ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
EEC เลือกพื้นที่หนองปลาไหล อ.บางละมุง นำร่อง เปิดศูนย์เครือข่ายพลังสตรี EEC สร้างกลไกมีส่วนร่วมชุมชน ผลักดันการเชื่อมประโยชน์การลงทุนสู่การพัฒนาพื้นที่และชุมชน อย่างยั่งยืน
25 มี.ค. 2567

        ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC  พร้อมด้วย นายชัยพร แพภิรมย์รัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี,จ่าเอกพิทยาภรณ์ ก่อแก้ว ปลัดอำเภอบางละมุง, นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชน สกพอ. และนายภิญโญ หอมกลั่น นายกทต.หนองปลาไหล ร่วมเปิดศูนย์เครือข่ายพลังสตรี EEC นำร่อง ที่ ศูนย์เรียนรู้วิถีชาวนาภูมิปัญญาชุมชน ตำบลหนองปลาไหล จังหวัดชลบุรี โดยมี เครือข่ายสตรี EEC พื้นที่ 3 จังวัด ประกอบด้วยฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง เข้าร่วม 


      ดร.จุฬา เลขาธิการ EEC กล่าวว่า ศูนย์เครือข่ายพลังสตรี EEC จะช่วยเป็นแกนกลางในการผลักดันให้สินค้าและบริการของชุมชนเป็นส่วนหนึ่งใน Supply Chain ของนักลงทุน ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินงานสำคัญในปัจจุบัน ในการส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงประโยชน์จากการลงทุนมาสู่การพัฒนาพื้นที่ และชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ สกพอ. ก็มีกิจกรรมในการสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือวิสาหกิจเพื่อสังคมผ่านกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้เครือข่ายพลังสตรี EEC ได้มีบทบาทเพิ่มขึ้นในการเตรียมความพร้อมการนำประโยชน์จากการลงทุนในพื้นที่ ให้สามารถยกระดับเศรษฐกิจชุมชน สร้างโอกาสให้แก่สินค้าชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยวของชุมชนให้มีมาตรฐาน รองรับการเข้ามาใช้จ่ายของคนที่มาทำงานใน EEC และเป็นศูนย์กลางในการพบปะทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 

 


      โดยสกพอ. ได้จัดตั้งศูนย์เครือข่ายพลังสตรี EEC นำร่องในชุมชน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.ศูนย์เรียนรู้วิถีชาวนาภูมิปัญญาชุมชน ตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 2.ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอปลวกแดง ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง และ 3.ชุมรมผู้สูงอายุดอกลำดวน มัสยิดดารุ้ลดอยร็อต ตำบลหมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเครือข่ายพลังสตรี อีอีซี รวมกว่า 600 คน เป็นตัวแทนสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ร่วมกับ EEC ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ร่วมกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตลอดจนรายได้ของชุมชนอย่างต่อเนื่อง        ดร.จุฬา กล่าวเสริมอีกว่า  ทั้งนี้สำหรับที่ตั้ง ศูนย์เครือข่ายพลังสตรี EEC ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีชาวนาภูมิปัญญาชุมชน ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนที่สะท้อนความโดดเด่นด้านการทำนาด้วยภูมิปัญญาการปลูกข้าวที่มีมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันเขตพื้นที่ ต.หนองปลาไหล มีพื้นที่นาประมาณ 190 ไร่ แม้ว่าปัจจุบันจะมีพื้นที่ทำนาลดลง แต่ชาวบ้านยังคงอนุรักษ์และสืบสานอาชีพการทำนา ด้วยการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีชาวนาภูมิปัญญาชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ เป็นอีกหนึ่งเส้นทางท่องเที่ยวด้านการเกษตร ที่นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมได้ อาทิ ทดลองดำนา เกี่ยวข้าว ชมดนตรีพื้นบ้าน ทดลองทำอาหารพื้นบ้านจากวัตถุดิบท้องถิ่น เป็นต้น  


 สัมภาษณ์ ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ EEC (ปล่อยวาว์ด)

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...