ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ท่าฉลอม โมเดลต้นแบบวิสาหกิจชุมชนพัฒนาชุมชน+สิ่งแวดล้อม
05 มี.ค. 2567

เมื่อเร็วๆนี้ทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.)พาสื่อมวลชนเยี่ยมชม "บ้านท่าฉลอม ศูนย์การท่องเที่ยวและกิจกรรมชุมชน" เป็นต้นแบบ ในการจัดกิจกรรม "พัฒนาชุมชนและสังคมจากฐานสิ่งแวดล้อมด้วยวิสาหกิจเพื่อสังคม" สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ข่าวสารเพื่อยกระดับชุมชนบ้านท่าฉลอมเพื่อสังคมให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ ณ บ้านท่าฉลอม ฯ  อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

นางนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม กล่าวว่าการจัดกิจกรรมส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และสร้างความรับรู้ระบบนิเวศวิสาหกิจเพื่อสังคม มาแล้ว 2 ครั้ง คือที่นครราชสีมา และจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการตอบรับที่ดีมาก และทราบว่ามีหลายหน่วยงานที่จะเข้าไปสนับสนุนเพื่อธุรกิจทางสังคม ซึ่งเป็นภารกิจของสวส.โดยตรงที่มีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อน สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือและพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มกิจการเพื่อสังคมให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ 

ในครั้งนี้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ระบบนิเวศวิสาหกิจเพื่อสังคม ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาชุมชนและสังคมจากฐานสิ่งแวดล้อมด้วยวิสาหกิจเพื่อสังคม” เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเรื่องวิสาหกิจเพื่อสังคมกับสื่อมวลชน ได้หยิบยกศูนย์การท่องเที่ยวและกิจกรรมชุมชน บริษัท สมุทรสาครพัฒนาเมือง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด มาเป็นต้นแบบ โดยได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง "พัฒนาชุมชนและสังคมจากฐานสิ่งแวดล้อมด้วยวิสาหกิจเพื่อสังคม"

ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม ประธานกรรมการ บริษัท สมุทรสาครพัฒนาเมือง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด กล่าวว่าก่อตั้งบริษัทฯ ในปี 2560 ด้วยการรวมตัวของกลุ่มคน(นักธุรกิจ)ในจังหวัดสมุทรสาคร 27คน ตอนนี้เหลือ20คน  มีคณะกรรมการ9คนอยู่วาระ3ปี เงื่อนไขหลักคือต้องไม่ดำรงทางการเมือง หรือต้องพ้นไปแล้ว5ปี โดยลงทุนกันคนละ1ล้านบาท เพื่อตั้งเป็นสมุทรสาครพัฒนาเมือง หัวใจมี3อย่างคือ น่าอยู่ น่าเที่ยว และน่าลงทุน  ทั้งนี้มองเห็นว่าการรอคอยภาครัฐที่จะพัฒนาปรับปรุงเมืองหากภาคเอกชนที่มีศักยภาพอยู่แล้วเข้าไปดำเนินการควบคู่กันจะรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้มีเป้าหมายหลักคืออยากให้จังหวัดสมุทรสาครเป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว และน่าลงทุนซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขและพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในโครงการต่างๆ ที่ผ่านมาได้ดำเนินกิจกรรมหลายอย่าง อาทิ โครงการพัฒนาเมืองผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชนนำร่องที่ท่าฉลอม โครงการเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศที่พัฒนาเครื่องวัดขึ้นมาเองและมีแอพพลิเคชั่นผ่านมือถือ โครงการลดพลังงานขยะด้วยพลังสะอาด โดยชวนทุกภาคส่วนเข้ามาเก็บขยะทะเล(ประมาณ 3 เดือน/ครั้ง) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์  และจะมีกิจกรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้มีจิตอาสามาช่วยมากประมาณ50-60คน แล้ว

จุดขายของที่นี่มีความโดดเด่นเป็นประวัติศาสตร์อยู่แล้ว  เป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย โดยรัชกาลที่5ก่อกำเนิดขึ้น ประวัติความเป็นมา และชื่อ "ท่าฉลอม" โดยแรกเริ่มเป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่ใหญ่ในอดีต(สมัยรัชกาลที่ 5) เป็นชาวจีนที่เข้ามาค้าขายและอพยพมาอยู่ที่บ้านท่าจีน (ท่าฉลอม) "ท่าฉลอม" เป็นชุมชนประมง ต่อเรือประมง ทำเลเมืองเป็นลักษณะถุงเงิน เป็นชุมชนที่มีเสน่ห์ มีสามล้อถีบให้นั่งชมเมืองสมัยก่อนมีเรือฉลอม(เรือประมงขนาดเล็ก)จอดอยู่เยอะ จึงเป็นที่มาของชื่อ "ท่าฉลอม" 

