เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566 นายวัชรพล ปั้นสนิท อายุ 34 ปี นักธุรกิจชาวกรุงเทพมหานคร ได้ถือหนังสือร้องขอความเป็นธรรม เรื่อง"การกลั่นแกล้งรังแกประชาชนผู้ประกอบการ ไม่ต่อใบอนุญาตด้วยอคติ" เดินทางมาที่สำนักงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดปทุมธานี (ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี) โดยมีนายจักรพันธ์ ระงับ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าว พร้อมกับร้องสื่อขอความเป็นธรรมในครั้งนี้อีกด้วย
นายวัชรพล ปั้นสนิท นักธุรกิจหนุ่ม กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากตนได้ประกอบกิจการเปิดสถานที่ซาวน่า ตั้งอยู่เลขที่ 57/1 ม.1 ถนนรังสิต-ปทุมธานี ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี โดยเปิดมานานกว่า 10 ปี และมาหยุดชะงักในช่วงโควิดระบาด จากนั้นก็ได้มำดำเนินกิจการต่อเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวและพนักงาน แต่ปรากฎว่าจู่ๆทางเทศบาลตำบลบ้านกลาง ซึ่งมีนายสายัณ นพขำ หรือ"นายกแป๊ะ" นายกเทศบาลตำบลบ้านกลาง (อดีตนายกเทศบาลตำบลบ้านกลาง)ไม่ยอมออกใบอนุญาตให้มานานนับปี แม้ว่าตนจะได้พยายามทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามขั้นตอนและทำให้ถูกกฎระเบียบตาม พรบ.สาธารณสุข ก็ยังไม่ดำเนินการออกใบอนุญาตให้ตน ทำให้ตนมีความเดือดร้อนอย่างมาก และไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปพึ่งใคร เนื่องจากตนเป็นคนทำมาหากินและไม่มีปากเสียงที่จะไปต่อสู้กับผู้มีอำนาจ แม้ว่าจะมีการสอบถามไปยังเทศบาลฯ ว่าสาเหตุใดที่ไม่ยอมออกใบอนุญาตให้ตน ก็จะมีคำตอบว่าอยู่ที่ผู้ใหญ่บ้าง หรือก็บอกว่าทางร้านตนยังทำไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องสระน้ำ ท่อน้ำวน ปล่อยน้ำเสีย ซึ่งมีการแจ้งด้วยปากเปล่าและบางครั้งก็มีหนังสือ ตนก็ดำเนินการแก้ไขให้ทุกครั้งแต่ก็ยังไม่วายที่จะมีเรื่องอื่นมากลั่นแกล้งตนมาโดยตลอดแม้กระทั่งมาแจ้งตนว่ามีการทำทางเข้าออกเชื่อมต่อทางหลวงไม่ขออนุญาต ตนก็งงเพราะไม่ใช่อำนาจของเทศบาล ฯ และมีอีกหลายๆเหตุผลจนเป็นข้ออคติกับตน ไม่ว่าตนจะปรับปรุงแก้ไขหรือบางครั้งมีผู้ใหญ่บางคนไปพูดและเจราสอบถามให้เพื่อขอให้ตนได้ทำกิน ก็เหมือนสร้างความไม่พอใจให้กับอดีตนายกคนดังกล่าว โดยตนก็อดทนมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อช่วงต้นเดือน พ.ย. 65 นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร (ผู้ว่าหมูป่า) ผวจ.ปทุมธานี ในขณะนั้น ได้ลงนามเซ็นคำสั่งให้ สายัณ นพขำ หรือ “นายกแป๊ะ” นายกเทศมนตรีตำบลบ้านกลาง พ้นจากตำแหน่ง หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทุจริตฮั้วประมูล 7 โครงการ นทำให้ตนได้รับใบอนุญาตในช่วงนั้น
