“พิมพ์ภัทรา” สั่งการให้หยุดการนำกากแคดเมียม กากสังกะสี ออกจากโรงงานในจังหวัดตาก พร้อมให้นำกากส่วนที่ถูกขนย้ายไปที่จังหวัดสมุทรสาคร กลับมาฝังกลบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวว่ามีบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดตาก ขายกากแร่สังกะสีและกากแร่แคดเมียมที่ฝังกลบในพื้นที่จังหวัดตาก ให้กับบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลกระทบต่อประชาชนเนื่องจากกากแร่ดังกล่าวอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้นั้น ขอชี้แจงว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงปี 2566 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมและจังหวัดสมุทรสาคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 และมาตรา 37 ของ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 สั่งอายัด กากแคดเมียมและกากสังกะสีดังกล่าว พร้อมทั้งสั่งระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ห้ามนำ กากแคดเมียมและกากสังกะสีเข้าสู่กระบวนการผลิต ให้ปรับปรุงแก้ไขโรงงานเก็บและดำเนินคดีทะเบียนโรงงานตามกฎหมาย
รมว.อุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบ โลหกรรมแร่สังกะสี และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานถลุงแร่สังกะสีและแคดเมียม ผลิตโลหะสังกะสีแท่ง สังกะสีอัลลอย โลหะแคดเมียม และผลิตโลหะทองแดง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ขอยกเลิกใบอนุญาตประกอบโลหะกรรม แต่ยังคงไว้ซึ่งใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน โดยได้ฝังกลบ (Landfill) กากแร่ ซึ่งอยู่ในรูปของโลหะผสมกับปูนซิเมนต์และยึดเกาะกันเป็นเนื้อแน่นไว้ในบ่อเก็บกากแร่ ซึ่งปูพื้นและปิดทับด้วยวัสดุกันซึม (HDPE) และคอนกรีต ซึ่งเป็นไปตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 บริษัทได้ทำการขนย้ายกากแคดเมียม กากสังกะสี ออกจากโรงงานเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ โดยโรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งประกอบกิจการหลอมหล่ออลูมิเนียมแท่ง อลูมิเนียมเม็ด จากเศษอลูมิเนียมและตะกรันอลูมิเนียม (SCRAP AND DROSS) และได้เริ่มทำการขนย้ายกากที่บรรจุในถุงบิ๊กแบค ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 ถึงปัจจุบัน รวมประมาณ 13,450 ตัน
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ได้ตรวจสอบโรงงานดังกล่าว พบว่า มีการดำเนินการที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงได้อายัดกากแคดเมียม กากสังกะสี และส่วนของอื่น ๆ ไว้เพื่อตรวจสอบให้เป็นไปตามกฎหมายแล้ว ส่วนบริษัทในพื้นที่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตาก เพื่อเก็บตัวอย่างกากแคดเมียม กากสังกะสี ตรวจวิเคราะห์ และสั่งการให้บริษัทฯ หยุดประกอบกิจการในส่วนของนำกากแคดเมียม กากสังกะสี ออกนอกบริเวณโรงงาน และให้นำกลับมาดำเนินการให้เป็นตามมาตรการป้องกันและ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดไว้ในเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานโดยเร่งด่วนต่อไป
“เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา กรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญอธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ตัวแทนอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ตัวแทนอธิบดีกรมอนามัย และผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปทส.) มาให้ข้อมูลจึงทราบว่าก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ได้อายัดกากแร่ดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งดิฉันได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกส่วน เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้โดยเร็วที่สุดพร้อมทั้งให้รายงานความคืบหน้าให้ทราบเป็นระยะ” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวปิดท้าย
สั่งหยุดขนย้าย-นำกลับฝังกลบ เผยผลตรวจพบ บ.ฝ่าฝืนกฎหมาย"
“พิมพ์ภัทรา” สั่งการให้หยุดการนำกากแคดเมียม กากสังกะสี ออกจากโรงงานในจังหวัดตาก พร้อมให้นำกากส่วนที่ถูกขนย้ายไปที่จังหวัดสมุทรสาคร กลับมาฝังกลบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวว่ามีบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดตาก ขายกากแร่สังกะสีและกากแร่แคดเมียมที่ฝังกลบในพื้นที่จังหวัดตาก ให้กับบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลกระทบต่อประชาชนเนื่องจากกากแร่ดังกล่าวอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้นั้น ขอชี้แจงว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงปี 2566 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมและจังหวัดสมุทรสาคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 และมาตรา 37 ของ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 สั่งอายัด กากแคดเมียมและกากสังกะสีดังกล่าว พร้อมทั้งสั่งระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ห้ามนำ กากแคดเมียมและกากสังกะสีเข้าสู่กระบวนการผลิต ให้ปรับปรุงแก้ไขโรงงานเก็บและดำเนินคดีทะเบียนโรงงานตามกฎหมาย
รมว.อุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบ โลหกรรมแร่สังกะสี และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานถลุงแร่สังกะสีและแคดเมียม ผลิตโลหะสังกะสีแท่ง สังกะสีอัลลอย โลหะแคดเมียม และผลิตโลหะทองแดง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ขอยกเลิกใบอนุญาตประกอบโลหะกรรม แต่ยังคงไว้ซึ่งใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน โดยได้ฝังกลบ (Landfill) กากแร่ ซึ่งอยู่ในรูปของโลหะผสมกับปูนซิเมนต์และยึดเกาะกันเป็นเนื้อแน่นไว้ในบ่อเก็บกากแร่ ซึ่งปูพื้นและปิดทับด้วยวัสดุกันซึม (HDPE) และคอนกรีต ซึ่งเป็นไปตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 บริษัทได้ทำการขนย้ายกากแคดเมียม กากสังกะสี ออกจากโรงงานเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ โดยโรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งประกอบกิจการหลอมหล่ออลูมิเนียมแท่ง อลูมิเนียมเม็ด จากเศษอลูมิเนียมและตะกรันอลูมิเนียม (SCRAP AND DROSS) และได้เริ่มทำการขนย้ายกากที่บรรจุในถุงบิ๊กแบค ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 ถึงปัจจุบัน รวมประมาณ 13,450 ตัน
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ได้ตรวจสอบโรงงานดังกล่าว พบว่า มีการดำเนินการที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงได้อายัดกากแคดเมียม กากสังกะสี และส่วนของอื่น ๆ ไว้เพื่อตรวจสอบให้เป็นไปตามกฎหมายแล้ว ส่วนบริษัทในพื้นที่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตาก เพื่อเก็บตัวอย่างกากแคดเมียม กากสังกะสี ตรวจวิเคราะห์ และสั่งการให้บริษัทฯ หยุดประกอบกิจการในส่วนของนำกากแคดเมียม กากสังกะสี ออกนอกบริเวณโรงงาน และให้นำกลับมาดำเนินการให้เป็นตามมาตรการป้องกันและ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดไว้ในเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานโดยเร่งด่วนต่อไป
“เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา กรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญอธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ตัวแทนอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ตัวแทนอธิบดีกรมอนามัย และผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปทส.) มาให้ข้อมูลจึงทราบว่าก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ได้อายัดกากแร่ดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งดิฉันได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกส่วน เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้โดยเร็วที่สุดพร้อมทั้งให้รายงานความคืบหน้าให้ทราบเป็นระยะ” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวปิดท้าย