หรือ Latency ต่ำอย่าง 5G รวมถึงเทคโนโลยี Robotic ที่ได้เข้าไปสนับสนุนระบบสื่อสาร (ซิมการ์ด) ให้กับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และศูนย์ Regional Center of Robotics Technology จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนาหุ่นยนต์คุณหมอ และหุ่นยนต์นินจา, ทีม CU-RoboCovid คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนาหุ่นยนต์ปิ่นโตและหุ่นยนต์กระจก เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงระหว่างวิกฤติโควิดที่ผ่านมา
เขา กล่าวว่า ล่าสุด เอไอเอสได้ทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลวิมุต เพื่อยกระดับการโรงพยาบาลให้ก้าวสู่การเป็น Smart Hospital แบบเต็มรูปแบบนี้ คือการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีโครงข่าย เพื่อใช้ในการออกแบบบริการและโซลูชันการทำงานภายในตามโจทย์ข้างต้นของโรงพยาบาลวิมุต อาทิ
Turnkey IT Solutions นับเป็นครั้งแรกที่ใช้ศักยภาพด้านโครงข่ายและผสานความสามารถร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเข้าไปให้บริการได้แบบครบวงจร ทั้งการวางระบบงานด้าน ICT การจัดการฐานข้อมูลหรือ Data Center ระบบสื่อสารและอุปกรณ์ไอที
Managed IT Services การให้บริการอย่างครบวงจรด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปสนับสนุน พร้อมให้คำแนะนำช่วยเหลือ และดูแลระบบการใช้งานตลอดเวลา Digital Services การออกแบบแอปพลิเคชันสำหรับโรงพยาบาลวิมุต รวมถึงระบบเพื่อให้บริการวัคซีน และบริการที่ช่วยยกระดับการทำงานทางการแพทย์ อย่างระบบเทเลเมดดิซีน เพื่อให้คนไข้หรือผู้รับบริการได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ในการรักษา
และ Cloud Contact Center ระบบการสื่อสารภายในที่ช่วยเชื่อมต่อการทำงานของส่วนต่างๆ ทั้งในแง่ของการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและง่ายต่อการบริหารจัดการ