สระแก้วยุค ‘ฐานิสร์’ ชูวิธีคิดใหม่ เน้นโปร่งใสแบบเชิงรุก นับตั้งแต่วันแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วเมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา เป็นเวลากว่า 4 เดือนแล้วที่องค์กรแห่งนี้ได้มีโอกาสต้อนรับคณะผู้บริหารชุดใหม่นำโดยหนุ่มใหญ่วัยห้าสิบต้น ๆ ที่คนในพื้นที่ รู้จักกันในนาม ‘เฮียหนึ่ง’ หรือ ‘ส.หนึ่ง’ วันนี้ ขึ้นกุมบังเหียน อบจ.สระแก้ว สืบต่อจาก ‘คุณนายแม่ - ขวัญ เรือน เทียนทอง’ อดีตนายกฯ คนดัง ที่ปัจจุบันผันตัวสู่การเมืองระดับชาติในบทบาทสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ว่ากันว่าคนสระแก้วไม่มีใครไม่รู้จัก ‘ฐานิสร์ เทียนทอง’ หรือ ‘คุณหนึ่ง’ ถ้าเผื่อจะให้ไล่ประวัติ ชื่อเสียงเรียง นามกันแล้ว คุณหนึ่งคนนี้คือพี่ใหญ่ของบ้านสวนน้ำเขาฉกรรจ์ ศูนย์บัญชาการหลักของครอบครัวเทียนทอง ตระกูลการเมืองที่มีความผูกพันใกล้ชิดกับพื้นที่ จ.สระแก้วเป็นอย่างดี ด้วยประสบการณ์ทำงานในภาค การเมืองและธุรกิจรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ปี ย่อมเป็นเครื่องการันตีถึงความสามารถและความเหมาะสมของคุณ หนึ่งในการบริหารงานท้องถิ่นอย่าง อบจ.สระแก้ว ซึ่งต้องบอกว่า ‘โนพร็อพเบลม’ แบบเดียวกับพลเอกชาติ ชาย ชุณหะวัณ หรือ ‘น้าชาติ’ เจ้าของแนวคิด “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” ใช้เป็นคำพูดติดปากอยู่ เป็นประจำ คุณธรรมเป็นใหญ่ ความโปร่งใสต้องมาก่อน อดีตรัฐมนตรีช่วย 2 กระทรวงใหญ่และผู้แทนฯ อีก 5 สมัยท่านนี้มีสไตล์การทำงานที่น่าสนใจ ด้วยนโยบาย เปิดตัว 7 ด้านภายใต้แนวคิด “ยึดหลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต” ที่ ครอบคลุมตั้งแต่การเกษตร การศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิต การคมนาคม สิ่งแวดล้อม และความโปร่งใสใน การบริหารจัดการ สำหรับข้อสุดท้ายดูเหมือนท่านจะเน้นย้ำให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะคำว่าความโปร่งใส ในการบริหารจัดการ ก็คือ ‘ธรรมาภิบาล (good governance)’ ที่ท่านตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องทำให้สำเร็จ เห็นผลเป็นรูปธรรมในวาระดำรงตำแหน่งของท่านให้ได้ ธรรมาภิบาลก็ดี หรือที่บางท่านเรียกว่าหลักการบริหารจัดการที่ดีก็ดี ตามนิยามของสถาบันพระปกเกล้าได้ให้ ความหมายไว้ว่า “หลักการบริหารจัดการที่ดี อันเกี่ยวข้องกับนโยบายของส่วนราชการและพฤติกรรมของ บุคลากรในองค์การ” 1 เป็นหลักการทำงานที่ทุกหน่วยงานในประเทศไทยไม่ว่าส่วนราชการหรือภาคเอกชนคง จะคุ้นเคยอยู่พอสมควร หลายองค์กรถือกำหนดเป็นนโยบาย มีผ่อนบ้างตึงบ้างก็แล้วแต่ที่ แล้วแต่วัฒนธรรม องค์กรของที่นั้น ๆ จะว่าไปแล้วธรรมาภิบาลก็มีหลักการย่อย ๆ เป็นข้อพิจารณาเหมือนกัน การทำงานแบบใด ถึงจะเรียกว่ามีธรรมาภิบาลนั้น โดยปกติแล้วก็ต้องดูกันอยู่ 6 ประการ2 หนึ่ง คือ หลักนิติธรรม สอง คือ หลัก คุณธรรม สาม-หลักความโปร่งใส สี่-หลักการมีส่วนร่วม ห้า-หลักสำนึกรับผิดชอบ และหก คือ หลักความ คุ้มค่า เร็ว ๆ นี้เมื่อปลายเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาในการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วสมัยหนึ่ง วาระ หลักของการประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องการตั้งโครงการปีงบประมาณ 2566 เกี่ยวกับการจัดซื้อเสาไฟ นวัตกรรมเพื่อติดตั้งในพื้นที่ต่าง ๆ ของ จ.