ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ญาติเหยื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวมาเลเซีย เตรียมเข้าปรับปรุงเจดีย์อนุสาวรีย์ทหารและกรรมกรแรงงานนิรนาม
29 พ.ค. 2566

ญาติเหยื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวมาเลเซีย เตรียมเข้าปรับปรุงเจดีย์อนุสาวรีย์ทหารและกรรมกรแรงงานนิรนาม และ 3 มิถุนายน นี้ ภายในวัดถาวรวราราม สถานที่นี้กำลังจะเปลี่ยนแปลงเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญเมืองกาญจน์ อีกแห่งหนึ่ง

วันนี้ 28 พ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณที่ตั้งอยู่ในบริเวณสุสาน์วัดถาวรวราราม (หรือวัดญวน) ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงทหารและแรงงานชาวเอเซีย นิรนาม ทั้งหลายที่เสียชีวิตเนื่องในการสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ ในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 ตัวอนุสาวรีย์เป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยมคอนกรีตขนาดใหญ่ตอนปลายสอบเข้าเล็กน้อย ความสูงประมาณ 6-7 เมตร มีลักษณะการออกแบบคล้ายๆ กับอนุสาวรีย์ไทยานุสรณ์ นับเป็นอนุสาวรีย์แห่งเดียวบนเส้นทางรถไฟสายมรณะ ที่สร้างสำหรับแรงงานชาวเอเซีย

และการก่อสร้างก็เนื่องมาจากทางวัดถาวรวราราม ได้ทำการล้างป่าช้า หลังจากที่ได้ถูกทอดทิ้งไม่เคยทำการล้างมานานกว่า 30 ปี และได้พบกระดูกของทหารและกรรมกรแรงงานนิรนาม ที่มารับจ้างหรือที่ถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟ จนได้เสียชีวิตลง และถูกนำมาฝังยังป่าช้าในวัดนี้ถึงนับกว่าหมื่นศพ โดยส่วนมากจะเป็นชาวจีน อินเดีย มลายู และอินโดนีเซีย ด้วยความเห็นอกเห็นใจและการเล็งเห็นความสำคัญของแรงงาน ชาวเอเซีย ในการมีส่วนร่วมก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ และกรรมการของวัดจึงได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งประกอบด้วย  ข้าราชการ พ่อค้า และคหบดีในจังหวัดกาญจบุรี กระทำพิธีล้างป่าช้า โดยได้รวบรวมศพไม่มีญาติเหล่านี้ มาทำการฌาปนกิจ พร้อมในโอกาสที่จัดงานฉลองการก่อสร้างพระอุโบสถ ในคราวเดียวกับพิธีล้างป่าช้า

สำหรับอนุสาวรีย์แห่งนี้ที่ตั้งอยู่ภายในสุสานของวัดถาวรวราราม ซึ่งติดอยู่กับสุสานสัมพันธมิตรกาญจนบุรี  แต่น้อยคนที่จะรู้จัก แม้กระทั่งคนในพื้นที่จำนวนมาก ก็ยังไม่ทราบถึงเรื่องราวของอนุสาวรีย์แห่งนี้ ไม่มีเอกสารใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารทางวิชาการ เอกสารทางประวัติศาสตร์ หรือเอกสารประกอบการท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรี ประกอบกับไม่มีป้ายสื่อความหมายใดๆ ในบริเวณอนุสาวรียแม้แต่ป้ายเดียว  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรมีการพัฒนาอนุสาวรีย์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงทหารและแรงงานนิรนาม แห่งนี้

โดยอนุสาวรีย์ทหารและแรงงานนิรนาม ซึ่งก่อนหน้านี้ประมาณ 4 ปี ได้มีสื่อมวลชนของชาวมาเลเซีย ได้เข้ามาค้นหาข้อมูลจนพบว่าผู้เสียชีวิตในอนุสาวรีย์แห่งนี้ มีญาติของตนเองรวมอยู่ ในการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะแห่งนี้  จึงได้มีการติดต่อขอเข้าพบกับทาง พระสมณานัมธีราจารย์ ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้าย อนัมนิกาย เจ้าอาวาสวัดถาวรวรารามกาญจนบุรี ( วัดญวณ)  พร้อมคณะกรรมการของวัดถาวรวราราม โดยมี พันเอก (พิเศษ) สุรินทร์  จันทร์เพียร นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้ประสาน และนำพาคณะสื่อมวลชน พร้อมญาติชาวมาเลเซีย เข้าไปพบเพื่อแจ้งในการขอปรับปรุงอนุสาวรีย์ทหารและแรงงานนิรนาม แห่งนี้

