ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
สุชาติแนะบริหารเศรษฐกิจต้องดูทั้งระบบอย่ามองย่อยๆตัดสิน
31 ม.ค. 2567

ศ.สุชาติ​! การบริหารระบบเศรษฐกิจ​ ต้องดูเป็นระบบ​ ไม่ควรใช้เหตุผลย่อยๆ​ มาตัดสิน ซึ่งผลลัพธ์​ มักจะผิดตรงข้ามเลย

1.ดร.สุชาติ​ ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​ ศาสตราจารย์​เศร​ษฐศาสตร์​มหภาค​ และอดีตรัฐมนตรี​ว่าการกระท​รวงการคลัง​ กล่าวว่า​การบริหาร​เศรษฐกิจ​ต้องบริหารเป็นระบบ​ ซึ่งเรียกว่า​ ​Macroeconomics​ ควรใช้ระบบนี้ ตัดสินใจเท่านั้น​ ไม่ควรเอา​เหตุผล​ แบบย่อย​ๆ (Microeconomics)​ ​มาใช้อธิบายเข้าไปด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ผลลัพธ์​จะผิดตรงข้ามเลย​ เช่น​ เมื่อสัปดาห์ก่อน​ ผู้ช่วยผู้ว่าแบงค์ชาติ​ท่านหนึ่ง นำเหตุผลจากภาพย่อย​ (Micro)​ มาพูดว่า​ หากดอกเบี้ย​ต่ำ ประชาชนจะไปกู้เงินมากขึ้น​ แล้วเป็นหนี้มากขึ้น​ ดังนั้น​ ต้องขึ้นดอกเบี้ย​ แล้วประชาชนจะกู้น้อยลง​ จึงจะเป็นหนี้น้อยลง​

2. แต่หากมอง​ระบบ​ (Macro)​ ล้วนๆ​ การลดดอกเบี้ย​ (1) จะทำให้การลงทุนเอกชน (I) เพิ่มขึ้น​ (2)​ ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง​ มีผลให้การส่งออกและท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น​ (X) โดยทั้ง​ 2 ตัว​แปร อยู่ใน​สมการ GDP​ = C+I+G+(X-M) จึงทำให้​ GDP​ เพิ่มขึ้น​ ทำให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น​ จึงไปกู้มาเพื่อการบริโภค​ (C) น้อยลง​ และดอกเบี้ยบนยอดหนี้รวมก็น้อยลง​ด้วย ดังนั้น​ "การลดดอกเบี้ย​ จึงทำให้หนี้ครัวเรือนลดลง" จะเห็นได้ว่า​ ผลลัพธ์​ตรงข้ามกับที่ผู้ช่วยฯ​ ท่​านนั้น พูดเลย

3.การบริหารเศรษฐกิจ​ จึงต้องดูให้เป็นระบบ​ ต้องไม่เอาเหตุผล​ภาพย่อย (Micro)​ มาอ้าง​อิง​ เพราะจะผิดมากกว่าถูก ซึ่งคนมักพูดผิดๆ​เป็นประจำ​ แม้จบเศรษ​ฐศาสตร์​มาแล้ว​  จึงขอสรุปเบื้องต้นว่า​ เวลาวิเคราะห์​ระบบ​ Macroeconomics​ ไม่ควรนำเหตุผลจาก​ Microeconomics​ (ที่พูดเป็นเรื่องๆ​ แยกออกจากกัน)​ มาอ้างอิง​ด้วย​

4.ในเรื่อง​ ศักยภาพ​การผลิต​ (Productivity​)​ แม้ประเทศใหญ่มากๆ​ อย่างสหรัฐ​ฯ​ เมื่อดำเนินนโยบายถูกต้อง​ ยังสามารถเติบโตได้ถึง​ 3-4%, ในไตรมาสที่​ 2, 3 ของปี​ 2566, และญี่ปุ่น​ ในไตรมาส​ 3 เติบโต​ได้ 6%

5.ดังนั้น​ การที่แบงค์ชาติ​ พูดว่าเรามีศักยภาพ​ เติบโตได้เพียง 3% กว่าๆ​ จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าใจ​ สำหรับประเทศยากจนอย่างไทย​ ที่ไม่สามารถช่วยกันสร้างศักยภาพ​ทางเศรษฐกิจ​ให้เติบโตได้​ 5-6% การขาดความรู้​ความเข้าใจ​ ไม่ทำตามหลักวิชา​ โดยขึ้นดอกเบี้ยสูงเกินไป​ กดเงินเฟ้อต่ำไป​จนติดลบ​ ทำให้ระ​บบเศรษฐกิจ​แทบไม่เติบโต​ ไม่มีอนาคต และ​ประชาชน​ยากจน​

6.ประเทศจีน​ ซึ่ง​ GDP​ เติบโตกว่า​ 5% ในปี​ 2566​ ก็ยังลด​ Required Reserve ratio ถึง 0.5​ point เพื่อฟื้นเศรษฐ​กิจ​ โดยไม่ได้อ้างแบบแบงค์ชาติ​ไทย​ว่า​ จะฟื้นเศรษฐ​กิจ​ ต้องไปเพิ่ม​ศักยภาพ​การผลิต​ (Productivity)​ แต่แบงค์ชาติ​ไทย​ไม่ยอมลดดอกเบี้ย​ ทั้งๆ​ที่​ GDP​ ปี​ 2566​ เติบโตเพียง​ 1.8% โดยอ้างว่าดอกเบี้ยเป็นกลางจึงแสดงถึงการขาด "หลักวิชา" นับเป็นเรื่องที่โชคร้าย สำหรับประเทศและประชาชน​ไทย

7. การที่แบงค์ชาติ​พูดว่า​ หากรัฐบาลไทย​ ต้อง​การความเจริญเติบโต (GDP growth) สูงขึ้น​ ก็ต้องไปเพิ่ม​ Productivity​ แต่​คำๆ​ นี้เป็น​แนวคิดระดับ Micro​ เป็น​ตัวแปร​ตาม​ตัวอื่นๆ

8. จึงต้องค้นหาดูว่า​ เราจะเพิ่ม​ Productivity​ ของชาติได้อย่างไร​ คำตอบ​ คือต้องขายของได้​มากขึ้น กรณีประเทศ​ไทย​ คือส่งออกสินค้าและบริการ​ได้มากขึ้น​ จึงไปจะดึง​การใช้​กำลังการผลิต​ (Capacity)​ ให้เพิ่มขึ้น (ปัจจุบัน​ใช้เพียง​ 57% เกือบต่ำสุดในโลก)​ เมื่อเพิ่ม Capacity ได้ใกล้ 100% แล้ว​ จึงจะมีการไปซื้อ​เครื่อง​มือเครื่อง​จักร​ ที่มีเทคโนโลยี​ใหม่ๆเข้ามา​เพิ่ม​ Productivity​

9. แล้วประเทศไทยจะส่งออกมากขึ้นได้อย่างไร ก็ต้องไปลดดอกเบี้ย​ ทำให้ค่าเงินบาท​อ่อนลง​ แข่งขันได้ดี​ขึ้น ดังนั้น​ "การลดดอกเบี้ย​ จึงจะทำให้ Productivity​ เพิ่มขึ้น แล้วรัฐบาลยังได้ภาษีมากขึ้น​ สามารถนำไปสร้างโครงสร้างและบริการพื้นฐานมากขึ้น​ ซึ่งจะช่วยเพิ่ม​ Productivity​ ของชาติ​ อีกทางหนึ่งด้วย​...ศ.สุชาติ​ กล่าวในที่สุด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...