"บ้านท่าฉลอม ศูนย์การท่องเที่ยวและกิจกรรมชุมชน" ทำเรื่องท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นศูนย์กลางที่เชื่อมโยงระหว่างนักท่องเที่ยว ชุมชม และหน่วยงานต่างๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่สนใจเที่ยวชมเมือง ก็จะมีการท่องเที่ยวหลายวิธี อาทิเช่น การนั่งเรือ นั่งสามล้อ นั่งรถราง หรือขี่จักรยานสามารถติดต่อผ่านบ้านท่าฉลอมได้ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สร้างรายได้สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน 

นายอภิชาติ จันทร์ทองแท้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท แบ่ง-ปัน-ให้ (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด กล่าวว่าเรื่องโครงการเพื่อสังคมฯ การสร้างรายได้ และเพิ่มการจ้างงานให้กับผู้พิการ และกลุ่มเปราะบาง ด้วยการจัดทำโครงการ แบ่ง ปัน ให้ เพื่อลดการใช้และเพิ่มมูลค่าสิ่งของที่รับบริจาค ไปเป็นประโยชน์ต่อผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง รวมถึงการช่วยเหลือนายจ้างในเรื่องการจัดหาคนพิการทำงาน รวมถึงสิ่งแวดล้อม ล่าสุดกำลังจัดทำเศษกะลาที่มีจำนวนมาก มาทำเป็นปุ๋ย โดยผสมกับจุลินทรีย์  แล้วออกมาเป็นอาหารสัตว์เช่นม้า กำลังดำเนินการที่ฟาร์มเลี้ยงม้าโคราช และยังมีเศษปาล์ม จะลงไปทำที่จังหวัดกระบี่ บริษัทที่ทำเพื่อสังคมนั้นโดยหลักแล้ว จะต้องยึด3อย่างคือหนึ่งต้องเลี้ยงตัวเองได้ก่อน แล้วสองต้องทำให้สังคมได้รับประโยชน์ และสามต้องคำนึงสิ่งแวดล้อม

               นายชวพล วัฒนพรมงคล กรรมการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีสมุทรสาคร  (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด กล่าวว่าบริษัทตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาระหว่าง ราชการ ชุมชน และเอกชน โดยเราเป็นตัวกลางที่จะประสานให้งานเดินหน้าเป็นการอุดช่องว่าง  จึงมีการตั้งกรรมการขึ้นมา มี5 ส่วน รวมถึง ไทยเบฟฯและธนาคารกรุงเทพ ที่เป็นถุงเงินสนับสนุนหัวใจหลักคือการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน จะเน้นการสร้างรายได้ให้ชุมชนผ่าน 3 กลุ่มงานหลัก คือ กลุ่มเกษตร กลุ่มแปรรูป และกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งส่งเสริมในเรื่องของการจำหน่ายสินค้าผักปลอดสารพิษ  ตัวอย่างกลุ่มปลูกผัก ที่บ้านแผ้ว เราได้จัดหาตลาดจัดส่งให้กับโรงพยาบาลวิชัยเวช  หรือจัดหาห้องเย็นเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้เก็บผลิตภัณฑ์ได้นานๆ  ลงทุนให้แล้วค่อยมาใช้คืน ล่าสุดได้ประสานกับเซ็นทรัล สมุทรสาครมีตลาดจริงใจ เพื่อนำสินค้าไปวางจำหน่าย รองรับสินค้าของชุมชน นอกจากนี้ทางบริษัทฯ จะมีการอบรม ในเรื่องต่างๆให้ชุมชน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การแสวงหาตลาดใหม่  ขยายช่องทางการผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ   อย่างปลาสลิด จะแปรรูปเป็นสแน็กทานเล่น เกลือที่นี่มีชื่อเสียง ได้พยายามแปรรูปทั้งที่เป็นสบู่ สครับ แชมพู ฯลฯ ในวาระสำคัญจะจัดเป็นกระเช้าขายซึ่งปีใหม่ที่ผ่านมาได้เงินมาเป็นหลักแสนบาท เป็นต้น และล่าสุด มีการเปิดสวนน้ำคลองแค พัฒนาเป็นที่ท่องเที่ยว มีเรือโป๊ะ นั่งลูกยาง และขายสินค้าของชุมชน วันหยุดมีคนมาเที่ยวพักผ่อนที่คลองแคมากขึ้น บริษัทประชารัฐที่สมุทรสาครแห่งนี้จะมีความเข้มแข็งและดำเนินการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในชุมชนอย่างต่อเนื่องและมั่นคง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...