ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
กรมทรัพย์สินฯเร่งป้องกันสินค้าSoft Power ขึ้นทะเบียนจดลิขสิทธิ์
24 มี.ค. 2567

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา(ทป.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯกำลังจัดทำแผนตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ด้านทรัพย์สินค้าทางปัญหา โดยเน้น 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. กำหนดวิธีสร้างสรรค์ตามหลักเกณ์สากล 2.ต้องสร้างรายได้ จากลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า การจัดถ่ายทอด จัดมหกรรมงานแสดง นั่นคือการมีรายได้จากไลเซนซิ่ง อย่างไทยจะจัดมหาสงกรานต์ ถือว่าเป็นไลเซนซิ่งอย่างหนึ่ง 3. คุ้มครองไปทั่วโลก ซึ่งหากมีการทำซ้ำหรือนำไปหารายได้ถือว่าละเมิด ที่สามารถฟ้องร้องเอาผิดตามกฎหมายได้ 4. กำหนดวิธีการปกป้องตนเอง ไม่ให้ถูกละเมิดหรือไปละเมิดโดยไม่มีเจตนา ทั้งนี้ เป็นสอดรับนโยบายรัฐบาลจะผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยในทุกมิติ

” ซอฟต์พาวเวอร์เกิดขึ้นได้กับทุกที วันนี้ซอฟต์พาวเวอร์ที่ผลักดันที่ในสาขาอาหาร ท่องเที่ยว เฟสติวัล กีฬา เป็นต้น ก็ต้องบูรณาการและเชื่อมโยง อย่างอาหารกับแหล่งท่องเที่ยว อาหารกับเฟสติวัล โดยที่เราต้องมีไลเซนซิ่ง ที่บ่งบอกว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย ” นายวุฒิไกร กล่าว

นายวุฒิไกร กล่าวถึงการยื่นจดลิขสิทธิ์ ลายกางเกง หลังจากกางเกงช้างเป็นที่นิยม นั้นมาถึงวันนี้ยื่นจดลิขสิทธิ์ประมาณ 40 ราย ครอบคลุม 40 จังหวัด ส่วนใหญ่อยูีในภาคอีสานและใต้ ล่าสุดเป็นผู้ออกแบบในเมืองนนทบุรี ยื่นจดลายทุเรียนและรถไฟฟ้า ซึ่งเขาขายได้แล้ว 3-4 พันตัว จากเหตุการณ์กางเกางช้าง ถือเป็นการสร้างโอกาสและตระหนักถึงความสำคัญการยื่นจดลิขสิทธิ์และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของตน แต่ต้องพัฒนาตามอัตลักษณ์ของตนเองและมีถิ่นกำเนิดในชุมชนอย่างแท้จริง และไม่ควรมีการผลิตหรือนำสินค้าต่างจังหวัดมาขายแข่ง ประกอบกับกรมใช้โซเชียลสร้างการรับรู้ ตอนนี้มีประชาชนติดตามข่าวสารและกิจกรรมของกรมกว่า 3 แสนราย นอกจากลายกางเกงแล้ว ที่กำลังยื่นขอจดเพิ่มอย่างมีนัยะ คือ ลายผ้า ผ้าไทยในอีสาน ผ้าไหมโบราณ เป็นต้น

นายวุฒิไกร กล่าวว่า ตลอดปี 2566 กรมดำเนินภารกิจด้านทรัพย์สินทางปัญญาครบทุกมิติ ในด้านส่งเสริมการสร้างสรรค์ จัดให้คำปรึกษาเอสเอ็มอีกว่า 10,000 ราย เพื่อให้ธุรกิจไทยรู้เท่าทันคู่แข่งและคู่ค้า นำเทคโนโลยีมาใช้ ส่งเสริมคนรุ่นใหม่สร้างสรรค์งานเพลงบุกตลาดสตรีมมิ่งเอเชีย ในฮ่องกง มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย มีการรับชมกว่า 10 ล้านครั้ง สำหรับด้านส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์ อาทิ ยกระดับท้องถิ่นเป็นสินค้าจีไอ ที่มีแล้ว 200 สินค้า สร้างมูลค่าทางการตลาดกว่า 58,000 ล้านบาท และปีงบ 2567 จะเพิ่มการขึ้นทะเบียนจีไอ เป็น 211 สินค้า รวมถึงปีนี้จัดแสดงนวัตกรรมงานสร้างสรรค์ของไทย รายได้กว่า 100 ล้านบาท เป็นต้น นำเทคโนโลยีมายกระดับงานบริการ อาทิ ระบบ IP e-Registration ใช้ระบบ AI Search ช่วยลดเวลาตรวจสอบคำขอ

นายวุฒิไกร กล่าวต่อว่า ในด้านการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จัดงานทำลายของกลางคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กว่า 1.2 ล้านชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 600 ล้านบาท พัฒนามาตรการป้องปรามการละเมิดเชิงรุกทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งส่งเสริมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งในและต่างประเทศ เพื่อลดจำนวนคดีขึ้นสู่ศาล ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ช่วง 6 เดือนหลังปีงบ 2567 กรมเดินหน้าส่งเสริมการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง

มีโครงการสำคัญ อาทิ ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้าใน 11 อุตสาหกรรม ยกระดับสินค้าจีไอไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารและขยายช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ตั้งเป้าสร้างมูลค่าการตลาด 64,000 ล้านบาท ส่งเสริมการสร้างสรรค์การ์ตูนออนไลน์ (T-Toon)ที่มีผู้อ่านทั่วโลกมากกว่า 60 ล้านคนต่อเดือน ผลักดันการแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งทําแผนพัฒนาด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทย พ.ศ. 2567 – 2569 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบคุ้มครองและปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และนำพาประเทศไทยหลุดจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (WL) ที่สหรัฐจะทบทวนในเดือนเมษายนนี้

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...