ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ตร.ไซเบอร์เตือน3ไม่แกีงค์หลอกผู้วัยจะเกษียณอายุ
29 ก.ย. 2566

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพออนไลน์ 3 รูปแบบที่วัยเกษียณควรระวัง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะตามมา

ตำรวจไซเบอร์ระบุว่า ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ถือเป็นเวลาเกษียณอายุราชการของใครหลายคน ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพจะใช้โอกาสในช่วงนี้หลอกลวง หรือหาผลประโยชน์จนเกิดความเสียหายกับเหยื่อได้ ซึ่งจากสถิติพบว่า มี 3 เรื่อง ที่มิจฉาชีพหลอกลวงเอาทรัพย์สินจากประชาชน ได้แก่

1. หลอกลวงให้ร่วมลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์

มิจฉาชีพจะสร้างเพจปลอม ไลน์ปลอม แอบอ้างเป็นบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียง หลอกลวงให้ผู้เสียหายลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ใช้คำพูดที่โน้มน้าวใจและน่าเชื่อถือ อ้างเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุราชการ ให้ผลตอบแทนสูง

2. หลอกลวงให้รักแล้วโอนเงิน (Romance Scam)

มิจฉาชีพสร้างโปรไฟล์ที่ดูดี หลอกลวงให้ผู้เสียหายเชื่อใจ ไว้ใจ หรือหลงรัก อ้างว่าอยากมาใช้ชีวิตร่วมกับผู้เสียหาย หลอกว่าจะส่งสิ่งของมาให้ แต่ให้ผู้เสียหายจ่ายค่าขนส่ง ค่าภาษีก่อน เป็นต้น

3. หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชั่นเพื่อควบคุมโทรศัพท์มือถือ

มิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปยังผู้เสียหายที่เป็นวัยเกษียณ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลาง หรือหน่วยงานต่าง ๆ แจ้งว่าจะได้รับเงินประกันบำนาญ ให้อัพเดตข้อมูลและหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชั่นปลอม จนสามารถโอนเงินออกไปได้

ตำรวจไซเบอร์แนะนำข้อควรระวังเพื่อป้องกันความเสียหาย และป้องกันภัยมิจฉาชีพ ดังนี้

  • ระมัดระวังการชักชวนจากคนที่เพิ่งรู้จัก มาชวนให้ลงทุน โดยอ้างผลกำไรที่สูง
  • หลีกเลี่ยงการลงทุนหรือข้อเสนอที่เกินกว่าจะเป็นไปได้
  • ระวังการกดลิงก์ที่แนบมากับข้อความสั้น (SMS)
  • ระวังการรับสายจากเบอร์ที่ไม่รู้จัก โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ
  • ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่น ไม่กรอก หรือเปิดเผยข้อมูลบนสื่อออนไลน์
  • ให้ทำการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นจาก App Store หรือ Play Store เพราะมีความปลอดภัยมากกว่า

พร้อมทั้งเน้นย้ำหลักการ 3 ไม่ คือ “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน”

จากข้อมูลของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พบว่า กลโกงของมิจฉาชีพมีหลากหลายรูปแบบ และที่พบบ่อย ได้แก่ หลอกซื้อขายสินค้าหรือบริการ หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน หลอกให้กู้เงิน และหลอกให้ลงทุน เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายจากการถูกหลอกลวงกว่า 9 พันล้านบาท ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (17 มีนาคม-25 สิงหาคม 2566)

ที่ผ่านมา มีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับผู้คน ถึงเรื่องของภัยไซเบอร์และภัยการเงิน จากหน่วยงานรัฐและภาคสถาบันการเงิน

โดยธนาคารแห่งประเทศไทยและพันธมิตร ถือโอกาสเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนแห่งการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness Month) จัดแคมเปญ #31Days31Tips ที่จะนำเสนอคอนเทนต์ความรู้ด้านดิจิทัลและเคล็ดลับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของแต่ละองค์กร

เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมและการแบ่งปันความรู้ความเข้าใจ ซึ่งจะช่วยให้คนไทยมีภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์และใช้เทคโนโลยีออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย ปัจจุบัน กลโกงบนโลกออนไลน์ยังคงเป็นปัญหาที่คนไทยยังต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...