สระแก้ว โดยเป็นการจัดซื้อเสาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (solar cell) รวมมูลค่ากว่า 60 ล้านบาท เพื่อติดตั้งแทนเสาไฟฟ้าเดิมที่เริ่มผ่านการใช้งานมาสักระยะ อาจมีความ ชำรุด บกพร่อง ไม่สามารถให้แสงสว่างกับชาวบ้านในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลต่อสวัสดิภาพและความ ปลอดภัยของพี่น้องประชาชนที่ต้องสัญจรในยามค่ำคืน แม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นข้อเสนอจากเพื่อน สจ. ที่แสดง เจตจำนงต้องการให้มีการติดตั้งเสาไฟในพื้นที่ที่ตนดูแลอยู่ แต่ด้วยความรู้และประสบการณ์การทำงานพื้นที่มา นานของคุณหนึ่งจึงทำให้พอทราบว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องติดตั้งเสาไฟแบบโซล่าเซลล์ในพื้นที่นั้น เนื่องจากเมื่อนำหลักความคุ้มค่า (Cost-effectiveness or economy) มาพิจารณาประกอบเหตุผลที่มี การเสนอโครงการข้างต้นแล้ว ยังไม่เห็นความจำเป็นและความคุ้มค่าที่จะต้องใช้เงินงบประมาณเพื่อลงทุนใน โครงการดังกล่าวแต่อย่างใด “ถนนเส้นต่าง ๆ มีแนวจ่ายไฟของการไฟฟ้าอยู่แล้ว สามารถซื้อโคมไฟราคาหลักพัน มาติดตั้งตามเสาไฟฟ้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งเสาไฟโซล่าเซลล์ในราคาต้นละหลาย ๆ หมื่นบาท ซึ่งมองว่าเป็นการซ้ำซ้อน และไม่ คุ้มค่ากับงบประมาณ” คุณหนึ่งชี้แจงถึงเหตุผลที่ตนไม่สามารถให้อนุมัติโครงการจัดซื้อเสาไฟนวัตกรรม ผ่าน เพจเฟสบุ๊ก ฐานิสร์ เทียนทอง Tarnis Thienthong เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 66 ด้วยงบประมาณจัดซื้อที่สูงผิดปกติและรายละเอียดทางเทคนิคที่ซ้ำซ้อน ทำให้ผู้เขียนนึกถึงมหากาพย์โครงการ จัดซื้อเสาไฟฟ้ากินรีที่มีการจัดซื้อเสาไฟประติมากรรมไปติดตั้งในพื้นที่ป่ารกร้างที่ไม่น่าจะมีผู้คนสัญจรผ่าน ซึ่ง เป็นข่าวใหญ่แห่งปีที่คนไทยหลายคนน่าจะยังจำกันได้ เพราะเพิ่งผ่านไปไม่กี่ปี อีกทั้งมูลค่าของเสาไฟแต่ละต้น ที่จัดซื้อนั้นรวมแล้วเกือบหนึ่งแสนบาท กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูทั้งในโลกจริงและโลกโซเชียลอยู่ ระยะหนึ่งถึงความจำเป็นและความคุ้มค่าของงบประมาณที่ลงทุนไป จะว่าไปนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่หลายคนมีข้อกังขากับการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งโดย หลักการแล้วจัดตั้งขึ้นเพื่อรับโอนอำนาจบางส่วนจากส่วนกลางเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถดูแลจัดการตนเองได้ แต่ 2 เรื่องเดียวกัน. - 3 - ในทางปฏิบัติก็มักจะได้ยินอยู่เสมอว่าการกระจายอำนาจดังกล่าวเป็นที่มาของการทุจริตและแสวงผลประโยชน์ โดยมิชอบของกลุ่มผู้มีอิทธิพลดังกรณีเสาไฟฟ้ากินรีที่กล่าวไปเมื่อสักครู่ ร้อนต้องดับด้วยเย็น แม้จะขึ้นชื่อเรื่องความเด็ดขาด ไม่ยอมคน แต่วิธีการที่คุณหนึ่งเลือกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาจากข้อเสนอดังกล่าว คือ การพูดคุย เจรจากับบรรดาเพื่อน สจ. ที่เสนอโครงการขึ้นมา โดยชี้แจงถึงเหตุผล ความจำเป็นที่ไม่ สามารถอนุมัติงบประมาณสำหรับการจัดซื้อเสาไฟต้นใหม่ ขณะเดียวกันเพื่อไม่ให้งบประมาณนำไปใช้อย่างไม่ เกิดประโยชน์ คุณหนึ่งจึงเสนอให้ที่ประชุมสภา อบจ. ร่วมกันเปลี่ยนแปลงงบประมาณเพื่อนำงบจากโครงการ นี้มาปรับปรุงก่อสร้างถนนที่ชำรุด ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องซ่อมแซมให้พี่น้องชาว จ.สระแก้ว ได้ใช้ สัญจรไปมาอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องเกษตรกรที่จำเป็นต้องขนส่งพืชผลทางการเกษตรเป็น ประจำ ซึ่งถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่ได้รับผลกระทบและสะท้อนความต้องการมายัง อบจ.