ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 18 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมแควใหญ่ ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี นายศักรินทร์ ทุมเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาช้างป่าและช้างบ้านในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี (คณะกรรมการดำเนินงาน) ครั้งที่ 3/2566
โดยมีนายวสันต์ สุนจิรัตน์ กำนัน ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี (ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาช้างป่าภาคตะวันตก)พร้อมคณะกรรมการดำเนินงานเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อบูรณาการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้ช้างป่าออกมาทำลายทรัพย์สิน หรือพืชผลทางการเกษตรของราษฎร โดยการ ศึกษาหาแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้ช้างป่าออกมาทำลายทรัพย์สินหรือพูดผลทางการเกษตรของประชาชน ตลอดจนจัดแหล่งงบประมาณเพื่อสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กำหนดแนวทางช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนกรณีทรัพย์สินหรือพืชผลทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากการทำลายของช้างป่า
เพื่อการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ และให้การปฎิบัติงานของคณะกรรมกาดังกล่าว มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานร่วมกัน จึงมีการแต่งตั้งคณะทำงานตามประเด็นปัญหาต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่าและช้างบ้านในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อร่วมกันพิจารณารายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานของคณะทำงานแต่ละด้าน ดังนี้
1.คณะทำงานด้านการศึกษาภาพรวมทบทวนข้อมูลพื้นฐานถิ่นที่อยู่อาศัยของช้าง สำรวจพื้นที่ป่าแหล่งน้ำแหล่งอาหารมีพอเพียงขาดแคลนหรือไม่ตามพิกัดกลุ่มช้างป่า/สำรวจจำนวนช้างป่าศึกษาพฤติกรรมช้าง สำรวจเส้นทางเดินของช้างของแต่ละกลุ่ม /สำรวจพื้นที่ถูกบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า
2.คณะทำงานจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคนกับช้าง จัดทำแผนระยะ สั้นระยะกลาง ระยะยาว ระดับพื้นที่อำเภอ / การบริหารจัดการคนกับช้างให้อยู่ร่วมกันได้/กำหนดพื้นที่อยู่อาศัยของช้างป่าปลูกป่าไม้กันชนกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่พืชสวนและกำหนดพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน /กำหนดระวังเหตุเฝ้าระวังเตือนภัยจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ชุดผลักดันช้างป่า
3.คณะทำงานคิดค้นพัฒนานวัตกรรม นวัตกรรมและวิจัยแก้ไขปัญหาช้างป่าโดยใช้เทคโนโลยีในการป้องกันเฝ้าระวัง กล้อง ระบบเซ็นเซอร์ / ติดตั้งกล้องเตือนภัย ncaps ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ประสบภัย / ระบบเตือนภัยล่วงหน้าในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารร่วมกับการใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ camera trap พร้อมระบบ AI /ป้ายเตือนภัย/ ปรับเปลี่ยนพืชอาหารช้าง/จัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภายนอกเขตอนุรักษ์/ศึกษาเทคนิคการใช้ฮอร์โมนในการควบคุมประชากรช้างป่า/ อุปกรณ์เครื่องใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีใช้พลังงานทางเลือก (พลังงานแสงอาทิตย์)มาแก้ไขปัญหา
4.คณะทำงานบริหารจัดการการจัดตั้งกองทุน มูลนิธิ แก้ไขปัญหาทาง กำหนดมาตรการช่วยเหลือ เยียวยาและแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากช้าง สนับสนุนด้านการเงินโดยการจัดตั้งกองทุน มูลนิธิ หรือรับการสนับสนุนจากกองทุนมูลนิธิอื่นๆ
//////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์ - รายงาน