และหลังจากนั้นเมื่อมีการเลือกตั้งนายกเทศบาลตำบลบ้านกลาง ปรากฎว่านายปัญญา นพขำ ลูกชายนายสายัณ นพขำ ได้เป็นนายกแทน และได้มีการแต่งตั้งนายสายัณ ฯ ผู้เป็นพ่อมานั่งตำแหน่งที่ปรึกษานายก ทำให้ตนถูกกลั่นแกล้งไม่ยอมต่อใบอนุญาตให้อีก ตนจึงได้มายื่นหนังสือร้องมาที่ศูนบ์ดำรงธรรมจังหวัดปทุมธานี เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนโดยขอให้สอบสวนหาข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว เพื่อตนและหึ้นส่วนจะได้เปิดกิจการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายพร้อมกันนี้ขิให้ตั้งกรรมการสอบสวน ข้อเท็จจริงของการกระทำดังกล่าวของเทศบาลตำบลบ้านกลางพร้อมทั้งผู้เกี่ยวข้องและขอให้มีคำสั่งให้นายกเทศมนตรี รวมถึงที่ปรึกษานายกเทศมนตรีให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนเพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการกลั่นแกล้งรังแกประชาชนอย่างชัดเจน
1. 1 กันยายน 2566 เข้ามาตรวจ 1 รอบ โดยเดินเข้ามาเองมาตรวจน้ำในสระ และ ระบบน้ำวนของสระน้ำ เราใช้ระบบกรอง ระบบน้ำวนอย่างดี เจ้าพนักงานเทศบาลเดินเข้ามาขอดูเฉยๆโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ไม่มีหนังสือ แต่เราก็อนุญาต เพราะ ทำถูกต้อง บริสุทธิ์ใจ
2. 12 กันยายน 2566 เข้าตรวจโดยไม่แจ้ง ไม่แสดงบัตร ไม่มีหนังสือ โดยขอตรวจเรื่องท่อน้ำ 5 จุดทางด้านหลัง อ้างว่ามีชาวบ้านร้องเรียน จึงถ่ายรูปไป โดยบอกให้เราแก้ไข อีก 5 -10 นาที หลังจากกลับไป เรียกเนตร(พนักงาน) ขึ้นไปบนเทศบาล ให้เซ็นหนังสือ บอกว่าไม่ได้มีอะไร อ้างโดยวาจาพูดจาหว่านล้อมให้เซ็นต์เพื่อรับทราบให้ปรับปรุงใน 30 วัน โดยให้แก้ไขท่อที่อ้างว่าปล่อยน้ำเสีย โดยที่ไม่มีการพิสูจน์ พอเซ็นเสร็จ บอกว่าจะสั่งปิดทันทีโดยให้พนักงานเรา รอคำสั่งแต่พนักงานเรากลับบ้านก่อน เพราะดึก
3. 13 กันยายน 2566 วันรุ่งขึ้น เรารีบแก้ไขท่อตามคำแนะนำด้วยวาจาโดยการต่อเข้าถังบำบัดอ้างว่าทำแล้วจะไม่สั่งปิด แต่มีหนังสือเร่งด่วนสั่งปิดลงมาทันทีแต่เช้า ซึ่งมองว่ากระทำเกินกว่าเหตุ โดยไม่ให้โอกาสแก้ไข ไม่มีการพิสูจน์และมองว่าเป็นการกลั่นแกล้ง โดยหลักการปฏิบัติเมื่อไม่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจริง หรือเป็นความเดือดร้อนรุนแรงที่ว่าน้ำเสีย ย่อมควรให้แก้ไขก่อนปิด
4. 15 กันยายน 2566 เมื่อเราแก้ไขแล้วทั้งหมดตามหนังสือ จึงทำหนังสือชี้แจงขึ้นไป ได้รับการตอบกลับโดยหนังสือมาว่าบอกให้ทำขอเชื่อมท่อท่อทางหลวง และเชื่อมทางเข้า จึงจะให้เปิด แม้ว่าจะไม่มีอำนาจ
5. 5 ตุลาคม 2566 เราทวงถามถึงหนังสือร้องเรียน ผลการตรวจสอบต่างๆ แต่ออกหนังสือเขียนด้วยลายมือ เพื่อให้เราแก้ไขซึ่งออกมาภายหลัง (และภายหลังสั่งปิด)