สระแก้วอย่างต่อเนื่อง “การทำงานนี้จะเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าเราต้องใช้งบประมาณให้คุ้มค่าและมีการเสริมสร้างส่งเสริมประโยชน์ สูงสุดให้แก่ประชาชน ขอขอบคุณท่านประธานสภาฯ และสมาชิกสภา อบจ. สระแก้วทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนและอนุมัติการ เปลี่ยนแปลงนี้เพื่อประโยชน์รวดเร็วของพื้นที่และประชาชนครับ” คุณหนึ่งกล่าวทิ้งท้ายไว้ในโพสต์เดียวกัน ความประนีประนอม (compromise) คือคุณสมบัติที่จำเป็นของการเป็นผู้นำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หาก จำเป็นต้องประนีประนอมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชนด้วยแล้ว ย่อมไม่ใช่เรื่องเสียหายหาก ต้องพบกันครึ่งทางเพื่อให้การทำงานได้ไปต่อ ความเป็นจริงไม่ใช่ผู้นำทุกคนที่จะมีคุณสมบัติข้อนี้ แต่คุณหนึ่ง เป็นคนที่มีและสามารถใช้คุณสมบัตินี้ในการทำงานได้อย่างมีศิลปะ คือว่าได้ผลสำเร็จของงานตามที่ต้องการ และหลักการยังคงอยู่ ขณะเดียวกันก็รักษาน้ำจิตน้ำใจของคนทำงานให้มีความสมัครสมานกลมเกลียวต่อไปได้ เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต “การก่อสร้าง ซ่อมปรับปรุงถนนลาดยาง คอนกรีตตามพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน มีความจำเป็น เร่งด่วนเพื่อให้ประชาชนใช้ถนนสัญจรไปมาได้อย่างสะดวกและปลอดภัย พร้อมขนส่งผลผลิตทางการเกษตรได้ อย่างรวดเร็ว” - 4 - การรับฟังปัญหาคือหัวใจสำคัญของการบริหาร ตลอด 4 เดือนของการเข้ามารับตำแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสระแก้วของฐานิสร์ เทียนทอง ได้สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานที่เรียกว่า “ความโปร่งใสแบบ เชิงรุก” เห็นได้จากการวางตัวของนายก อบจ. และตัวองค์กรให้มีความเข้าถึงง่าย เกาะติด สามารถยื่นข้อ ร้องเรียน ข้อร้องทุกข์ หรือข้อเสนอแนะมาที่เพจเฟสบุ๊กและไลน์ของนายก อบจ. ได้โดยตรง เกือบทุกปัญหาใน จ.สระแก้ว มีนายกฯ เป็นคนตอบเอง รับไปดำเนินการเอง ที่สำคัญคือเมื่อดำเนินการแล้วยัง keep in touch กับพี่น้องประชาชนด้วยการโพสต์แจ้งข้อมูลให้ทราบว่าทำงานกันอย่างไร ขณะนี้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ความต่อเนื่อง สม่ำเสมอของการชี้แจงข้อมูลให้พี่น้องประชาชนทราบบางทีก็เรียกได้ว่าอัปเดตกันแบบเรียลไทม์ เมื่อตัวผู้นำเป็นคนแข็งขันแล้ว ผู้ปฏิบัติก็ยิ่งต้องรับลูก ต้องปฏิบัติตาม การเปิดช่องให้พูดคุย รับฟังกันอย่างง่าย ๆ และทั่วถึงแบบนี้เองที่เรียกว่าการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสแบบ เชิงรุก คือพอเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลมาแล้วหรือบางทีผู้กำหนดนโยบายได้รับด้วยตัวเองโดยตรง ทำให้การสั่งการ การดำเนินการช่วยเหลือต่าง ๆ เป็นไปอย่างว่องไว ไม่ต้องรอให้ประชาชนทำหนังสือกันขึ้นมาตามกระบวนการ หรือรอให้มีการรวมตัวประท้วงกันก่อนถึงจะเริ่มลงมือทำ แต่ให้ประชาชนได้มาร่วมคิด ร่วมทำในสิ่งที่จะช่วย ยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ไม่ว่า 3 ปี 6 เดือนต่อจากนี้ จ.สระแก้วจะมีทิศทางการพัฒนาเป็นอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนเขื่อได้อย่างสนิท ใจ คือวันนี้ สระแก้วภายใต้การนำของท่านนายกฯ ฐานิสร์ หรือคุณหนึ่ง จะเป็นจังหวัดหนึ่งที่เป็นต้นแบบของ การพัฒนาด้วยหลักธรรมาภิบาล ด้วยท้องถิ่นตัวอย่างของการกระจายอำนาจที่มีการถ่วงดุลตรวจสอบ และมี ความเข้มแข็งของภาคประชาชนอย่างยั่งยืนสืบไป