กระทรวงพาณิชย์เผยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566 ได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 113 ราย เพิ่มขึ้น 82% แบ่งเป็น
• ลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 37 ราย
• ขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 76 ราย
การลงทุนดังกล่าว ก่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุน 26,756 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 305% และเกิดการจ้างงานคนไทย 1,651 คน เพิ่มขึ้น 33% โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่
• ญี่ปุ่น 25 ราย ร้อยละ 22 เงินลงทุน 8,545 ล้านบาท
• สิงคโปร์ 19 ราย ร้อยละ 17 เงินลงทุน 3,090 ล้านบาท
• สหรัฐฯ 13 ราย ร้อยละ 12 เงินลงทุน 1,314 ล้านบาท
• จีน 10 ราย ร้อยละ 9 เงินลงทุน 10,987 ล้านบาท
• สมาพันธรัฐสวิส 6 ราย ร้อยละ 5 เงินลงทุน 966 ล้านบาท
นอกจากการเข้ามาลงทุนแล้ว ยังมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย เช่น
> องค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การสร้างแบบจำลองแบบ 3 มิติ และการทำงานของแดมเปอร์เฉพาะทางบนคอมพิวเตอร์
> องค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในโครงการรถไฟฟ้า
> องค์ความรู้เกี่ยวกับการเจาะลอด (Horizontal Directional Drilling)
> องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความผิดพลาดในกระบวนการผลิตสินค้าประเภทนาฬิกาอัจฉริยะ (Smart Watch)
สำหรับธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเดือน ม.ค. - ก.พ. 66 นั้น ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ นโยบายการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