พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธานการประชุมฯ บูรณาการและประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานในการเตรียมความพร้อม การดูแลคนไทยและนักศึกษาไทยมุสลิมที่ศึกษาในสาธารณรัฐซูดาน โดยมีนายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พร้อมด้วยนายสมชาย เกียรติ์ภราดร ผู้อำนวยการกองบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ผ่านระบบ (Video Conference System) โดยในที่ประชุมกระทรวงต่างประเทศ ได้รายงาน สถานการณ์ที่ประเทศซูดานว่า ขณะนี้ยังไม่มีความแน่นอน เนื่องจากการปะทะกันยังกระจัดกระจายและยังมีความเสี่ยงทั้งการอยู่ภายในที่พักอาศัยและการออกมาภายนอก อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอ option เส้นทางการอพยพสู่พื้นที่ปลอดภัย ณ สนามบินประเทศเพื่อนบ้านซูดานเช่น ไคโร ซาอุ และ ฐานทัพสหรัฐที่ Djibouti โดยทาง กระทรวงการต่างประเทศ จะหารือเรื่องการอำนวยความสะดวกต่างๆ กับประเทศที่เกี่ยวข้อง ร่วมทั้งพันธมิตรประเทศที่มีความพร้อมในการอพยพด้วย นอกจากนี้ทางกองทัพได้เตรียมความพร้อมของอากาศยานโดยการจัดเตรียมเครื่องบินไว้แล้วและรอการพิจารณาเส้นทางที่แน่ชัดจากทางภาครัฐ ซึ่งจะร่วมกับกระทรวงต่างประเทศ ในการสนับสนุนการอพยพคนไทย การรับรองดูแลคนไทยเมื่อกลับถึงประเทศไทย โดยเฉพาะนักเรียนไทยมุสลิมในพื้นที่จชต. ซึ่งทาง ศอ.บต. จะเป็นหน่วยงานหลักในการจัดหารถโดยสารรวมถึงการดูแลนักเรียนไทยให้สามารถเทียบโอนหน่วยกิจการศึกษามายังสถานศึกษาในไทย การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ทั้งในส่วนของเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ซูดาน ผู้ปกครอง และสังคมไทยโดยรวม ในที่ประชุมนายชนธัญ กล่าวถึงแนวทางการดำเนินการของ ศอ.บต. ว่า ขณะนี้ ศอ.บต ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานกลางไว้ในระดับพื้นที่ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และส่วนราชการในพื้นที่ โดยจะเน้นการสื่อสารกับกลุ่มครอบครัวเยาวชนที่ไปเรียนในซูดานรวมไปถึงให้บริการสายด่วน 1880 รองรับประเด็นดังกล่าวด้วย ด้านเลขาฯสมช. เน้นย้ำให้ทุกหน่วยมีการวางแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤตควบคู่ไปกับการวางแผนการดำเนินงานตามภารกิจในครั้งนี้โดยให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพหลักในการติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมในการอพยพนักศึกษาไทยในเส้นทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางเรือหรือทางอากาศ พร้อมจัดทำแผนรองรับผู้ที่หลบหนีแบบผิดกฏหมาย และจัดตั้งคณะทำงานทั้งในประเทศและนอกประเทศในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับนักศึกษาไทยในแนวทางการช่วยเหลือของรัฐบาลไทยให้กลับบ้านได้อย่างปลอดภัยและมอบหมายให้ศอ.บต. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับนักศึกษาไทยกลับภูมิลำเนา พร้อมจัดหาที่พักเมื่อกลับถึงประเทศไทย ควบคู่กับการดูแลเรื่องการศึกษาของนักศึกษาที่ประสงค์จะไม่กลับไปศึกษาต่อ เช่น การเทียบวุฒิการศึกษา เป็นต้น