สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เดินหน้าส่งเสริมผู้ประกอบการ ในแคมเปญ “SME ปังตังได้คืน ก้าวสู่ปีที่ 2” สำหรับผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนการได้รับบริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจ หรือ ช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีการเลือกใช้บริการบนระบบ BDS ภายใต้ “โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (MSME Recovery & Beyond) ปีงบประมาณ 2566” ให้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ครอบคลุมทุกความต้องการ ล่าสุดหนุน SME ให้เติบโต โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการตลาดอย่างเข้มข้น ทั้งองค์ความรู้ ทักษะ การเพิ่มโอกาส และช่องทางการตลาด รวมถึงการจัดแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า “สสว. ได้ให้การส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS หรือ “SME ปัง ตังได้คืน ปี 2” ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (MSME Recovery & Beyond) ปีงบประมาณ 2566 มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการ MSME ได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจได้เพิ่มขึ้น ครอบคลุมทุกความต้องการ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกรับบริการที่ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ BDS ที่ bds.sme.go.th เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ หรือลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพ หรือสร้างโอกาสทางการค้าการลงทุน สร้างรายได้เพิ่มขึ้น หรือมีความพร้อมในด้านมาตรฐาน”
“ในปีงบประมาณ 2566 สสว. พร้อมจะสนับสนุนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ BDS โดยจะมุ่งเน้นการส่งเสริมการด้านการตลาดอย่างเข้มข้น โดยส่งเสริมความรู้ไปพร้อมกับการสนับสนุนด้านการตลาด และ พัฒนาช่องทางการตลาด เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถขยายการตลาด ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในประเทศ และไปถึงระดับสากล เช่น การแนะนำงานแสดงสินค้า การช่วยเหลือค่าเช่าบูธ ซึ่งเข้าไปดูละเอียดของงานที่น่าสนใจรวมถึงหน่วยบริการของงานนั้นๆ ได้ที่ https://bds.sme.go.th/Project/Detail/9
สำหรับแนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ มีดังนี้
หมวดการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการตลาด
จะมีการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการตลาด ในประเทศและต่างประเทศ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับด้านการฝึกอบรม เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่มีชื่อเสียงหรือได้รับความนิยม การเจรจาการค้าหรือจับคู่ธุรกิจ การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมช่องทางการค้าด้วยระบบ Online ผ่าน Platform ที่มีชื่อเสียงหรือได้รับความนิยม
หมวดการพัฒนาตลาดต่างประเทศ
จะมีการพัฒนาตลาดต่างประเทศ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับด้านการฝึกอบรม เช่น การส่งเสริมการจัดทำแผนหรือกลยุทธ์ในการขยายสินค้าและ/หรือบริการ จากภูมิภาคหรือประเทศหนึ่งไปยังภูมิภาคหรือประเทศอื่นๆ, การสร้างการรับรู้แบรนด์ในประเทศหรือภูมิภาคอื่นเพิ่มเติม, การส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนหรือคู่ค้าในต่างประเทศเพิ่มเติม การส่งเสริมหรือผลักดันเข้าสู่การเป็นเครือข่ายสินค้าและ/หรือบริการ กับธุรกิจในต่างประเทศ