6. 11 ตุลาคม 2565 เราจึงเขียนหนังสืออุธรณ์เข้ากรมอนามัยในตอนเช้าเพื่อทบทวนคำสั่งปิด เมื่อวันที่ 11 ต.ค.65 ที่ทำได้ช้าจนเกือบหมดห้วงเวลาอุทรณ์เพราะคิดว่า เมื่อเราแก้ไขแล้วแม้ว่าไม่ได้ทำผิด หรือ พิสูจน์ว่าผิด ทางเทศบาลจะให้เราเปิด
7. 18 ต.ค. เรายื่นขอต่อใบอนุญาตที่จะหมดในวันที่ 11 พ.ย. ปกติสามารถทำได้ และควรต่อให้เรา เพราะ เราทำถูกต้องมาตลอด
8. 31 ตุลาคม 2566 กรมอนามัย แจ้งแสดงตัวพร้อมบัตร จนท ร่วมกับเทศบาล และ พนักงานของเรา เพื่อขอตรวจและเก็บตัวอย่างน้ำ ต่อหน้าพยานทั้ง 3 ฝ่าย
9. วันที่ 8 พ.ย. มีหนังสือคุ้มครองชั่วคราว คือการทุเลาคำสั่งจากกรมอนามัยว่า น้ำไม่ใช่น้ำเสีย สำคัญคือ เป็นอาบน้ำใช้ในครัวเรือนทั่วไป สามารถระบายได้ปกติ เหมือนทุกๆที่ในแถบนั้น กรมอนามัยจึงให้เปิดได้ (เราไม่ใช่โรงงานที่จะมีการปล่อยน้ำเสีย)
10. 10 พฤศจิกายน เปิดได้เพียง 1 วัน เทศบาลได้ยกพวกเข้ามาตรวจทันที แม้มีคำสั่งจากกรมอนามัย ซึ่งยืนยันความถูกต้องว่าเราไม่ได้ผิดจนต้องปิด แต่มีคำสั่งให้ปิดในวันถัดมา ใบอนุญาตหมดอายุ ทั้งที่ยื่นต่อแล้วเป็นเดือนไม่ยอมต่อให้ เป็นการกระทำที่เร่งด่วนเกินเหตุ
11. กลับมาออกคำสั่งย้อนคำสั่งเดิมว่า ให้แก้ไข 6 ข้อ ใน 2 ข้อนั้นเป็นคำสั่งที่ย้อนแย้งในตัวเองและมิชอบ
12. 7 ธันวาคม 2566 เราแก้ไขไปตามสั่งและเขียนหนังสือชี้แจงแล้ว เนื่องว่าแก้ไขแล้ว แต่ คำสั่งบางส่วนว่ามีคำสั่ง ย้อนแย้ง มิชอบ ไม่เป็นเหตุที่ไม่ต่อใบอนุญาติ จึงเขียนหนังสือชี้เแจงกลับไป เมื่อครบ 7 วันแล้ว จึงส่งหนังสือ ทวงถามแล้วถึง 2 รอบ แต่ไม่ตอบกลับมา โดยก่อนหน้าอ้างว่าเราไม่ทิ้งน้ำด้านหลังลงคลองตามแบบขออนุญาตทั้งที่เทศบาลนั้นแจ้งให้เราแก้ไขออกท่อ เพราะน้ำเสียทิ้งไม่ได้ แต่เราพิสูจน์แล้วว่าน้ำทางเราไม่ใช่น้ำเสีย จึงกลับไปทำท่อแบบเดิมตามแบบที่อนุญาตมาและ ทางเชื่อม ๆได้รับการยกเว้นจากแขวงการทางทุกที่ แต่มีที่เราที่เดียวที่เลือกปฏิบัติ โดยใช้กฏนี้ในการอ้างไม่ต่อใบอนุญาต โดยเราได้สอบถามกับแขวงการทางโดยทาง ด้วยวาจาก่อน และทำหนังสือเข้าไปสอบถามภายหลังเมื่อวันเดียวกันนั้นเอง และลงรายละเอียดพร้อมข้อกฏหมายในหนังสือชี้แจงด้วย
13. 17 พฤศจิกายน 2566 ย้อนกลับไป โดยระหว่างนี้มีการกลั่นแกล้ง เจ้าพนักงานเทศบาลพร้อมพวกบุกรุกเข้ามาตรวจแบบมิชอบ ไม่มีหมาย ไม่มีอำนาจ เพราะ เห็นจากการที่ว่ามีรถจอดเยอะ พร้อมสั่งหยุดให้ทำกิจกรรมทั้งที่ไม่เข้าข่ายและไม่ผิด ก่อนอ้างว่านายอำเภอสั่ง จึงส่งหนังสือขึ้นไปเพื่อสอบถามสอบถามตาม พรบ. ตามสารบัญสำนักนายกตามสิทธิ์ เกิน 7 วัน แต่ไม่มีการตอบกลับ อ้างว่าชาวบ้านร้องเรียน แต่ไม่มีหลักฐาน แต่ทำในที่ส่วนตัว ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร
14. 18 พฤศจิกายน 2566 วันถัดมา ก็มีมาอีกทั้งที่ก่อนหน้าอ้างว่ามีคนร้องเรียน แต่ไม่เกี่ยว เพราะเป็นอคติ และเราไม่ได้เคยฝ่าฝืนกฏหมาย
สมเกียรติ ทรัพย์เฉลิม / หน.ข่าวภูมิภาค