ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน ย้อนกลับ
จีนขยายความร่วมมือ ‘เศรษฐกิจ-การค้า’ ต่างแดน เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
06 มี.ค. 2566

           รายงานการปฏิบัติงานของรัฐบาลจีน ซึ่งเสนอต่อการประชุมครั้งที่ 1 ของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ชุดที่ 14 เพื่อการพิจารณา เมื่อวันอาทิตย์ (5 มี.ค.) ระบุว่าจีนยังคงมุ่งมั่นเปิดกว้างสู่โลกยิ่งขึ้น รวมถึงขยับขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ เพื่อบรรลุผลประโยชน์ซึ่งกันและกันตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

           จีนดำเนินยุทธศาสตร์การเปิดกว้างอย่างแข็งขันยิ่งขึ้น รวมถึงทำงานเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปและพัฒนาพร้อมกับการเปิดกว้างที่มีมาตรฐานสูง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ขณะเดียวกันการนำเข้าและการส่งออกของประเทศยังคงมีเสถียรภาพและคุณภาพดีขึ้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

          จีนได้พัฒนาการค้าระหว่างประเทศรูปแบบใหม่หลายรายการ ก่อสร้างเขตนำร่องเชิงบูรณาการสำหรับอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนเพิ่ม 152 แห่ง และสนับสนุนการจัดตั้งคลังสินค้าในต่างประเทศ ด้านระดับภาษีศุลกากรโดยรวมลดลงจากร้อยละ 9.8 อยู่ที่ร้อยละ 7.4 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

          จีนเดินหน้าการทดลองต่างๆ สำหรับการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ของการค้าการบริการทั่วทุกภาคส่วน และปรับใช้รายการข้อจำกัดและต้องห้าม (negative list) สำหรับการค้าข้ามพรมแดนของการบริการต่างๆ

          จีนดำเนินการอย่างแข็งขันและมีประสิทธิภาพในการใช้การลงทุนของต่างชาติ โดยมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีนำร่องในประเทศรวม 21 แห่ง และบรรลุความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาท่าเรือการค้าเสรีไห่หนาน

           จีนส่งเสริมความร่วมมือที่มีคุณภาพสูงภายใต้แผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) โดยการนำเข้าและส่งออกระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศตามแผนริเริ่มฯ เพิ่มขึ้น ณ อัตราร้อยละ 13.4 ต่อปี ส่วนการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศเหล่านี้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในหลากหลายด้าน

           ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จีนได้บรรลุหรือยกระดับข้อตกลงการค้าเสรี จำนวน 6 ฉบับ ขณะส่วนแบ่งการค้าระหว่างจีนกับกลุ่มคู่ค้าเสรีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26 เป็นราวร้อยละ 35 ของปริมาณการค้าทั้งหมดของประเทศ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
03 เม.ย. 2568
จากสถาปนิกหนุ่ม ..... สู่สายธารเพื่อสังคมคนเขาใหญ่ ปัจจุบันในพื้นที่เขาใหญ่นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และด้วยอาณาบริเวณโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ ทั้งเทือกเขาที่รายล้อมไปทั่ว และยังรวมถึงธารน้ำที่รื่นร่มอีกหลายแห่ง ที่สำคัญไม่ห่างไก...