และโอกาสนี้ในวันที่ 3 มิ.ย. 2566 นี้ ทาง พันเอก (พิเศษ) ดร.สุรินทร์  จันทร์เพียร นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี ดร. จันทรา เสคาราน ประธานกลุ่มศึกษาทางรถไฟสายมรณะ ( DRIG : Death Railway Interest Group Malaysia )  นายสมภพ ธีระสานต์ ประธานกรรมการวัดถาวรวราราม พร้อมญาติของผู้สูญเสียชีวิต จะได้จัดพิธีในการปรับปรุงอนุสาวรีย์แห่งนี้ เพื่อให้เกิดความสวยงาม รวมถึงเพื่อไว้ประกอบพิธี เป็นการรำลึกถึงเหล่าทหารและแรงงานนิรนาม  จากนี้ยังได้เปิดให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ได้เข้ามาเที่ยวชม ศึกษาเรียนรู้  อีกทั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งของจังหวัดกาญจนบุรี ต่อไป

พันเอกพิเศษ ดร.สุรินทร์  จันทร์เพียร นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า เส้นทางสะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก โดยเมื่อ 4 ปี ที่ผ่านมา มีชาวมาเลเซีย คนหนึ่งเป็นสื่อมวลชนได้พยายามมาค้นหาแหล่งข้อมูล รวมถึงหลุมฝังศพของแรงงานที่ได้มาร่วมสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มาพบกับตนเอง จนเห็นด้วยที่จะมีการพัฒนาเจดีย์อนุสาวรีย์ ทหารและแรงงานนิรนาม ที่เข้ามาเสียชีวิตไปนับแสนคน มีสัญชาติต่างๆ อีกรวมแล้วกว่า 3 แสนคน 

จากนั้นตนเองได้ไปหารือกับทางเจ้าอาวาสวัดถาวรวราราม ซึ่งบริเวณสุสานของวัดแห่งนี้มีเจดีย์อนุสาวรีย์ อยู่แล้วซึ่งภายในเจดีย์อนุสาวรีย์ แห่งนี้ได้บรรจุศพทหารและแรงงานนิรนาม มากกว่าหมื่นศพ ตามที่ป้ายติดไว้กับเจดีย์แห่งนี้ ทางเจ้าอาวาสได้อนุญาติให้มีการปรับปรุง เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้กับแรงงานเหล่านี้ ซึ่งทางราชการไทยไม่เคยยกย่องเจดีย์อนุสาวรีย์ แห่งนี้แต่ประการใด เช่นกับผู้สูญเสียจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ของ ชาวประเทศอื่นๆ ซึ่งแรงงานเหล่านี้เป็นชาวทมิฬ ไม่มีใครทำ ไม่มีใครยกย่อง รู้สึกดีใจมากที่ทางเจ้าอาวาสวัดถาวรวราราม อนุญาตให้มีการปรับปรุงเจดีย์แห่งนี้ขึ้นมาใหม่ รู้สึกเสียใจมากที่แรงงานเหล่านี้ได้มาล้มตายในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ปี พ.ศ. 2484 ถึง 2488 เมื่อสงครามเลิก ซึ่งมีคนนำเอาเรื่องราวเหล่านี้ไปทำเป็นหนังทำละครต่างๆมากมาย

สำหรับในวันที่ 3 มิ.ย. 2566 นี้ ทางคณะญาติ ไปจนถึงทูตของมาเลเซีย และญาติของผู้สูญเสียจากมาร่วมสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะแห่งนี้เดินทางไปร่วมพิธีในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก ฝากเชิญชวนประชาชนที่ทราบข่าวได้ไปร่วมพิธีโดยพร้อมเพียงกัน และเมื่อมีการปรับปรุงเจดีย์ อนุสาวรีย์ทหารและแรงงานนิรนาม แห่งนี้แล้ว จังหวัดกาญจนบุรี ก็จะมีแหล่งท่องเที่ยวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่มมาอีกแห่งหนึ่ง จากสุสานสัมพันธมิตร ที่มีอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี


ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์ - รายงาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...